รู้จัก “การจัดฟันแบบโลหะ” ได้ฟันสวย เปลี่ยนสียางได้ ราคาไม่แพง


พูดถึงรูปแบบการจัดฟันที่มีอุปกรณ์เต็มไปด้วยสีสันและเป็นที่รู้จักกันกันอย่างแพร่หลาย ก็คงไม่พ้น “การจัดฟันแบบโลหะ” หรือ “การจัดฟันเหล็ก” ซึ่งเป็นการจัดฟันแบบดั้งเดิมที่มีมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้

แล้วการจัดฟันโลหะมีจุดเด่นอย่างไร มีข้อเสียอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวก่อนจัดอย่างไร ดูแลตนเองระหว่างจัดอย่างไรให้ฟันออกมาสวยที่สุด มาสำรวจข้อมูลในบทความนี้กัน


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • จัดฟันแบบโลหะคืออะไร?
  • จัดฟันแบบโลหะช่วยอะไรได้บ้าง?
  • จัดฟันแบบโลหะมีอุปกรณ์อะไรบ้าง?
  • ข้อดีของการจัดฟันแบบโลหะ
  • ข้อเสียของการจัดฟันแบบโลหะ
  • จัดฟันแบบโลหะได้ตอนอายุเท่าไร?
  • จัดฟันแบบโลหะใช้เวลานานไหม?
  • จัดฟันแบบโลหะหน้าเรียวไหม?
  • จัดฟันแบบโลหะต้องถอนฟันไหม?
  • การเตรียมตัวก่อนจัดฟันแบบโลหะ
  • ขั้นตอนการจัดฟันแบบโลหะ
  • การดูแลช่องปากระหว่างจัดฟันแบบโลหะ

  • จัดฟันแบบโลหะคืออะไร?

    จัดฟันแบบโลหะ (Metal Braces) คือ แนวทางการจัดฟันโดยใช้อุปกรณ์ปรับตำแหน่งฟันที่ทำจากวัสดุโลหะ เพื่อจัดระเบียบบการเรียงตัวของฟันที่ไม่เหมาะสมให้เหมาะสมและสวยงามมากขึ้น

    จัดฟันแบบโลหะช่วยอะไรได้บ้าง?

    จัดฟันแบบโลหะสามารถช่วยแก้ปัญหาการจัดเรียงตัวของฟันได้อย่างครบคลุม เช่น

    • ฟันเก
    • ฟันยื่น
    • ฟันซ้อน
    • ฟันห่าง
    • ฟันไม่สบกันพอดี

    เมื่อการจัดเรียงตัวของฟันเป็นระเบียบมากขึ้น สุขภาพช่องปาก กิจวัตรประจำวัน และบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับฟันด้านอื่นๆ ก็พลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย เช่น

    • ทำให้แปรงฟันได้ทั่วถึงทุกซี่มากขึ้น ลดโอกาสฟันผุ
    • ลดกลิ่นปากที่เกิดจากเศษอาหารเข้าไปสะสมในซอกฟัน
    • สามารถเคี้ยวอาหารได้ละเอียดมากขึ้น ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้คล่องตัวกว่าเดิม
    • ทำให้รอยยิ้มดูสวยงามขึ้น เสริมความมั่นใจในตนเองมากกว่าเดิม
    • โครงสร้างใบหน้าดูสมส่วนขึ้น
    • ช่วยให้พูดหรือออกเสียงชัดขึ้น
    จัดฟันแบบโลหะ ราคา

    จัดฟันแบบโลหะมีอุปกรณ์อะไรบ้าง?

    อุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะมีอยู่ทั้งหมด 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่

    • ลวดโลหะ (Archwires) เป็นเส้นโลหะบางๆ ที่จะเชื่อมระหว่างฟันแต่ละซี่ด้วยแผ่นแบร็กเก็ต ทำหน้าที่ออกแรงดึงและจัดแนวการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติให้เปลี่ยนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมใหม่
    • แผ่นแบร็กเก็ต (Brackets) เป็นแผ่นโลหะขนาดเล็กที่จะติดอยู่บนผิวด้านหน้าของฟัน มีร่องสำหรับร้อยลวดโลหะอยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมตำแหน่งของฟันทุกซี่ให้จัดเรียงอยู่ในตำแหน่งใหม่ตามแรงดึงของลวดโลหะ
    • ตัวยึด (Ligatures) หรือบางคนเรียกว่า “ยางรัดฟัน (O-rings)” เป็นตัวยึดให้ลวดโลหะแนบติดอยู่กับแผ่นแบร็กเก็ตอย่างแน่นหนา ส่วนมากนิยมทำจากยางซึ่งจะมีอยู่หลากสีให้ผู้เข้ารับบริการเลือกใช้ แต่บางคนก็เลือกใช้เป็นตัวยึดที่ทำจากโลหะเช่นกัน และจะมีสีเหมือนกับอุปกรณ์จัดฟันโลหะส่วนอื่นๆ
    ส่วนประกอบของอุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะ
    ส่วนประกอบของอุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะ

    ข้อดีของการจัดฟันแบบโลหะ

    แม้ในปัจจุบันจะมีนวัตกรรมการผลิตวัสดุจัดฟันที่ทันสมัยอีกหลายประเภท แต่อุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะก็จัดเป็นอุปกรณ์จัดฟันแบบดั้งเดิมที่ยังมีข้อดีที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น

    • รักษาความผิดปกติของตำแหน่งฟันได้อย่างครอบคลุม
    • วัสดุแข็งแรงคงทน
    • เลือกสียางได้หลากหลายโทนสี ช่วยเสริมสีสันใหักับอุปกรณ์จัดฟันได้
    • ราคาไม่แพง ทำให้เข้าถึงผู้เข้ารับบริการได้ทุกกลุ่ม

    ข้อเสียของการจัดฟันแบบโลหะ

    แต่นอกจากข้อดีของอุปกรณ์จัดฟันประเภทนี้ มันก็แฝงมาด้วยจุดด้อยที่ผู้ที่สนใจจัดฟันแบบโลหะทุกท่านจะต้องพึงระวัง เช่น

    • อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะมักมีราคาถูกอยู่แล้ว และเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น จึงทำให้สถานพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือทันตแพทย์ที่ไม่มีใบรับรองการศึกษาจริงๆ นำอุปกรณ์จัดฟันโลหะที่ไม่ได้มาตรฐานมาเปิดให้บริการกลุ่มผู้ที่สนใจจัดฟันเพื่อหวังเอาเงินกำไร
    • อุปกรณ์อาจสร้างระคายเคืองหรือแผลในปาก เนื่องจากวัสดุจัดฟันที่เป็นโลหะจึงอาจไปบาดผิวหรือทำให้เกิดแผลที่เหงือก ลิ้น หรือริมฝีปากระหว่างใส่อุปกรณ์ได้
    • ต้องกลับมาเปลี่ยนอุปกรณ์กับทันตแพทย์อยู่บ่อยๆ โดยอาจเป็นทุกๆ 1-2 เดือนเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องถึงหลักปี ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียงตัวของฟันในแต่ละคน ซึ่งนอกจากจะเสียเวลาแล้ว ก็ยังอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในทุกครั้งที่กลับมาเปลี่ยนอุปกรณ์กับทันตแพทย์ด้วย
    • วัสดุสามารถมองเห็นได้ชัดจากภายนอก ทำให้อาจดูเสียบุคลิกภาพระหว่างใส่อุปกรณ์ และเป็นข้อจำกัดในผู้ที่ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน นักแสดง
    • ส่งผลต่อการออกเสียง เนื่องจากอุปกรณ์จัดฟันได้ไปเพิ่มพื้นที่ภายในช่องปากทำให้การออกเสียงหรือการพูดไม่ชัดได้

    จัดฟันแบบโลหะได้ตอนอายุเท่าไร?

    การจัดฟันไม่ว่าด้วยวัสดุแบบใด โดยส่วนมากมักจะเริ่มจัดเมื่อผู้เข้ารับบริการมีฟันแท้ขึ้นครบแล้ว เพื่อผลลัพธ์หลังการจัดฟันที่เห็นได้ชัดในระยะยาวจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถเริ่มจัดได้ตั้งแต่อายุ 11-12 ปีขึ้นไป

    อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มเด็กเล็กหรือเด็กอายุต่ำกว่า 7-9 ขวบ ซึ่งยังใช้ฟันน้ำนมอยู่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียงตัวของฟันมากๆ เช่น ทำให้ออกเสียงไม่ชัด ทำให้เคี้ยวอาหารยาก ทันตแพทย์ก็อาจพิจารณาจัดฟันเด็กให้เช่นกัน

    จัดฟันแบบโลหะ ราคา

    จัดฟันแบบโลหะใช้เวลานานไหม?

    ส่วนมากการจัดฟันแบบโลหะจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับปัญหาฟันในผู้เข้ารับบริการแต่ละราย บางรายอาจจัดเพียงหลักเดือน บางรายจัดเป็นระยะเวลาหลายปีจึงจะปรับตำแหน่งฟันได้สำเร็จ

    สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุกวันและทุกนาทีในการจัดฟันแบบโลหะคุ้มค่า ไม่ต้องกลับมาจัดรอบสองเพื่อแก้ไขตำแหน่งฟันซ้ำก็คือ อุปกรณ์จัดฟันที่มีคุณภาพ และวินัยในการดูแลตนเอง

    ผู้เข้ารับบริการบางรายมีระยะเวลาในการจัดฟันไม่นาน แต่เพราะเลือกใช้วัสดุจัดฟันที่ไม่มีคุณภาพ รับบริการกับทันตแพทย์ไม่มีความชำนาญ หรือไม่ยอมใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน ทำให้เมื่อจัดฟันเสร็จแล้วกลับพบปัญหารูปฟันที่ผิดปกติไปมากกว่าเดิม และต้องจัดฟันซ้ำอีกเพื่อปรับตำแหน่งฟันใหม่ ซึ่งทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ

    จัดฟันแบบโลหะหน้าเรียวไหม?

    การจัดฟันแบบโลหะมีส่วนช่วยให้ผู้เข้ารับบริการบางรายมีโครงสร้างใบหน้าที่ดูเรียวยาวและสมส่วนมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม โครงสร้างใบหน้าที่เปลี่ยนไปหลังจัดฟันจะขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างกระดูกใบหน้าโดยพื้นฐานของผู้เข้ารับบริการด้วย

    ซึ่งในปัจจุบัน ก็มีเทคโนโลยีการเอกซเรย์และจำลองภาพแบบ 3 มิติเข้ามาเป็นตัวช่วย ทำให้ผู้เข้ารับบริการสามารถเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าหลังจัดฟันเสร็จได้ล่วงหน้าก่อนเริ่มจัดฟัน แต่เทคโนโลยีนี้มักจะอยู่ควบคู่กับการจัดฟันแบบใสมากกว่า หรือขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถานพยาบาล

    จัดฟันแบบโลหะต้องถอนฟันไหม?

    หากการเรียงตัวของฟันก่อนใส่อุปกรณ์จัดฟันมีการทับซ้อน เกซ้อน หรือทำให้ยากต่อการจัดฟันมากๆ ทันตแพทย์ก็อาจพิจารณาถอนฟันบางซี่ออกเพื่อให้ผลลัพธ์ของการจัดฟันออกมามีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเงื่อนไขนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการเรียงตัวของฟันในผู้เข้ารับบริการแต่ละรายที่ทันตแพทย์ตรวจพบ

    การเตรียมตัวก่อนจัดฟันแบบโลหะ

    เพื่อให้การดำเนินชีวิตหลังใส่อุปกรณ์จัดฟันราบรื่นที่สุด และเพื่อสุขภาพฟันที่ดีหลังใส่อุปกรณ์จัดฟัน ผู้เข้ารับบริการควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนจัดฟันโลหะดังต่อไปนี้

    • เลือกรับบริการที่สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และมีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการจัดฟันประจำอยู่เท่านั้น
    • ต้องตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียดกับทันตแพทย์เสียก่อน
    • ถอนฟัน อุดฟัน หรือรักษาฟันซี่ที่มีปัญหาให้เรียบร้อยก่อนจัดฟัน ซึ่งโดยปกติทันตแพทย์จะเป็นผู้แจ้งข้อมูลในส่วนนี้ให้ทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มจัดฟันอยู่แล้ว
    • เตรียมพร้อมกับวิถีชีวิตที่อาจเกิดจากความไม่ชินกับอุปกรณ์จัดฟันในช่วงแรก ทั้งการพูดที่อาจไม่ชัด การกลืนน้ำลายที่ลำบากขึ้น การเคี้ยวอาหารที่ยากขึ้น รูปปากที่อาจยื่นเล็กน้อยจนดูแปลกตา การงดกินอาหารบางชนิดที่เป็นข้อห้าม เช่น ป๊อบคอร์น น้ำแข็ง หมากฝรั่ง ข้าวเหนียว อาหารเนื้อหนืดหรือเนื้อแข็ง

    ขั้นตอนการจัดฟันแบบโลหะ

    ลำดับการใส่อุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานพยาบาล ซึ่งโดยหลักๆ จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพฟัน และเอกซเรย์ตรวจดูโครงสร้างการเรียงตัวของฟันที่มีปัญหาเสียก่อน
    2. ทันตแพทย์วางแผนและกำหนดระยะเวลาในการจัดฟันกับผู้เข้ารับบริการ รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อนำไปผลิตอุปกรณ์จัดฟันสำหรับผู้เข้ารับบริการรายนั้นโดยเฉพาะ จากนั้นจะนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับเข้ามาใส่อุปกรณ์จัดฟันอีกครั้ง
    3. ในวันใส่อุปกรณ์ จะเริ่มต้นจากทันตแพทย์ขัด และทำความสะอาดผิวฟันให้ผู้เข้ารับบริการ
    4. ทันตแพทย์ทากาวพิเศษสำหรับติดแผ่นแบร็กเก็ตลงไปบนเนื้อฟันทีละซี่
    5. ทันตแพทย์ติดแผ่นแบร็กเก็ตลงไปที่ผิวฟันที่ละซี่ หลังจากนั้นอาจมีการฉายแสงพิเศษทับลงไป เพื่อให้กาวที่ผิวฟันกับแผ่นแบร็ตเก็ตติดแน่นคงทนกับผิวฟันมากที่สุด
    6. เมื่อติดแผ่นแบร็กเก็ตลงไปที่ซี่ฟันอย่างครบถ้วนทุกซี่ แพทย์จะค่อยๆ ร้อยลวดโลหะเชื่อมลงไประหว่างแผ่นแบร็กเก็ตแต่ละชิ้น
    7. เมื่อใส่ลวดเชื่อมระหว่างแผ่นแบร็กเก็ตเสร็จแล้ว แพทย์จะติดตัวยึดตามลงไปในร่องระหว่างแผ่นแบร็กเก็ตกับลวดโลหะทีละชิ้น ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการใส่อุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะ
    ขั้นตอนการจัดฟันแบบโลหะ
    การจัดฟันแบบโลหะมีด้วยกันหลักๆ 6 ขั้นตอน

    การดูแลช่องปากระหว่างจัดฟันแบบโลหะ

    หลังจากใส่อุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับบริการยังต้องมีวินัย มีความระมัดระวัง และต้องดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างถูกวิธี เช่น

    • ต้องแปรงฟันให้สะอาดอยู่เสมอ และควรใช้ไหมขัดฟันทุกครั้ง เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดในอุปกรณ์จัดฟัน
    • งดการเคี้ยวอาหารที่มีเนื้อแข็งและเนื้อเหนียวจนเสี่ยงทำให้อุปกรณ์จัดฟันเสียหาย และฟันมีการขยับตำแหน่งผิดปกติไปมากกว่าเดิม
    • ยังคงต้องมาตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนอยู่เสมอ
    • มาเปลี่ยนอุปกรณ์จัดฟันแต่ละชุดกับทันตแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง ไม่ควรเลื่อนนัด และควรมาให้ตรงเวลาตามแผนการรักษา เพื่อให้ฟันมีการเปลี่ยนตำแหน่งอย่างเหมาะตามที่ทันตแพทย์วิเคราะห์เอาไว้
    • เมื่อถอดอุปกรณ์จัดฟันออกแล้ว ต้องไม่ลืมใส่รีเทนเนอร์โดยเด็ดขาด และต้องใส่อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่ในทิศทางที่ไม่เหมาะสมอีก

    การจัดฟันแบบโลหะเป็นการจัดฟันที่เปรียบเสมือนการใส่เครื่องประดับที่มีสีสันให้กับฟัน ผ่านอุปกรณ์ที่มีจุดเด่นด้านสีสันมากกว่าอุปกรณ์จัดฟันแบบอื่น ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับเปลี่ยนตำแหน่งการเรียงตัวของฟันให้ดีขึ้นได้ด้วย

    อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จจากการจัดฟันจะพึ่งพาอุปกรณ์จัดฟันเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ยังต้องพึ่งวินัยและสุขอนามัยที่ดีของตัวผู้จัดฟันร่วมด้วย เพื่อให้ฟันทุกซี่ขยับไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมร่วมกับสุขภาพฟันที่ยังแข็งแรงอยู่เช่นเดิม

    จัดฟันแบบโลหะ ราคา

    เช็กราคาแพ็กเกจตรวจจัดฟัน ตรวจสุขภาพฟัน ผ่านแพ็กเกจทำฟันจากเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามแพ็กเกจเกี่ยวกับการทำทันตกรรมบนหน้าเว็บไซต์ของเราได้ผ่านทางไลน์ @hdcoth


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • Bennion Lambourne Orthodontics, What Is the Best Age to Get Braces? (https://billingsorthodontics.com/what-is-the-best-age-to-get-braces/), 6 June 2022.
    • Care Dental Clinic, จัดฟันแบบโลหะ จัดฟันเหล็ก จัดฟันยางสี (https://www.caredental.clinic/metal-braces/), 6 พฤษภาคม 2565.
    • Dr. Anne and The Assist, ติดเหล็กจัดฟัน วันติดเครื่องมือวันแรก คุณหมอทำอะไรบ้าง,(
      ), 6 พฤษภาคม 2565.
    • Moles & ferri Orthodontic Specialists, What are the Benefits of Wearing Braces? (https://www.molesorthodontics.com/what-are-the-benefits-of-wearing-braces/), 6 June 2022.
    • Orthodontics Australia, Top things to do before you get braces (https://orthodonticsaustralia.org.au/top-things-to-do-before-get-braces/#The_day_after_getting_braces), 6 June 2022.
    • Perfect Teeth, What To Know Before Getting Braces (https://www.perfectteeth.com/blog/what-to-know-before-getting-braces/), 6 June 2022.
    • Santhakumar, What to know about metal braces (https://www.medicalnewstoday.com/articles/metal-braces-uses-costs-benefits-and-more-2), 6 June 2022.
    • เดอะเบรซ คลินิกจัดฟัน, เครื่องมือจัดฟันโลหะ (Metal Braces) คืออะไร (https://www.thebrace.co/what-are-metal-braces/), 6 พฤษภาคม 2565.
    @‌hdcoth line chat