การเทคฮอร์โมนเพศชาย แปลงเพศหญิงเป็นชายคืออะไร?


แปลงเพศ-เทคฮอร์โมน-ชายข้ามเพศ FTM

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การเทคฮอร์โมนเพศ หรือการรับฮอร์โมนเพศ หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เป็นหนึ่งในวิธีแปลงเพศที่ไม่ต้องเจ็บตัว ก็สามารถเห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสรีระไปตามฮอร์โมนเพศที่ได้รับได้ หลังเทคฮอร์โมนเพศอย่างถูกวิธีต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป
  • เมื่อสนใจเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ หลังผ่านการประเมินสภาพจิตใจจากจิตแพทย์อย่างน้อย 2 ท่านแล้ว ผู้เข้ารับบริการต้องเข้ารับคำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์ก่อนถึง “ผลลัพธ์” ที่จะตามมา และ “ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น” อย่างละเอียด
  • การเทคฮอร์โมนเพศชาย หรือการรับฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ จะใช้ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ โทสเธอโรน (Testosterrone) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทั้งการลดทอน หรือกำจัดแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศที่มีอยู่เดิม และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสรีระ
  • ฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือ เทสโทสเธอโรน ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบฉีด แบบรับประทาน แบบทา และแบบพลาสเตอร์ แต่ละแบบจะมีความแตกต่างในความสะดวกในการใช้งาน และระยะเวลาการออกฤทธิ์แตกต่างกัน 
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจหญิงเป็นชาย หรือแอดไลน์ @hdcoth

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “เทคฮอร์โมนเพศ” กันมาบ้าง และเข้าใจกันว่า มันคือ การกินยาคุมกำเนิดในกลุ่มผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นชายแต่ใจเป็นหญิง เพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระบางอย่างให้เป็นผู้หญิงได้ (Male to Female; MTF) โดยไม่ต้องผ่าตัดแปลงเพศ

แต่ในความจริงแล้วการเทคฮอร์โมนเพศนั้นยังใช้ได้กับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิงแต่ใจเป็นชาย เพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระให้มีความเป็นผู้ชายได้ด้วย (Female to Male; FTM)

อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ชื่อว่า “ฮอร์โมนเพศ” ไม่ใช่ยารักษาโรคโดยตรง แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ให้ถูกชนิด ถูกวิธี และใช้ปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการรวมทั้งปลอดภัยต่อสุขภาพ HDmall.co.th จะเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้ฟังแบบชัดๆ


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • เทคฮอร์โมนเพศ การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ คืออะไร?
  • แปลงเพศหญิงเป็นชาย ต้องเทคฮอร์โมนชนิดใด?
  • เทคฮอร์โมนเพศ แปลงเพศหญิงเป็นชายมีกี่วิธี?

  • เทคฮอร์โมนเพศ การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ คืออะไร?

    การเทคฮอร์โมนเพศ หรือการรับฮอร์โมนเพศ หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เป็นหนึ่งในวิธีแปลงเพศสำคัญที่ไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องผ่าตัด สรีระก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงสรีระไปตามฮอร์โมนเพศที่ได้รับได้ หลังจากเทคฮอร์โมนเพศอย่างถูกวิธีต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป

    อย่างไรก็ตาม ก่อนจะสามารถเทคฮอร์โมนเพศได้นั้น ไม่ว่าจะฮอร์โมนเพศชาย หรือหญิง ผู้เข้ารับบริการต้องได้รับการประเมินสภาพจิตใจจากจิตแพทย์อย่างน้อย 2 ท่านแล้วว่า มีภาวะ“Gender dysphoria (GD)” หรือเป็นผู้ที่ไม่มีความสุขกับสรีระทางเพศแต่กำเนิดอย่างรุนแรงจริง 

    รวมทั้งต้องการมีสรีระและลักษณะกายภาพเป็นเพศตรงข้าม กรณีนี้เช่นนี้จึงสมควรได้รับการรักษาด้วยการแปลงเพศเพื่อให้มีความสุขกับชีวิตมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

    • อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือหากมีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
    • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    • ไม่มีภาวะทางจิตเวช
    • ไม่มีประวัติแพ้ยา
    • ไม่มีการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน
    ผ่าตัดแปลงเพศ ราคา

    แม้ว่าในร่างกายของผู้หญิงจะประกอบด้วยฮอร์โมนทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่ก็มีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าจึงมีสรีระ หรือลักษณะทางกายภาพเป็นผู้หญิง เช่น มีหน้าอก สะโพกผาย 

    ดังนั้นเมื่อต้องการมีสรีระ หรือลักษณะทางกายภาพเป็นผู้ชาย จึงต้องรับฮอร์โมนเพศชายบำัด หรือทดแทนนั่นเอง

    เมื่อสนใจเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ผู้เข้ารับบริการต้องเข้ารับคำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์ก่อนถึง “ผลลัพธ์” ที่จะตามมา และ “ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น” อย่างละเอียด

    นอกจากนี้ยังต้องเข้ารับการซักประวัติ และตรวจสุขภาพอย่างละเอียด มีค่าผลเลือด ค่าตับ ค่าไต ค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการเทคฮอร์โมน

    แปลงเพศหญิงเป็นชาย ต้องเทคฮอร์โมนชนิดใด?

    การเทคฮอร์โมนเพศชาย หรือการรับฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ จะใช้ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ โทสเธอโรน (Testosterrone) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อไปนี้

    • ลดทอน หรือกำจัดฮอร์โมนเพศที่มีอยู่เดิม อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะลดประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญลง ทำให้รังไข่ผลิตไข่น้อยลง ไข่จึงตกน้อยลงๆ ประจำเดือนจะเริ่มขาดและค่อยๆ หายไป
    • กระตุ้น หรือเสริมฤทธิ์ฮอร์โมนเพศตรงข้าม อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระคล้ายเพศชายมากขึ้น เช่น มีขน หนวด เครา เพิ่มมากขึ้น เสียงใหญ่ขึ้น สะโพกผายลดลง กล้ามเนื้อแข็งแรงและเติบโตมากขึ้น สะโพกผายลดลง

    อย่างไรก็ตาม การตอบสนองของร่างกายต่อฮอร์โมนเพศชายนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แต่ละเชื้อชาติ และแต่ละพันธุกรรม 

    แต่โดยทั่วไปหากใช้ฮอร์โมนเพศชายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะสามารถเห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสรีระได้ หลังเทคฮอร์โมนเพศอย่างถูกวิธีต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป

    ผ่าตัดแปลงเพศ ราคา

    เทคฮอร์โมนเพศ แปลงเพศหญิงเป็นชายมีกี่วิธี?

    ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ เทสโทสเธอโรน (Testosterrone) ที่ใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระหญิงให้เป็นชายนั้น ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบฉีด แบบรับประทาน แบบทา และแบบพลาสเตอร์

    ฮอร์โมนแต่ละแบบจะมีความแตกต่างในความสะดวกในการใช้งาน และระยะเวลาการออกฤทธิ์แตกต่างกัน ดังนี้

    1.ฮอร์โมนแบบฉีด

    ข้อดี: ออกฤทธิ์เร็ว สามารถปรับลดระดับการรับฮอร์โมนได้ตามต้องการ หากน้อยเกินไป หรือสูงเกินไป
    ข้อเสีย: ต้องไปโรงพยาบาลบ่อย เจ็บตัวจากการฉีดยา มีทั้งยาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น (ฉีดทุก 2-4สัปดาห์) แต่ต้องมารับฮอร์โมนตามกำหนดเพราะโดยทั่วไปฮอร์โมนจะออกฤทธิ์สูงสุดภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังรับฮอร์โมน และฤทธิ์จะค่อยๆ ตกลง ดังนั้นถ้าเลยกำหนดมาฉีดฮอร์โมนเพิ่ม ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะตกลงทำให้การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสรีระชะงักได้

    ส่วนยาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะยาว (ฉีดทุก 3 เดือน) จะออกฤทธิ์แบบค่อยๆ เพิ่มขึ้นแล้วจึงลดลง ข้อดีคือ ไม่ต้องมาฉีดฮอร์โมนบ่อย แต่จะปรับลดระดับฮอร์โมนไม่ดีเท่ายาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น

    2.ฮอร์โมนแบบรับประทาน

    ข้อดี: สะดวก ไม่เจ็บตัว สามารถรับประทานได้เอง ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล
    ข้อเสีย: ออกฤทธิ์ระยะสั้นจึงต้องรับประทานต่อเนื่องทุกวัน เพราะถ้าลืมรับประทานยา ระดับฮอร์โมนจะตกลง ส่วนราคาฮอร์โมนแบบรับประทานถือว่า ไม่ถูกไปกว่ายาฉีดเพราะต้องรับประทานบ่อยและรับประทานเป็นจำนวนมาก

    นอกจากนี้การรับประทานฮอร์โมนยังมีผลต่อตับและเห็นผลการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ "ช้ากว่า" การใช้ฮอร์โมนแบบอื่น

    3.ฮอร์โมนแบบทา

    ข้อดี: สะดวก ไม่เจ็บตัว ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล
    ข้อเสีย: ออกฤทธิ์ระยะสั้นมากเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ต้องทาตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุมเพื่อให้ฮอร์โมนแทรกซึมลงสู่ผิวหนังและออกฤทธิ์ได้ดี เช่น ท้อง หัวไหล่ ท้องแขนด้านใน หลังทาเจลฮอร์โมนยังต้องรอให้เจลแห้งก่อนสวมใส่เสื้อผ้า เพื่อป้องกันการเลอะเทอะ

    ส่วนราคาฮอร์โมนแบบทาถือว่า “สูง” เพราะต้องใช้ยาทุกวัน

    4.ฮอร์โมนแบบพลาสเตอร์

    ข้อดี: สะดวก ไม่เจ็บตัว ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล
    ข้อเสีย: ออกฤทธิ์ระยะสั้นมากเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ต้องปิดพลาสเตอร์ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุมเพื่อให้ฮอร์โมนแทรกซึมลงสู่ผิวหนังและออกฤทธิ์ได้ดี เช่น ท้อง หัวไหล่ ท้องแขนด้านใน ด้านในต้นขา

    ส่วนราคายาฮอร์โมนแบบพลาสเตอร์ถือว่า “สูง” เพราะต้องใช้ยาทุกวัน และยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

    ผ่าตัดแปลงเพศ ราคา

    อย่างไรก็ตาม การจะใช้ฮอร์โมนแบบไหนนั้นควรให้สูตินรีแพทย์เป็นผู้วางแผนเพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ดี และเหมาะสม ปลอดภัยกับสภาพร่างกาย วัยของผู้เข้ารับบริการ ไม่ควรเทคฮอร์โมนด้วยตนเอง หรือหาซื้อฮอร์โมนที่วางขายตามท้องตลาด หรือช่องทางออนไลน์มาใช้เองด้วยปราศจากคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ หรือแพทย์

    ยิ่งหากต้องการก้าวเข้าสู่กระบวนการผ่าตัดแปลงเพศหญิงเป้นเพื่อเป็นชายข้ามเพศ FTM ด้วยแล้ว ยิ่งต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนการเทคฮอร์โมนให้ถูกวิธีและปลอดภัย เพราะจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเพศไประยะยาว หรือตลอดชัวิต

    หากสนใจเข้ารับการแปลงเพศสามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย ได้ที่นี่เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • Hormone Health network, Masculinizing Hormone Therapy (https://www.hormone.org/your-health-and-hormones/transgender-health/masculinizing-hormone-therapy), 15 September 2021.
    • Madeline B. Deutsch, MD, MPH, Overview of masculinizing hormone therapy (https://transcare.ucsf.edu/guidelines/masculinizing-therapy), 15 September 2021.
    • Seattlechildrens.org, A Guide to Masculinizing Hormones: Gender Affirming Care (https://www.seattlechildrens.org/globalassets/documents/for-patients-and-families/pfe/pe2707.pdf), 15 September 2021.
    • Poonpismai Suwajo, Pronthep Pungrasmi and others, The Development of Sex Reassignment Surgery in Thailand: A Social Perspective (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3977439/), 15 September 2021.
    @‌hdcoth line chat