ใครที่เหมาะกับการติดหมุดใบหู


ติดหมุดใบหูเหมาะกับทุกคนหรือไม่-คนท้อง คนเป็นโรคเลือดทำได้ไหม-มีอันตราย หรือผลข้างเคียงหรือเปล่า

การติดหมุดใบหู การติดเมล็ดผักกาดที่หู อาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูเหลือเชื่อ เพราะลำพังแค่การแปะ หรือติดลงบนหูไม่น่ามีสรรพคุณการบำบัดรักษาโรคได้จริง เมื่อเทียบกับการฝังเข็มและการครอบแก้ว อย่างการฝังเข็มที่ต้องแทงเข็มผ่านลงไปในชั้นผิวหนัง ส่วนการครอบแก้วก็ต้องใช้ความร้อนทำให้เกิดภาวะสุญญากาศภายในแก้ว แล้วนำมาครอบผิวหนังอีกที

แต่แท้จริงแล้วการติดหมุดใบหู การติดเมล็ดผักกาดที่หู ล้วนมีกลไกการทำงานที่ลึกซึ้งแต่ทรงพลังเช่นเดียวกับการฝังเข็มและการครอบแก้ว

อย่างไรก็ตาม การติดหมุดใบหูก็มีข้อจำกัดสำหรับผู้เข้ารับการบำบัด มีข้อควรระวังและผลข้างเคียงเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยและการเห็นผลลัพธ์ที่ดีก่อนเข้ารับการบำบัด HDmall.co.th จะพาไปรู้จักข้อจำกัดเหล่านี้

ติดหมุดใบหูเหมาะกับทุกคนหรือไม่?

การติดหมุดใบหู (Auricular acupuncture หรือ Ear acupuncture) มีกลไกการบำบัดด้วยติดหมุดโลหะลงไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหู ซึ่งตำแหน่งนั้นจะตรงกับเส้นลมปราณเพื่อนำไปสู่อวัยวะปลายทางที่คาดว่ามีปัญหา หรือมีความบกพร่อง

เมื่อติดหมุดลงไปแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกดที่จุดนั้น คลึง หรือนวด เพื่อให้เกิดการกระตุ้นไปยังอวัยวะปลายทางนั่นเอง เมื่ออวัยวะนั้นๆ ได้รับการกระตุ้น แพทย์จีนเชื่อว่า ระบบหมุนเวียนโลหิตที่เคยติดขัดเป็นบ่อเกิดของปัญหาจะดีขึ้น มีการปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ตามมา ส่งผลให้อวัยวะนั้นๆ กลับมาทำงานได้เป็นปกติ

แพทย์แผนจีนเชื่อว่า การติดหมุดใบหูนั้นสามารถบำบัดรักษาอาการผิดปกติและโรคได้หลายอย่าง ได้แก่

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก
  • ผู้ต้องการลดน้ำหนัก ควบคุมการรับประทานอาหาร
  • ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรน
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลัง
  • ผู้ที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับประจำเดือน

ติดหมุดใบหู ไม่เหมาะกับใครบ้าง?

แม้จะเป็นศาสตร์การรักษาที่เรียบง่าย ไม่ใช้ยา ไม่ใช้เข็ม ไม่ใช้ความร้อน แต่การติดหมุดใบหูก็มีความเสี่ยงสำหรับคนบางกลุ่มเช่นกัน

  • หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในช่วง 1-5 เดือนแรก เพราะเสี่ยงต่อการแท้ง
  • ผู้ที่มีภาวะแท้งคุกคาม เพราะเสี่ยงต่อการแท้ง
  • ผู้ที่มีประวัติแท้งหลายครั้ง
  • ผู้ป่วยโรคเลือดหยุดไหลยาก
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย เกล็ดเลือดต่ำ
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • ผู้ที่่มีค่าตับผิดปกติ
  • ผู้ที่มีผื่นแพ้รุนแรง หรือแผลอักเสบ แผลเปิดบริเวณหู
  • ผู้ที่มีอาการหูอักเสบ

ติดหมุดใบหู มีอันตราย หรือผลข้างเคียงหรือเปล่า?

เช่นเดียวกับศาสตร์การบำบัดอื่นๆ ที่อาจมีอันตราย หรือผลข้างเคียงตามมา หากเข้าไม่ได้รับการรักษากับแพทย์จีนที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจากหากเข้ารับการรักษาตามกระบวนการจะได้รับลการตรวจสุขภาพก่อนเบื้องต้น เช่น ระดับความดันโลหิต ซักประวัติความเจ็บป่วย การตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้ยังควรเข้ารับการบำบัดรักษากับแพทย์จีนที่มีความรู้ความสามารถ เลือกคลินิกที่สะอาดได้มาตรฐาน ปลอดเชื้อ

ไม่ควรหาซื้อหมุด หรือเมล็ดผักกาด เมล็ดหัวไชเท้า ที่มีขายตามช่องทางออนไลน์เพื่อนำมาติดหูเองอย่างเด็ดขาดเพราะอาจนำมาซึ่งการติดเชื้อ ระคายเคือง เกิดอาการแพ้ และที่สำคัญจะจะไม่ได้ผลลัพธ์ในการรักษา เนื่องจากไม่ได้ทำการติดหมุด หรือเมล็ดผักกาด เมล็ดหัวไชเท้า ตามจุดที่สะท้อนถึงอวัยวะภายในนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ผลลัพธ์ในการติดหมุดเห็นผล ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปพร้อมๆ กันด้วย เช่น หากต้องการแก้ปัญหาการนอนหลับ ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในช่วงเย็นของวัน ไม่ควรรับประทานอาหารค่ำเป็นอาหารมื้อหนัก ปรับสภาพแวดล้อมการนอนให้เหมาะสม

หากสนใจเข้ารับการบำบัดด้วยการครอบแก้ว สามารถเปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจติดหมุดใบหู ได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยจะมีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

ที่มาของข้อมูล

Crystal Raypole, Ear Acupuncture (https://www.healthline.com/health/ear-acupuncture), 25 February 2021.

Luigi Gori and Fabio Firenzuoli, Ear Acupuncture in European Traditional Medicine (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2206232/), 25 February 2021.

Yajuan Wang, Ear Acupuncture (https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/auricular-acupuncture), 25 February 2021.

@‌hdcoth line chat