คู่มือช่วยตัดสินใจก่อนสักปาก


สักปากดีไหม? ขั้นตอนเป็นอย่างไร? เจ็บไหม? อ่านสรุปก่อนไปสักปาก

HDmall สรุปให้! 

ขยาย

ปิด

  • การสักปาก จะใช้อุปกรณ์ที่มีหัวขนาดเล็กบรรจุสีเข้าไปไว้ริมฝีปากด้านนอกหรือด้านใน
  • การสักปากเหมาะกับผู้ที่ต้องการให้ริมฝีปากมีสีตามที่ต้องการตลอดเวลาแม้จะไม่ได้แต่งหน้า
  • แต่ข้อควรระวังขอการสักปากคือ เป็นตำแหน่งที่ติดเชื้อง่าย เพราะสัมผัสน้ำลายและอาหารเสมอ ควรใช้น้ำยาบ้วนปากสม่ำเสมอ
  • เช็กราคาจริงก่อนตัดสินใจซื้อได้ที่นี่ แตะ หรือสอบถามแอดมิน แตะตรงนี้

จะออกจากบ้านที ต้องทาลิปสติกที พอถึงตอนเที่ยงก็ต้องแวะห้องน้ำ เช็กสีลิปสติก ถ้าเป็นช่วงฝุ่นเยอะ หรือเป็นหวัด ต้องใส่มาสก์ บางทีลิปสติกก็เปื้อนมาสก์ไปอีก หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ การสักปากอาจเป็นทางเลือกที่น่าพิจารณา

สักปากคืออะไร?

สักปาก (Micro-pigmentation) คือการใช้เข็มหรืออุปกรณ์สักที่มีหัวขนาดเล็กบรรจุสีเข้าไปฝังไว้ที่ริมฝีปาก จนสามารถมองเห็นได้จากภายนอก เป็นเทคนิคประเภทเดียวกับการสักส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สีสักสามารถอยู่ได้นาน ทำให้ไม่จำเป็นต้องคอยเติมลิปสติกบ่อยๆ

บริเวณที่นิยมในการสักปากได้แก่

  • ริมฝีปากด้านนอก
  • ริมฝีปากด้านใน

ตำแหน่งในการสักขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน

สักปาก ทำสีปาก ราคา

สักปาก ดีไหม ช่วยอะไร?

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ต้องการสักปาก มักมีข้อจำกัดหรือความต้องการตามข้อใดข้อหนึ่งจากด้านล่างนี้

  • ผู้ที่มีริมฝีปากคล้ำ ดำ จนดูคล้ายคนสูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีสีปากซีด จนเหมือนสุขภาพไม่ดี
  • ผู้ที่แพ้ลิปสติก ไม่สามารถทาลิปสติกสีได้
  • ผู้ที่มีริมฝีปากไม่เท่ากัน (Uneven lips)

ขั้นตอนการสักปาก

การสักปากใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง โดยปกติแล้วขั้นตอนการสักอาจมีดังนี้

  1. หลังจากบอกความต้องการของคุณแล้ว ผู้ทำการสักจะทำการร่างแผนการสักให้ดูคร่าวๆ
  2. เมื่อตกลงแบบในการสักได้แล้ว ผู้ทำการสักจะเตรียมความพร้อมอุปกรณ์โดยการเติมสี ช่วงนี้ควรสังเกตให้แน่ใจว่าผู้ทำการสักใช้เข็มหรืออุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
  3. ผู้ทำการสักจะให้ยาชาเฉพาะที่ แล้วค่อยๆ สักลงตามแผนที่ตกลงกันไว้ช้าๆ ช่วงนี้อาจรู้สึกเจ็บหรือไวต่อความรู้สึกบ้าง ในระหว่างการสักปากอาจมีเลือดออก เป็นเรื่องปกติ
  4. เมื่อสักเสร็จเรียบร้อย ผู้ทำการสักจะปิดปากไว้ด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  5. ควรหาน้ำยาบ้วนปากสูตรต้านเชื้อแบคทีเรียมาใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด

ระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละคน รวมถึงความชำนาญของผู้ทำการสักด้วย

สักปาก ทำสีปาก ราคา

ผลข้างเคียงสักปาก สักปากเจ็บไหม บวมไหม?

ปาก เป็นหนึ่งในอวัยวะที่บอบบางและไวต่อความรู้สึกมาก จึงมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นนี่คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจสักปาก

  • ริมฝีปากบวม เนื่องจากการสักทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวหนังในการปล่อยหมึกสีเข้าไป แต่อาการควรจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน อาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยลดบวมได้
  • มีอาการเจ็บ อย่างที่กล่าวไปว่าริมฝีปากเป็นพื้นที่ที่บอบบางมาก ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะเจ็บหรือปวดหลังจากทำการสักปาก แต่อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วันเช่นเดียวกับอาการบวม
  • มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าส่วนอื่น ริมฝีปากเป็นส่วนที่ทำความสะอาดได้ยาก เพราะมีโอกาสสัมผัสกับน้ำลาย อาหาร และเครื่องดื่มตลอดทั้งวัน จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก
  • มีโอกาสเกิดแผลเป็น หากรักษาแผลได้ไม่ดีเท่าที่ควรอาจนำไปสู่การเกิดแผลเป็นได้ ควรเลือกสถานที่สักที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ผ่านการฆ่าเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเป็นแผลเป็นให้มากที่สุด
  • มีโอกาสเกิดอาการแพ้ ใครที่มีประวัติผิวแพ้ง่าย อาจมีโอกาสแพ้การสักได้มาก อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ ผื่น คัน และลมพิษ ดังนั้นควรปรึกษากับผู้ทำการสักเพื่อเลือกหมึกที่ไม่มีสารก่อภูมิแพ้
  • อาการแพ้แบบรุนแรง บางกรณีอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังสัก เช่น หายใจไม่ออก แก้มบวม คอบวม ถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ต้องพบแพทย์ทันที เพราะอาจนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม แม้ผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการสักปากจะมีโอกาสเป็นไปได้หลายอย่าง แต่กรณีรุนแรงนั้นเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยผลการศึกษาในโรงพยาบาลประเทศเยอรมนี (Academic Teaching Hospital in South-East Germany) พบผู้ที่มีอาการรุนแรงเพียง 0.02% เท่านั้น


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Kristeen Cherney, What You Need to Know Before Considering a Lip Tattoo, (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/lip-tattoo), 30 May 2019.
  • National Center for Biotechnology Information, Severe Adverse Events Related to Tattooing: An Retrospective Analysis of 11 Years, (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3519250/), December 2012.
  • ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล, อันตรายจากการสัก, (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/278/อันตรายจากการสัก/contact.php), 20 กันยายน 2558.
@‌hdcoth line chat