คู่มือฉีดวัคซีน HPV สำคัญอย่างไร ทำไมต้องฉีด?


รวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งจัดเป็นภัยร้ายที่ไม่มีอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองรวมถึงคนที่คุณรัก การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรลืม และควรไปฉีดให้ครบเพื่อลดโอกาสเกิดโรคร้ายกับตนเอง

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV ก็เป็นอีกแนวทางป้องกันที่ทั้งคุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทุกคนไม่ควรพลาด แล้วการฉีดวัคซีน HPV ควรฉีดกี่เข็ม ป้องกันอะไรได้บ้าง ฉีดไปแล้วป้องกันได้มากขนาดไหน มาสำรวจข้อมูลการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกกันในบทความนี้


เลือกบทความที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


เชื้อไวรัส HPV คืออะไร?

เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) หรือที่มีอีกชื่อเรียกว่า “ไวรัสหูด” คือ เชื้อไวรัสที่เป็นตัวการก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศ อวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก

เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสามารถแบ่งประเภทของสายพันธุ์ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. สายพันธุ์กลุ่มที่ความเสี่ยงเกิดโรคต่ำ แต่ก็สามารถก่อให้เกิดบางโรคได้ เช่น โรคหูดหงอนไก่ ตัวอย่างสายพันธุ์ในกลุ่มนี้จะได้แก่ กลุ่มสายพันธุ์ 6, 11, 40, 42, 43, 44, 54
  2. สายพันธุ์กลุ่มที่ความเสี่ยงเกิดโรคสูง โดยมีความรุนแรงในการเข้าไปเปลี่ยนเซลล์ที่ระบบสืบพันธุ์จนเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด ตัวอย่างสายพันธุ์ในกลุ่มจะได้แก่ กลุ่มสายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45

เชื้อไวรัส HPV ไม่ได้แพร่กระจายในกลุ่มผู้หญิงเพียงอย่างเดียว แต่สามารถต่อต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ไปสู่เพศชายได้ด้วย และสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งในเพศชายได้ เช่น โรคมะเร็งองคชาต โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ โรคมะเร็งทวารหนัก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน HPV คือ วัคซีนสำหรับฉีดเพื่อป้องกันโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV ผ่านการเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสตัวนี้ในร่างกาย

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีกี่ชนิด?

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกสามารจำแนกชนิดได้ 3 รูปแบบ ได้แก่

  • วัคซีนชนิดป้องกันได้ 2 สายพันธุ์ มีชื่อเรียกว่า “วัคซีน Cervarix” ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18
  • วัคซีนชนิดป้องกันได้ 4 สายพันธุ์ มีชื่อเรียกว่า “วัคซีน Gardasil” ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 16, 18, 6 และ 11
  • วัคซีนป้องกันได้ 9 สายพันธุ์ มีชื่อเรียกว่า “วัคซีน Human Papillomavirus 9-valent Vaccine” ได้แก่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58

ข้อเสียและความเสี่ยงของวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกเป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันโอกาสเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดได้ และสามารถลดโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม วัคซีนชนิดนี้ก็ยังมีข้อเสียที่ควรรู้ไว้ เพื่อจะได้ดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

  • วัคซีนจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ส่วนผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วและมาฉีดวัคซีนในภายหลังก็จะได้รับภูมิกระตุ้นสำหรับป้องกันโรคเช่นเดียวกัน แต่มักมีระดับที่น้อยกว่า
  • วัคซีนป้องกันโอกาสเกิดโรคได้ 70% เท่านั้น คุณยังต้องใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรืองดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่
  • ต้องมาฉีดหลายครั้ง โดยต้องฉีดให้ครบ 3 เข็มในทุกๆ คน จึงจะได้รับภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกเหมาะกับใคร?

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกเป็นวัคซีนที่จำเป็นต่อประชาชนทุกคนและทุกเพศอย่างไม่มีข้อยกเว้น โดยมีจำนวนเข็มและความถี่ในการฉีดดังต่อไปนี้

  • เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายทุกคนที่อายุ 9-15 ปี ให้ฉีดเพียง 2 เข็มก็พอ โดยห่างกันเข็มละ 6-12 เดือน
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 15 ปี ให้ฉีดทั้งหมด 3 เข็มได้เลย โดยระยะห่างเข็มที่หนึ่งไปเข็มที่สองจะอยู่ที่ 1-2 เดือน และเข็มที่สองไปเข็มที่สามจะอยู่ที่ 6 เดือน

ใครไม่ควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก?

ผู้ที่มีเงื่อนไขตรงกับข้อดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับวัคซีนอย่างละเอียดเสียก่อน

  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน
  • ผู้ที่ภาวะเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่ไวต่อสารประกอบในวัคซีน

การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

ก่อนฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก คุณไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ เพียงพักผ่อนให้พอ และแจ้งโรคประจำตัวที่มีกับแพทย์ก่อนรับบริการเท่านั้น นอกจากนี้หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน ก็อาจลางานหรือเตรียมเวลาพักผ่อนหลังฉีดไว้ประมาณ 1-2 วัน แต่โดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน

การปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า วัคซีนมะเร็งปากมดลูกช่วยป้องกันโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้ 70% เท่านั้น คุณยังจำเป็นต้องดูแลตนเองอย่างระมัดระวังภายหลังจากรับวัคซีนครบแล้วด้วย เพราะความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ก็ยังมีอยู่ เช่น

  • คุณหรือคู่นอนต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • งดการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น กางเกงชั้นใน
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศให้สะอาดอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

ผลข้างเคียงและอาการแพ้วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

หลังจากฉีดวัคซีน คุณอาจเผชิญอาการข้างเคียงบางอย่างได้ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง เช่น 

  • ผิวบวมบริเวณที่ฉีดยา
  • ปวดศีรษะ
  • เป็นไข้
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้อาเจียน

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ที่รับวัคซีนบางคนก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้อย่างรุนแรงขึ้นได้ หากคุณรู้สึกรับมือกับอาการข้างเคียงเหล่านี้ไม่ไหว หรืออาการรุนแรงจนกระทบชีวิตประจำวัน ให้กลับมาปรึกษาแพทย์โดยทันที

นอกจากอาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ผู้เข้ารับบริการบางท่านอาจเผชิญอาการแพ้วัคซีนซึ่งจะต้องรีบกลับไปพบแพทย์โดยด่วน มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการหลักๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น หายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก ผิวหน้าและลำคอบวมขึ้น มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัว

ควรมาฉีด เพราะวัคซีนจะช่วยป้องโอกาสติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์อื่นๆ ได้อีก รวมถึงป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดิมที่คุณเคยติดเชื้อด้วย

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันโรคได้นานไหม?

จากผลวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า วัคซีนมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ยาวนานอย่างน้อย 6-11 ปีขึ้นไป

เคยฉีดวัคซีนแบบ 2 หรือ 4 สายพันธุ์แล้ว ฉีด 9 สายพันธุ์ได้ไหม?

คุณยังสามารถฉีดวัคซีนแบบ 9 สายพันธุ์ได้อีก แม้จะเคยฉีดวัคซีนแบบ 2 หรือ 4 สายพันธุ์มาแล้ว แต่จำเป็นต้องเว้ยระยะห่างในการรับวัคซีนประมาณ 1 ปีจึงจะสามารถฉีดแบบ 9 สายพันธุ์ได้ หรือแพทย์อาจเป็นผู้กำหนดระยะห่างในการรับวัคซีนให้ครบทั้ง 3 รูปแบบเอง

ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกแล้วต้องตรวจมะเร็งปากมดลูกไหม?

คุณยังต้องมีการตรวจสุขภาพ รวมถึงตรวจความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกอยู่เสมอภายหลังจากรับวัคซีนไปแล้ว โดยอาจตรวจทุกๆ 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันหรือตามคำแนะนำของแพทย์

สนใจแพ็กเกจฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก สามารถเช็กราคาวัคซีน HPV แบบต่างๆ จากคลินิกและ รพ. มากมายบน HDmall.co.th พร้อมบริการเช็กคิวทำนัดให้ ฟรี


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • National Cancer Institute, Human Papillomavirus (HPV) Vaccines (https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/infectious-agents/hpv-vaccine-fact-sheet#how-effective-are-hpv-vaccines), 16 March 2022.
  • Kathleen Doheny, What Are HPV Vaccines? (https://www.webmd.com/sexual-conditions/hpv-genital-warts/hpv-vaccines-human-papillomavirus), 16 March 2022.
  • โรงพยาบาลกรุงเทพฯ, ถามตอบเรื่องวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ที่ผู้หญิงต้องรู้ (https://www.bangkokhospital.com/content/q-n-a-about-the-hpv-vaccine-9-strains), 6 มีนาคม 2565.
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, HPV เอชพีวี ไวรัสร้าย...ไม่รู้จักไม่ได้แล้ว (https://www.chulabhornhospital.com/page.php?name=844), 6 มีนาคม 2565.
  • โรงพยาบาลธนบุรี, มะเร็งปากมดลูก HPV (https://www.thonburihospital.com/CA_Cervix_HPV.html), 6 มีนาคม 2565.
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์... อาวุธใหม่ของการป้องกันเชื้อไวรัส HPV (https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/January-2021/zip-up-challenge-new-hpv-vaccine), 6 มีนาคม 2565.
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cener) (https://www.nci.go.th/th/Knowledge/downloads/ปากมดลูก2.pdf), 6 มีนาคม 2565.
  • สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร (https://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=321#hpv01), 6 มีนาคม 2565.
  • ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต, ถาม-ตอบ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (https://www.chularatcancercenter.com/th/ถาม-ตอบ-วัคซีนป้องกันมะเ/), 6 มีนาคม 2565.
@‌hdcoth line chat