HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด โดยทั่วไปเป็นการทำคลอดที่แพทย์แนะนำสำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อบ่งชี้สุขภาพของตัวแม่เอง หรือปัญหาเกี่ยวกับทารก
- ไม่ควรผ่าคลอดเกิน 3 ครั้ง เพราะทุกครั้งที่มีการผ่าตัดมดลูกจะเกิดแผลเป็น พังผืดมากขึ้นๆ ยิ่งผ่ามากครั้งเท่าไหร่ โอกาสที่พังผืดจะดึงรั้งอวัยวะภายในที่อยู่ใกล้กับมดลูกเข้ามาใกล้ก็มีมากขึ้นไปด้วย เมื่อมีการผ่าตัดครั้งต่อๆ ไป จึงทำให้การผ่าตัดมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
- ดังนั้นการตัดสินใจผ่าตัดคลอดแต่ละครั้ง แพทย์จะต้องประเมินความเสี่ยงก่อนทุกครั้ง และหากจำเป็นต้องผ่าคลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดก่อนเจ็บท้องเพราะจะปลอดภัยที่สุด
- บางกรณีคุณแม่ผที่ผ่านการผ่าคลอดแล้วสามารถกลับมาคลอดธรรมชาติได้ หากแพทย์ตรวจดูแล้วว่า การผ่าคลอดครั้งที่ผ่านมาต้องเป็นแนวขวางเท่านั้น ครรภ์ไม่ใหญ่มาก แม่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครรภ์เป็นพิษ
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือแอดไลน์ @hdcoth
“ผ่าคลอดแล้ว ท้องต่อๆ ไปก็ต้องผ่าคลอดอีกนะ” หลายคนน่าจะเคยได้ยินประโยคทำนองนี้มาบ้าง ถ้าหากคำกล่าวนี้ “เป็นจริง” แล้วอย่างนั้นในชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งๆ ที่ผ่านการผ่าคลอดมาแล้ว จะยังสามารถผ่าคลอดได้กี่ครั้งจึงจะปลอดภัย และไม่เสี่ยง
แต่หากคำกล่าวข้าวต้นนี้ “ไม่เป็นจริง” นั่นแสดงว่า หลังผ่าคลอดท้องนี้แล้ว ในท้องหน้าจะสามารถคลอดเองได้ใช่หรือไม่? เรื้องนี้จะมีข้อเท็จจริงอย่างไรกันแน่ HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบเหล่านี้ เพื่อให้บรรดาแม่ๆ ได้คลายความสงสัยลง
ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง?
การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด โดยทั่วไปเป็นการทำคลอดที่แพทย์แนะนำสำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อบ่งชี้สุขภาพของตัวแม่เองหรือปัญหาเกี่ยวกับทารก
แม้การผ่าคลอดจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยทั้งคุณแม่และทารก แต่เมื่อขึ้นชื่อว่า “ผ่า” แล้วก็ไม่ต่างจากการผ่าตัดอื่นๆ ที่ร่างกายจะมีความบอบช้ำ เนื่องจากการผ่าคลอดแต่ละครั้งแพทย์ต้องกรีดเปิดชั้นผิวหนังต่างๆ ลงไปถึง 5 ชั้นด้วยกัน จึงจะสามารถกรีดเปิดมดลูกเพื่อนำทารกออกมาจากถุงน้ำคร่ำได้
ก่อนจะเย็บมดลูกและชั้นผิวหนังต่างๆ เข้าด้วยกันทีละชั้นๆ จนครบ ถือเป็นอันเสร็จสิ้น ดังนั้นหลังผ่าคลอดจึงต้องอาศัยการฟื้นตัวของบาดแผลนานหลายเดือนขึ้นอยู่กับสุขภาพของแม่แต่ละคน
หลังจากแผลผ่าตัดหาย ก็จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ที่มดลูกรวมทั้งมีพังผืดเกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้มดลูกยืดหยุ่นตัวได้น้อยลง เมื่อมดลูกมีการขยายตัวจากการตั้งครรภ์อีกครั้ง ยิ่งขยายตัวมากเท่าไหร่มดลูกก็มีโอกาสปริแตกได้มากเท่านั้น
ยิ่งในช่วงเจ็บท้องคลอดที่มดลูกจะบีบรัดตัวตามธรรมชาติถี่ขึ้นๆ ก็ยิ่งมีโอกาสมดลูกปริแตกได้ง่ายขึ้น
สำหรับคำถามที่ว่า “ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง” คำแนะนำโดยทั่วไปคือ ไม่ควรผ่าคลอดเกิน 3 ครั้ง เพราะทุกครั้งที่มีการผ่าตัดมดลูกจะเกิดแผลเป็น พังผืดมากขึ้นๆ ยิ่งผ่ามากครั้งเท่าไหร่ โอกาสที่พังผืดจะดึงรั้งอวัยวะภายในที่อยู่ใกล้กับมดลูกเข้ามาใกล้ก็มีมากขึ้นไปด้วย
เมื่อมีการผ่าตัดครั้งต่อๆ ไป จึงทำให้การผ่าตัดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงที่เครื่องมือผ่าตัดจะทำอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียงเหล่านี้ได้ เช่น ทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาด ทะลุ ส่วนของลำไส้ได้รับบาดเจ็บ
ดังนั้นการตัดสินใจผ่าตัดคลอดแต่ละครั้ง แพทย์จะต้องประเมินความเสี่ยงก่อนทุกครั้ง และหากจำเป็นต้องผ่าคลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดก่อนเจ็บท้องเพราะจะปลอดภัยที่สุด
ผ่าคลอดแล้ว คลอดเองได้ไหม?
แม้ว่าโดยทั่วไปหากท้องแรกเป็นการผ่าคลอด ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม สำหรับในท้องที่สอง แพทย์มักแนะนำให้ผ่าคลอดด้วย โดยให้ผ่าคลอดก่อนเจ็บท้องเพราะจะปลอดภัยที่สุด
แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่ท้องที่สอง หรือสาม ที่คุณแม่สามารถกลับมาคลอดธรรมชาติได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ด้วยที่ต้องตรวจดูว่า
- การผ่าคลอดครั้งที่ผ่านมาต้องเป็นแนวขวางเท่านั้น
- ขนาดของครรภ์ไม่ใหญ่มาก เหมาะแก่การคลอดธรรมชาติ
- ขนาดของอุ้งเชิงกรานมีความเหมาะสมที่จะคลอดธรรมชาติได้
- แม่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกมาก่อน
- ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครรภ์เป็นพิษ
นอกจากนี้แพทย์ยังต้องเตรียมวางแผนรับมือกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งเตรียมทีมบุคลากรด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น วิสัญญีแพทย์ ทีมดังกล่าวจะพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดระหว่างคลอด เช่น หากมดลูกเริ่มมีอาการจะปริ หรือแตก การผ่าคลอดฉุกเฉินจะสามารถช่วยชีวิตแม่และทารกได้ทันท่วงที
ควรมีลูกห่างกันกี่ปีจึงปลอดภัย ?
ส่วนระยะเวลาการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าคลอดมาแล้ว หากไม่มีปัญหาเรื่องอายุมากเกินไปที่จะตั้งครรภ์แล้ว และไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 แนะนำให้เว้นระยะห่างราว 1-2 ปี
ทั้งนี้เพื่อให้มดลูกและสุขภาพร่างกายคุณแม่กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง รวมทั้งมีการส่งเสริม บำรุงสุขภาพด้านอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะด้านโภชนการและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
จากนั้นหากรู้ตัวว่า เริ่มตั้งครรภ์อีกครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันที แพทย์จะได้ประเมินอายุครรภ์ และตรวจสุขภาพแม่อย่างละเอียด
ว่าที่คุณแม่สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่ตรงใจ คุ้มค่ากับงบประมาณได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยมีจิ๊บใจดี เสียงใสคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การคลอดธรรมชาติ คืออะไร
- ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าคลอดคืออะไร
- การผ่าคลอดคืออะไร
- คลอดธรรมชาติ ทำให้ช่องคลอดหลวมจริงหรือ?
- ขั้นตอนการคลอดธรรมชาติเป็นอย่างไร
- ทำรีแพร์ มีกี่วิธี แต่ละแบบเป็นอย่างไร?
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Brian Krans, C-Section (Cesarean Section) (https://www.healthline.com/health/c-section), 18 May 2021.
- Whitney C. Harris, How Many C-Sections Can You Have? (https://www.parents.com/pregnancy/giving-birth/how-many-c-sections-can-a-woman-have/), 18 May 2021.
- VITAL RECORD, YOU ASKED: HOW MANY C-SECTIONS CAN A WOMAN HAVE? (https://vitalrecord.tamhsc.edu/asked-many-c-sections-can-woman/#:~:text=%E2%80%9CSo%2C%20every%20patient%20is%20different,the%20maximum%20number%20of%20three.%E2%80%9D), 18 May 2021.
- NHS, Caesarean section (https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/), 18 May 2021.
- MedlinePlus, Cesarean Section (https://medlineplus.gov/cesareansection.html), 18 May 2021.
- Hedwige Saint Louis, MD, MPH, FACOG, Cesarean Delivery (https://emedicine.medscape.com/article/263424-overview), 18 May 2021.
- รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, จะคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอดดีนะ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=430), 18 พฤษภาคม 2564.