ผ่าฟันคุดเจ็บไหม? ฟันคุดแบบไหนถอนได้? ตอบครบทุกข้อมูลโดยทันตแพทย์จาก TDH


ผ่าฟันคุดเจ็บไหม? ฟันคุดแบบไหนถอนได้? ตอบครบทุกข้อมูลโดยทันตแพทย์

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ฟันคุด (Wisdom Teeth) คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นพ้นจากเหงือกได้เหมือนกับฟันซี่ปกติ หากตรวจพบที่ขากรรไกรล่าง ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการผ่านำออกในทุกกรณี
  • ฟันคุดที่ไม่ได้โผล่พ้นจากใต้เหงือกขึ้นมา จะใช้เป็นการผ่าฟันคุดเท่านั้น ไม่ใช่การถอนฟันคุด เพราะ การถอนฟันคุดจะทำได้ต่อเมื่อมีฟันที่โผล่พ้นจากเหงือกขึ้นมาแล้ว
  • หลังจากผ่าตัดฟันคุด ผู้เข้ารับบริการจะต้องใช้ฟันกัดผ้าก๊อซเอาไว้ตรงตำแหน่งแผลผ่าตัดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ร่วมกับการกลืนน้ำลายอยู่เสมอ และควรพูดให้น้อย
  • อาการบวมหลังผ่าฟันคุด เป็นกลไกโดยธรรมชาติของร่างกายที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยมี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ตำแหน่งของฟัน ความแข็งแรงของผู้รับบริการ และความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก Thonglor Dental Hospital (TDH) ทันตแพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ฟันคุดเป็นปัญหาน่ารำคาญใจที่ไม่มีใครอยากเจอ เพราะถ้าตรวจเจอก็ต้องถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุด ไม่อย่างนั้นเจ้าปัญหาฟันประเภทนี้ก็อาจสร้างผลข้างเคียงอื่นๆ ต่อสุขภาพช่องปากได้ในภายหลัง

แล้วผ่าฟันคุดเจ็บไหม? ทำไมเมื่อตรวจเจอฟันคุดแล้วเราต้องผ่าเอาออก? การผ่าตัดฟันคุดมีขั้นตอนอย่างไร? HDmall.co.th ร่วมกับ ทันตแพทย์สกุล ชินอุดมวงศ์ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดศัลยกรรมช่องปาก จาก Thonglor Dental Hospital (TDH)

ฟันคุดคืออะไร? เกิดที่ตำแหน่งไหนได้บ้าง?

ฟันคุด (Wisdom Teeth) คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นพ้นจากเหงือกได้เหมือนกับฟันซี่ปกติ โดยอาจเกิดจากการงอกของฟันซี่นั้นที่งอกทีหลังฟันซี่อื่น จึงไม่มีพื้นที่ให้ได้งอกโผล่พ้นจากเหงือกได้ หรืออาจเกิดจากขนาดขากรรไกรที่เล็กเกินไป จนไม่มีพื้นที่ให้ฟันซี่นั้นงอกขึ้นจากเหงือกได้

ตำแหน่งที่พบได้บ่อยของฟันคุดคือ ฟันกรามซี่สุดท้ายซึ่งอยู่ด้านในสุด เนื่องจากเป็นตำแหน่งของฟันที่ขึ้นหลังสุดของฟันทั้งหมด จึงมีโอกาสที่บริเวณนั้นไม่มีพื้นที่เหงือกมากพอที่ฟันจะงอกโผล่พ้นขึ้นมาได้

ตรวจเจอฟันคุด จำเป็นต้องเอาออกทุกซี่มั้ย?

คุณหมอกุล ให้ข้อมูลว่า หากตรวจพบฟันคุดที่ขากรรไกรล่าง โดยทั่วไปทันตแพทย์ก็มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการผ่านำออกในทุกกรณี เนื่องจากฟันคุดที่ขึ้นบนขากรรไกรล่างมีโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายสุขภาพฟันได้มากกว่าฟันคุดบนขากรรไกรบน

ในกรณีที่ตรวจพบฟันคุดบนขากรรไกรบน และฟันไม่ได้ไปเบียดหรือสร้างความเสียหายกับฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียง ทันตแพทย์อาจพิจารณาเลื่อนการผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุดออกไปก่อนได้ แต่ควรกลับมาตรวจเช็กการเปลี่ยนแปลงของฟันคุดในทุกๆ 6 เดือนเหมือนกับการตรวจสุขภาพฟัน

หรืออีกกรณีหนึ่ง หากผู้เข้ารับบริการมีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลกระทบต่อการผ่าฟันคุดได้ ทันตแพทย์ก็อาจแนะนำให้อย่าเพิ่งผ่าฟันคุด จนกว่าจะสามารถประคองอาการของโรคให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัยได้

ฟันคุดแบบไหนถอนได้?

หลายคนอาจสงสัยว่า “การถอนฟันคุด” กับ “การผ่าฟันคุด” ต่างกันอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ฟันคุดแบบไหนถอนได้ ฟันคุดแบบไหนที่ควรผ่า

คุณหมอกุล อธิบายว่า ฟันคุดหมายถึงฟันที่ไม่ได้โผล่พ้นจากใต้เหงือกจะเป็นการผ่าฟันคุดเท่านั้น ไม่ใช่การถอนฟันคุด เพราะ “การถอนฟัน” หมายถึง การถอนนำฟันที่โผล่พ้นจากเหงือกขึ้นมาแล้วออกไปจากช่องปาก ซึ่งฟันลักษณะนี้ไม่ใช่ลักษณะของฟันคุด

อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ฟันกรามซี่สุดท้ายขึ้นตามปกติ และไม่ได้มีลักษณะเป็นฟันคุดก็ยังได้รับคำแนะนำให้ถอนฟันซี่นั้นออกอยู่ดี ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า นั่นก็คือฟันคุดที่ต้องถอนทิ้ง

แต่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทันตแพทย์หลายท่านแนะนำให้ถอนฟันกรามซี่สุดท้าย เพราะฟันกรามซี่สุดท้ายมักไม่มีประโยชน์ในแง่ของการใช้งาน

หลายคนมักเผลอใช้ฟันซี่นี้กัดเหงือกตนเองจนเป็นแผล และฟันกรามซี่สุดท้ายมักแปรงทำความสะอาดยาก สุดท้ายก็กลายเป็นที่สะสมของเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ถอนออก เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

ผ่าฟันคุดเจ็บไหม?

หลายคนอาจกลัวการผ่าฟันคุดจนถึงตั้งคำถามว่า ผ่าฟันคุดวางยาสลบได้ไหม? ซึ่งในความจริงแล้วการผ่าฟันคุดไม่มีการวางยาสลบ ผู้เข้ารับบริการจะรู้สึกตัวอยู่ตลอดระยะเวลาผ่าตัด แต่กระบวนการผ่าฟันคุดไม่เจ็บ

ก่อนที่ทันตแพทย์จะเริ่มการผ่าเปิดเหงือกเพื่อนำฟันคุดออก บางคลินิกจะทายาชาที่ผิวเหงือกก่อนแล้วตามด้วยการฉีดยาชาเฉพาะจุด แต่บางคลินิกจะเริ่มด้วยการฉีดยาชาเฉพาะจุดลงไปเลย เพื่อให้ผิวเหงือกส่วนที่ต้องกรีดแผลไร้ความรู้สึก ทำให้ระหว่างการผ่าฟันคุดไม่รู้สึกเจ็บ

ขั้นตอนการผ่าฟันคุด

ขั้นตอนการผ่าฟันคุด อันดับแรกทันตแพทย์จะเอกซเรย์ช่องปากเพื่อให้รู้ตำแหน่งของฟันคุดที่แน่นอน จากนั้นจะทำการใส่ยาชาเฉพาะจุดบริเวณเหงือก แล้วรอจนยาชาออกฤทธิ์

เมื่อผิวเหงือกชาเต็มที่แล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มผ่าตัดเปิดผิวเหงือกออก แล้วนำฟันคุดที่อยู่ใต้เหงือกออกมา จากนั้นจึงทำความสะอาดแล้วเย็บปิดแผลด้วยไหม

การผ่านำฟันคุดแต่ละซี่ออกมาจะมีความซับซ้อนไม่เหมือนกัน หากฟันคุดที่จะนำออกอยู่ติดกับฟันซี่อื่น หรือติดกับกระดูกขากรรไกร ทันตแพทย์อาจต้องเลื่อยฟันออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำออกทีละส่วนจนครบ จากนั้นจึงค่อยเย็บปิดแผล

ในกรณีที่ต้องเลื่อยฟัน ผู้เข้ารับบริการจะได้ยินเสียงเครื่องกรอฟันดังอยู่ข้างหูไปด้วย ซึ่งก็อาจทำให้รู้สึกกลัวได้บ้าง แต่เพราะการผ่าตัดอยู่ภายใต้การให้ยาชาตั้งแต่แรก จึงทำให้ผู้รับบริการผ่าฟันคุดไม่รู้สึกเจ็บ

การดูแลตนเองหลังผ่าฟันคุด

คุณหมอกุล เน้นย้ำถึงการห้ามเลือดหลังผ่าฟันคุดเป็นพิเศษ เพราะถึงแม้ช่วงเวลาห้ามเลือดหลังผ่าฟันคุดเป็นขั้นตอนสั้นๆ ที่เกิดขึ้นเพียงประมาณ 1 ชั่วโมง แต่กลับสร้างความกังวลให้กับผู้เข้ารับบริการหลายท่าน

1. วิธีทําให้เลือดหยุดไหล หลังผ่าฟันคุด

หลังจากผ่าฟันคุด ผู้เข้ารับบริการจะต้องกดแผลผ่าตัดเพื่อห้ามเลือดเอาไว้ โดยการใช้ฟันกัดผ้าก๊อซบริเวณตำแหน่งแผลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ร่วมกับการกลืนน้ำลายอยู่เสมอ

ในระหว่างนั้นผู้เข้ารับบริการควรพูดให้น้อยและอยู่นิ่งๆ เพราะการพูดหรือขยับปากจะทำให้ผ้าก๊อซขยับออกจากแผล และทำให้เลือดไม่หยุดไหล

หลายคนอาจอยากรู้ว่า หากผ้าก๊อซชุ่มน้ำลายกับเลือดจะทำอย่างไร สามารถเปลี่ยนผ้าก๊อซได้หรือไม่ คุณหมอกุล อธิบายเอาไว้ว่า หากเรากัดผ้าก๊อซแล้วอยู่นิ่งๆ ร่วมกับกลืนน้ำลายอยู่เรื่อยๆ ผ้าก๊อซที่อยู่ในปากจะไม่ชุ่มเลือด และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซชิ้นใหม่ด้วย

เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง แผลผ่าตัดอาจยังมีเลือดซึมออกมาบ้าง ผู้เข้ารับบริการจะรู้สึกคาวๆ ในช่องปาก แต่ให้กลืนน้ำลายตามปกติ ไม่ต้องบ้วนปากเพราะเลือดที่ซึมออกมา เป็นเลือดที่มาจากสะเก็ดแผล ซึ่งโดยปกติหากเป็นแผลผ่าตัดภายนอก ทันตแพทย์ก็จะแนะนำไม่ให้แผลโดนน้ำเพื่อไม่ให้มีเลือดซึมออกมา

แต่เพราะแผลผ่าฟันคุดอยู่ในช่องปาก มีน้ำลายและความชื้นเกาะอยู่ตลอดเวลา จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเลือดซึมออกมาบ้าง และถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินร้ายแรง

2. อาหารหลังผ่าฟันคุด

ทันตแพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้งดรับประทานอาหารที่ร้อนจัด เผ็ดจัด หรืออาหารที่เคี้ยวยาก มีลักษณะแข็ง แต่คุณหมอกุล แนะนำว่า ผู้รับบริการสามารถกินอาหารได้ตามปกติทุกอย่าง ไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีเนื้อนุ่มหรือเป็นน้ำเสมอไป แต่ให้เคี้ยวอาหารด้วยฟันอีกฝั่งที่ไม่ได้ผ่าตัดแทน

หากมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ตรงรูหรือข้างในแผล และไม่สามารถแปรงฟันเพื่อนำออกได้อย่างหมดจด ก็สามารถปล่อยทิ้งไว้ได้โดยไม่ต้องกังวล เพราะภายใน 7 วันหลังผ่าตัด ทันตแพทย์จะนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับเข้ามาล้างทำความสะอาดแผลอยู่แล้ว

3. การแปรงฟัน หลังผ่าฟันคุด

ในตำแหน่งของแผลและฟันที่อยู่ข้างเคียงกับแผล ให้ผู้เข้ารับบริการแปรงฟันเบาๆ ไปก่อน และอย่าเพิ่งบ้วนปากในช่วง 2-3 วันแรก เพราะการบ้วนปากบ่อยๆ จะยิ่งทำให้เลือดตรงแผลไหลซึมออกมา ส่วนของฟันซี่ที่เหลือนั้นสามารถแปรงให้สะอาดตามปกติได้เลย

อาการบวมหลังผ่าฟันคุด ไม่อยากผ่าฟันคุดแล้วหน้าบวม ต้องทำอย่างไร?

อาการบวมหลังผ่าฟันคุด เป็นอาการอักเสบของร่างกายเมื่อถูกกระแทกหรือได้รับความกระทบกระเทือน เป็นกลไกโดยธรรมชาติของร่างกายที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

คุณหมอกุล กล่าวถึงปัจจัยในการผ่าฟันคุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอาการบวมหลังผ่า ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ปัจจัย ได้แก่

  • ตำแหน่งของฟัน ยิ่งตำแหน่งของฟันคุดที่ต้องผ่าออกมีความซับซ้อนมากเท่าไร กระบวนการผ่าตัดก็ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น และทำให้โอกาสแผลบวมจากขั้นตอนการผ่าตัดที่มากขึ้นตาม
  • ความแข็งแรงของผู้เข้ารับบริการ หากผู้เข้ารับบริการผ่าตัดเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ก็มีโอกาสที่หลังผ่าฟันคุดจะบวมเพียงเล็กน้อย หรือบวมไม่กี่วัน ต่างจากผู้ที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง อาจจะบวมมากกว่า
  • ความชำนาญของทันตแพทย์ ทันตแพทย์ที่อยู่ในสาขาการผ่าตัดโดยเฉพาะจะมีความชำนาญในการผ่าตัดอย่างเบามือและรวดเร็วกว่าทันตแพทย์ทั่วไป ลดโอกาสที่จะทำให้หลังผ่าฟันคุดแล้วมีอาการบวม หรืออาจบวมเพียงเล็กน้อย

ผ่าฟันคุด ที่ Thonglor Dental Hospital (TDH)

หากผู้ที่ยังไม่เคยตรวจสุขภาพฟัน หรือรู้ว่าตัวเองมีฟันคุดแต่ยังไม่รู้ว่าจะผ่าฟันคุดที่ไหนดี ถอนฟันคุดที่ไหนดี HDmall.co.th ขอแนะนำ Thonglor Dental Hospital (TDH) เพราะทันตแพทย์ผู้ผ่าฟันคุดที่นี่ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปาก มีความชำนาญในการผ่าฟันคุดโดยเฉพาะ ช่วยลดปัญหาหน้าบวมหลังผ่าฟันคุดได้เป็นอย่างดี

Thonglor Dental Hospital หรือ TDH ให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าฟันคุด โดยจะช่วยกำหนดเวลา และหาวันที่เหมาะสมที่สุดในการผ่าฟันคุดรวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดอย่างละเอียด

เพราะหลักสำคัญในการให้บริการทันตกรรมที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) คือให้ผู้เข้ารับบริการได้รับการดูแลสุขภาพฟันทุกรูปแบบจากทันตแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง และสามารถกลับออกไปด้วยรอยยิ้มที่สวยสมบูรณ์ ดูแลง่าย ไม่กระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน

ถอนฟันคุด หรือผ่าฟันคุดกับทันตแพทย์เฉพาะทาง พร้อมดูแลสุขภาพฟันจากบริการสุดพิเศษ ที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) สอบถามแพ็กเกจทำทันตกรรมที่น่าสนใจผ่านทางไลน์ @HDcoth

ข้อมูล Thonglor Dental Hospital (TDH)

ขยาย

ปิด

  • สาขาทองหล่อ: ใช้ BTS ลงสถานีทองหล่อ (ทางออก 3) เดินเข้าซอยประมาณ 500 เมตร โรงพยาบาลฟันอยู่ก่อนถึงทองหล่อ ซ. 1 ดูแผนที่
  • สาขาปุณณวิถี: ใช้ BTS ลงสถานีปุณณวิถี (ทางออก 6) จากนั้นเดินสกายวอล์กประมาณ 500 เมตร โรงพยาบาลฟันอยู่ตรงข้าม True Digital Park ดูแผนที่
  • สาขาราชพฤกษ์: โรงพยาบาลฟันอยู่ตรงข้าม The Crystal SB ราชพฤกษ์ ดูแผนที่
  • สาขาติวานนท์: อยู่ตรงห้าแยกปากเกร็ด ตึกเดียวกับโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ตรงข้ามกับโรงเรียนสวนกุหลาบ นนทบุรี ดูแผนที่
  • สาขาไอคอนสยาม: อยู่ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ชั้น 5 ติดกับผิวดีคลินิก ดูแผนที่
  • ดูแพ็กเกจจาก Thonglor Dental Hospital (TDH) ได้ที่นี่

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat