การเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง คืออะไร


การเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง หรือปลูกถ่ายเนื้อเยื่อที่อวัยวะเพศหญิง คืออะไร? ใช้ผิวหนังส่วนไหน? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? มีสิ่งไหนที่ควรระวังบ้าง? อ่านข้อมูลได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง เป็นวิธีเพิ่มขนาดของแคมใหญ่ โดยใช้หนังแท้ติดไขมัน (Dermal fat graft) สอดแทรกเข้าไปในแคมใหญ่ ช่วยเพิ่มเนื้อของแคมใหญ่ให้หนาขึ้น และทำให้อวบอูมขึ้นได้
  • อยู่ได้นานกว่าการฉีดไขมันตนเอง และการฉีดสารเติมเต็ม เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะเกิดพังผืดเข้ามาแทรกโพรงของเนื้อเยื่อที่เสริมเข้าไป
  • เป็นการผ่าตัดใหญ่ มีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อน และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องทำกับแพทย์ผู้มีความชำนาญการด้านการปลูกถ่ายผิวหนังโดยเฉพาะ
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาเพิ่มขนาดอวัยวะเพศหญิง ตกแต่งรูปทรงอวัยวะเพศ หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียปริมาณคอลลาเจน ไขมัน และไฮยาลูรอนิกแอซิดใต้ชั้นผิว ทำให้ผิวหนังที่เคยเต่งตึงเริ่มหย่อนคล้อย และมีริ้วรอยตามวัย

เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของเพศหญิงอย่างหัวหน่าว (Mons pubis) และแคมใหญ่ (Labia majora) ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

ผู้หญิงหลายคนประสบปัญหาหัวหน่าวไม่เต่งตึง ห้อยย้อย มีริ้วรอย หรือรอยย่นผิดปกติ หรือแคมนอกมีขนาดไม่เท่ากัน เรียบแบน หรือเหี่ยวแฟบ แม้จะไม่มีอันตราย แต่ก็ส่งผลต่อความสวยงามและความมั่นใจได้

ในปัจจุบันมีวิธีรักษาทางการแพทย์หลายวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เช่น การฉีดไขมันตนเอง (Fat transfer) การฉีดสารเติมเต็ม (Dermal filler) และการเสริมเนื้อที่อวัยวะเพศหญิง

สำหรับบทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปทำความรู้จักกับการเพิ่มขนาดอวัยวะเพศหญิงด้วยวิธีเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง จะน่าสนใจแค่ไหน ขั้นตอนเป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ไปดูกัน

การเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง คืออะไร?

การเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อที่อวัยวะเพศหญิง เป็นวิธีเพิ่มขนาดของแคมใหญ่ หรือที่เรียกว่า “แคมนอก” โดยใช้หนังแท้ติดไขมัน (Dermal fat graft) สอดแทรกเข้าไปในแคมใหญ่ ช่วยเพิ่มเนื้อของแคมใหญ่ให้หนาขึ้น และทำให้อวบอูมขึ้นได้

หนังแท้ติดไขมันนั้น ได้จากผิวหนังที่มีสุขภาพดี อาจได้จากผิวหนังบริเวณต้นขาด้านใน ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือใช้ผิวหนังส่วนเกินของแคมเล็กที่ยื่นออกมาก็ได้

การเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง สามารถทำร่วมกับการผ่าตัดลดขนาดแคมเล็ก หรือการฉีดสารเติมเต็มเพื่อเพิ่มขนาดของอวัยวะเพศหญิงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ทำการรักษาด้วย

ข้อดี-ข้อเสียของการเสริมเนื้ออวัยวะเพศหญิง คืออะไร?

ข้อดี

  • อยู่ได้นานกว่าการฉีดไขมันตนเอง และการฉีดสารเติมเต็ม เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะเกิดพังผืดเข้ามาแทรกโพรงของเนื้อเยื่อที่เสริมเข้าไป
  • สามารถใช้รักษาในผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดขูดซิลิโคนเหลวที่แคมใหญ่ได้

ข้อเสีย

  • เป็นการผ่าตัดใหญ่และมีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อน จำเป็นต้องทำกับแพทย์ผู้มีความชำนาญการด้านการปลูกถ่ายผิวหนังโดยเฉพาะ
  • เนื้อเยื่อที่ใช้ปลูกถ่ายมีโอกาสฝ่อ หรือกลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปในการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ เลือดออก หรือบวม ทำให้ต้องพักฟื้นนานกว่าการเพิ่มขนาดอวัยวะด้วยวิธีอื่นๆ

การเพิ่มขนาดอวัยวะเพศหญิงนั้น มีหลายวิธี แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ของการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ควรเลือกทำกับแพทย์ผู้ชำนาญการ และโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ

ตกแต่งน้องสาวให้สวยงาม เสริมสร้างความมั่นใจในทุกวัน กด เปรียบเทียบแพ็กเกจเพิ่มขนาดอวัยวะเพศหญิงและราค่าล่าสุด จากโรงพยาบาลชั้นนำได้เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวโรงพยาบาล

น้องจิ๊บ และ HDmall.co.th เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง สนใจแพ็กเกจสุขภาพ ทันตกรรม และความงาม กดแอดไลน์ได้เลยไม่ต้องรอ! การันตีราคาสุดคุ้ม พร้อมโปรโมชันดีๆ มากมาย ที่สำคัญยังสามารถผ่อนฟรี 0% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการได้ด้วยนะ!

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขนาดอวัยวะเพศหญิง

ที่มาของข้อมูล

Academic.oup.com, Labia Majora Augmentation: A Systematic Review of the Literature (https://academic.oup.com/asj/article/37/10/1157/3760306), 25 June 2021.

Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov, Labia Majora Augmentation Combined With Minimal Labia Minora Resection: A Safe and Global Approach to the External Female Genitalia (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29461295/), 25 June 2021.

Pubmed.ncbi.nlm.nih.gov, Use of dermal fat graft for augmentation of the labia majora (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21803669/), 25 June 2021.

@‌hdcoth line chat