วีเนียร์คืออะไร ราคาเท่าไหร่ ทำแล้วฟันขาวถาวรมั้ย?


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การทำวีเนียร์ (Veneer) คือ การตกแต่งผิวของฟันหน้าให้ดูสวยงาม มีสีขาวสว่าง และมีรูปร่างสวยสมบูรณ์เท่ากันทุกซี่ผ่านการแปะแผ่นเซรามิกรูปร่างเหมือนฟันลงไปที่ผิวด้านหน้าของฟัน
  • วีเนียร์นิยมใช้เพื่อแก้ไขปัญหาฟันเพียงเล็กน้อย เช่น ฟันตกกระ ฟันร้าวหรือบิ่นเล็กน้อย ฟันผุจนสังเกตเห็นเป็นสีดำด้านใน ฟันคด ฟันห่างเล็กน้อย ฟันมีขนาดไม่เสมอกัน ฯลฯ
  • แม้ว่าการทำวีเนียร์จะช่วยแก้ไขปัญหาฟันได้หลายรูปแบบ แต่บางสภาพฟันอาจเหมาะกับวิธีการรักษาแบบอื่น จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดก่อนตัดสินใจ
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก Thonglor Dental Hospital (TDH) ทันตแพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

อยากฟันขาวเหมือนนางงาม ดารา นักแสดง แค่ฟอกฟันขาวอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะผลลัพธ์ของการฟอกสีฟันอาจไม่คงอยู่ตลอดไป หลายคนจึงเลือกทำให้ฟันขาวและมีรูปร่างสมมาตรเท่ากันหมดทุกซี่ด้วยการทำวีเนียร์

HDmall.co.th ร่วมกับ Thonglor Dental Hospital หรือ TDH ในฐานะโรงพยาบาลทันตกรรมชั้นนำแนวหน้าของประเทศไทยและเป็นอีกศูนย์กลางทำทันตกรรมอีกแห่งที่มีชื่อเสียงด้านการทำวีเนียร์ โดยทันตแพทย์กรเทพ สุขยุคล (หมอเน) ทันตแพทย์เฉพาะตกแต่งฟัน และรากฟันเทียม จะมาให้ความรู้ว่า การทำวีเนียร์คืออะไร? ทำอย่างไร? แข็งแรงแค่ไหน? รวมถึงคำแนะนำในการเลือกจำนวนชิ้น และเฉดสีของวีเนียร์

วีเนียร์คืออะไร?

การทำวีเนียร์ (Veneer) คือ การแปะแผ่นเซรามิกรูปร่างเหมือนฟันที่มีความหนาประมาณ 0.3 - 0.5 มิลลิเมตร ที่ผิวด้านหน้าของฟัน เพื่อตกแต่งให้รูปร่างฟันเท่ากันทุกซี่และสามารถเลือกระดับความขาวของสีฟันได้อีกด้วย

การแปะฟันด้วยวีเนียร์จะใช้กาวชนิดพิเศษสำหรับทันตกรรมโดยเฉพาะ จึงทำให้วีเนียร์มีความแข็งแรงและคงทนต่อความชื้นภายในช่องปาก ยากต่อการแตกหักเสียหาย นอกเสียจากผู้ที่ใส่วีเนียร์ประสบอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกรุนแรง

ตัวอย่างวีเนียร์ แปะฟันขาว ที่ TDH

วัสดุในการทำวีเนียร์

วัสดุในการทำวีเนียร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. วีเนียร์พอซเลน

วีเนียร์พอร์ซเลน (Porcelain veneers) หรือคลินิกทันตกรรมส่วนใหญ่เรียกว่า วีเนียร์เซรามิก เนื่องจากเป็นการใช้เซรามิกเป็นวัสดุในการผลิตชิ้นงานวีเนียร์

วีเนียร์เซรามิก หรือวีเนียร์พอร์ซเลนมีลักษณะแวววาวเหมือนฟันตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่มีคุณสมบัติป้องกันการเกาะติดคราบต่างๆ และมีความคงทนสูง โดยมีอายุการใช้งานได้นานถึง 10 ปี แต่ถ้าหากได้รับการดูแลเป็นอย่างดีก็อาจใช้งานได้ไปตลอดชีวิต

ข้อเสียของวีเนียร์เซรามิกคือ หากเกิดความเสียหายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำใหม่ และมีราคาสูงเมื่อเทียบกับวีเนียร์คอมโพสิต

2. วีเนียร์คอมโพสิต

วีเนียร์คอมโพสิต (Composite veneers) เป็นวีเนียร์ที่ทำจากเรซิน มีความแวววาวและความแข็งแรงไม่เท่ากับวีเนียร์เซรามิก โดยมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี หรือขึ้นกับการดูแล และมีโอกาสที่จะติดคราบต่างๆ ได้ง่ายกว่า

ข้อดีของวีเนียร์คอมโพสิตคือ หากเกิดความเสียหายสามารถกลับมาซ่อมแซมได้ ไม่ต้องผลิตชิ้นงานใหม่ และวีเนียร์คอมโพสิตมีราคาถูกกว่าวีเนียร์เซรามิก

วีเนียร์กับครอบฟันต่างกันอย่างไร?

การทำวีเนียร์นิยมใช้เพื่อแก้ไขปัญหาฟันเพียงเล็กน้อย เช่น ฟันตกกระ ฟันร้าวหรือบิ่นเล็กน้อย ฟันผุจนสังเกตเห็นเป็นสีดำด้านใน ฟันคด ฟันห่างเล็กน้อย ฟันมีขนาดไม่เสมอกัน โดยการทำวีเนียร์เป็นการแปะฟันทับไปบนซี่ฟันเดิม

ขณะที่ การครอบฟันนิยมใช้ในผู้ที่เสียเนื้อฟันไปมาก โดยจะสวมครอบหรือคลุมฟันที่เสียหายนั้นลงไป มีจุดประสงค์เพื่อเสริมความแข็งแรงและช่วยให้ฟันกลับมามีสภาพดูเป็นปกติ นิยมใช้แก้ปัญหา เช่น ฟันผุลึก ฟันแตกหัก ฟันมีรอยร้าว โดยทันตแพทย์จะกรอฟันที่เสียหายให้มีขนาดเล็ก แล้วสวมที่ครอบฟันลงไป

ใครเหมาะกับการทำวีเนียร์?

การทำวีเนียร์หรือการแปะฟันขาววีเนียร์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมความสวยงามให้กับฟันหน้า จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสวยงามหรือรูปร่างของฟันหน้า เช่น

  • ฟันหน้าแตก หัก บิ่น จนเกิดเป็นรูช่องว่างที่ทำให้เสียความมั่นใจเวลายิ้ม
  • ฟันมีสีเหลืองเข้ม หรือดูหมองคล้ำมาก
  • ฟันมีขนาดไม่เท่ากัน และอยากเติมพื้นที่ขนาดฟันให้ดูเท่ากันอย่างสวยงามพอดี
  • ผู้ที่ฟันอาจไม่ได้คล้ำหรือเหลืองมาก แต่ยังอยากเพิ่มความสมบูรณ์แบบให้กับลักษณะและสีของฟันหน้า
  • ผู้ที่เคยผ่านการฟอกสีฟัน แต่ยังไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์ของสีฟันที่เปลี่ยนไป หรือไม่อยากกลับมาฟอกสีฟันซ้ำบ่อยๆ อีก

เคยครอบฟัน อุดฟัน จัดฟันมาก่อน ทำวีเนียร์ได้หรือไม่?

สามารถทำได้ หากผู้เข้ารับบริการเคยมีประวัติการทำทันตกรรมเพื่อบูรณะซ่อมแซมฟันมาก่อน ให้ปรึกษาทันตแพทย์และแจ้งประวัติการรักษาเกี่ยวกับฟันทุกซี่ให้ทันตแพทย์ทราบอย่างละเอียด

จากนั้นทันตแพทย์จะพิจารณาดูตำแหน่งของฟันที่เคยผ่านการรักษามาก่อน และมีอุปกรณ์บูรณะฟันติดตั้งอยู่ หากฟันซี่นั้นอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นได้เวลาผู้เข้ารับบริการยิ้ม ก็อาจจำเป็นต้องถอดอุปกรณ์ครอบฟันหรืออุดฟันออกเสียก่อน แล้วจึงจะสามารถแปะแผ่นวีเนียร์ลงไปได้

ในส่วนของการจัดฟัน กรณีที่ผู้เข้ารับบริการยังใส่รีเทนเนอร์อยู่ ก็สามารถทำวีเนียร์ได้ แต่จำเป็นต้องผลิตรีเทนเนอร์ชิ้นใหม่ขึ้นมาแทนชิ้นเก่าที่เคยใส่ก่อนทำวีเนียร์

เนื่องจากเมื่อใส่วีเนียร์ลงไปแล้ว ขนาดของฟันจะเปลี่ยนแปลงไป การใส่รีเทนเนอร์ชิ้นเก่าจะไม่สามารถคงสภาพฟันหลังจัดเสร็จแล้วให้คงอยู่ที่เดิมได้ และอาจทำให้มีปัญหาฟันล้มตามมาภายหลัง

วีเนียร์ต้องทำกี่ซี่ถึงจะดี?

ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแนะนำเกี่ยวกับจำนวนชิ้นวีเนียร์ รวมถึงแถวฟันส่วนที่ควรติดวีเนียร์ แปะฟันขาววีเนียร์ โดยจะพิจารณาจากทั้งฟิล์มเอกซเรย์ฟัน ลักษณะรอยยิ้มของผู้เข้ารับบริการ จำนวนซี่ฟันที่อยู่ในช่องปาก รวมถึงรูปร่างและสีของฟันเดิม

ผู้เข้ารับบริการที่ฟันไม่เหลืองหรือคล้ำมาก ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทำวีเนียร์แค่ที่ฟันหน้าซี่บนประมาณ 8 ซี่ ส่วนฟันหน้าซี่ล่างอาจใช้วิธีฟอกสีฟันเสริมความขาวของฟันเข้าไป

แต่หากผู้เข้ารับบริการมีฟันเหลืองมากแทบทุกซี่ ก็อาจต้องทำวีเนียร์ที่แถวฟันทั้งบนและล่าง

การเลือกสีของวีเนียร์

เฉดสีวีเนียร์จะแบ่งออกได้หลายเฉดสีตั้งแต่สีที่ยังมีความเหลืองเป็นธรรมชาติไปจนถึงสีที่มีความขาวสว่าง

โดยส่วนใหญ่ การทำฟันขาวแบบนางงาม ทำวีเนียร์แบบนางงาม นักร้อง นักแสดง หรือผู้ที่ต้องใช้รอยยิ้มประกอบอาชีพมักเลือกวีเนียร์เฉดสีเบอร์ 0 หรือเบอร์ 1 ซึ่งเป็นเฉดสีเบอร์ที่ขาวสว่างชัดเจน ช่วยเสริมสร้างรอยยิ้มให้ดูสะอาดตา ปรับบุคลิกให้ดูดียิ่งขึ้น

วีเนียร์ แปะฟันขาวที่ TDH

อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเฉดสีวีเนียร์ที่เหมาะกับผู้เข้ารับบริการด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจัยการเลือกสีวีเนียร์จะไม่ใช่การเลือกสีจากโมเดลตัวอย่างเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องคำนึงถึงสีของเนื้อฟันเดิมก่อนแปะชิ้นวีเนียร์ด้วย

หากผู้เข้ารับบริการมีสีฟันที่เหลืองหรือคล้ำมาก ก็มีโอกาสที่ชิ้นวีเนียร์ที่แปะเข้าไปจะมีสีที่ผสมกับสีฟันเดิม เนื่องจากชิ้นวีเนียร์เป็นเซรามิกที่ไม่ได้มีความทึบ 100% แต่ยังมีความใสประกอบอยู่คล้ายกับการใส่คอนแทคเลนส์ ที่สีของคอนแทคจะผสมไปกับสีดวงตาธรรมชาติของผู้ใส่

โดยสีของชิ้นวีเนียร์ที่ติดลงไปบนผิวฟันจะไม่มีวันเปลี่ยนไป ผู้เข้ารับบริการสามารถกินอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีสีได้อย่างอิสระ

เพราะคราบสีอาหารหรือเครื่องดื่มที่ติดบนชิ้นวีเนียร์จะไม่ติดแน่นเหมือนกับคราบบนฟันธรรมชาติ เพียงแปรงฟันและมาขูดหินปูนกับทันตแพทย์เป็นประจำ คราบบนชิ้นวีเนียร์ก็จะหลุดออกกลายเป็นสีวีเนียร์เดิมที่ออกแบบร่วมกับทันตแพทย์ และจะไม่มีวันเปลี่ยนไปแม้ผ่านไปเป็น 10 ปีแล้วก็ตาม

ข้อควรรู้ก่อนทำวีเนียร์

ปัจจุบันมีการทำวีเนียร์ปลอม หรือที่เรียกว่า แปะฟันขาวราคาถูก มักถูกดึงดูดด้วยโฆษณาชวนเชื่อโดยอ้างว่าเป็นการแปะฟันขาวแบบเดียวกับนางงาม แปะฟันขาวแบบเดียวกับดารา ซึ่งอาจไม่ได้ทำโดยทันตแพทย์ และเกิดผลเสียต่อช่องปากตามมา เช่น ฟันผุ ฟันแตก หรืออาจสูญเสียฟันซี่นั้นไปเลย

ถึงแม้ว่าการทำวีเนียร์จะช่วยแก้ไขปัญหาฟันได้หลายรูปแบบ แต่บางสภาพฟันหรือบางปัญหาอาจเหมาะกับวิธีการรักษาแบบอื่น จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดก่อนตัดสินใจ

ขั้นตอนการทำวีเนียร์

กระบวนการทำวีเนียร์ ที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการติดชิ้นวีเนียร์ลงไปที่ฟัน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ผู้เข้ารับบริการเดินทางมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจฟัน เอกซเรย์ฟัน สแกนช่องปาก พร้อมแจ้งประวัติสุขภาพฟัน การรักษาและบูรณะฟันทุกซี่ในอดีตให้ทันตแพทย์ทราบ
  • ทันตแพทย์แนะนำเกี่ยวกับเฉดสีและจำนวนชิ้นวีเนียร์ที่ควรทำ
  • พิมพ์ฟันเพื่อนำส่งไปผลิตชิ้นวีเนียร์ในห้องปฏิบัติการ
  • ทันตแพทย์กรอผิวฟันออกเล็กน้อย เพื่อเตรียมผิวฟันให้พร้อมต่อการแปะชิ้นวีเนียร์ หากมีวัสดุบูรณะฟันติดอยู่บนฟันที่จะติดวีเนียร์ ทันตแพทย์จะนำออกไปด้วย
  • ทันตแพทย์ใส่วีเนียร์ชั่วคราวไว้ที่ผิวฟัน เพื่อเป็นเกาะป้องกันผิวฟันในระหว่างรอชิ้นวีเนียร์ของจริง
  • ระยะเวลาผลิตวีเนียร์จะใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน เมื่อชิ้นวีเนียร์ผลิตเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะแจ้งผู้เข้ารับบริการและนัดหมายให้กลับมาใส่ชิ้นวีเนียร์ของจริงอีกครั้ง

การดูแลฟันหลังทำวีเนียร์

หลังจากทำวีเนียร์ฟันแล้ว ผู้รับบริการงดการเคี้ยวอาหารแข็งในช่วงแรก และหากมีอาการบวมให้บ้วนปากเบาๆ และกินยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์ หรือหากมีอาการเสียวฟันในช่วงแรก อาการนั้นจะค่อยๆ ทุเลาลง นอกจากนี้การดูแลตัวเองหลังทำวีเนียร์มีดังนี้

  • ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกของฟันซี่ที่ได้ทำ เพื่อป้องกันปัญหาโรคเหงือกและลดปัญหากลิ่นปาก
  • ควรใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน
  • ควรบ้วนปากด้วยน้ำยาที่ผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
  • ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณฟันที่ได้รับการเคลือบ
  • พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน หรือพบทันตแพทย์เมื่อพบปัญหาที่เกี่ยวกับช่องปาก

ทำวีเนียร์ที่ไหนดี?

หากใครที่กำลังมองหาที่ทำวีเนียร์ ยังไม่รู้จะทำวีเนียร์ที่ไหนดี HDmall.co.th ขอแนะนำ Thonglor Dental Hospital (TDH) คลินิกทันตกรรมที่ดารามาใช้บริการมากที่สุด โดยสามารถดูรีวิวก่อนและหลังทำวีเนียร์ได้ที่นี่

รีวิววีเนียร์ แปะฟันขาวที่ TDHรีวิววีเนียร์ แปะฟันขาวที่ TDHรีวิววีเนียร์ แปะฟันขาวที่ TDH

มั่นใจได้เลยว่า Thonglor Dental Hospital (TDH) จะสร้างรอยยิ้มสวยงามให้กับผู้รับบริการทำวีเนียร์ แปะฟันขาววีเนียร์ได้เป็นอย่างดี ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัยในการให้บริการอย่างเหนือระดับ ไม่ว่าจะเป็น ห้อง Digital Data Studio ห้องสตูดิโอสำหรับถ่ายภาพ ตรวจสแกน และเอกซเรย์ช่องปากของผู้เข้ารับบริการอย่างละเอียด

รีวิววีเนียร์ แปะฟันขาวที่ TDH

เครื่อง Morpheus 3 Dimension Scanner เครื่องถ่ายสแกนใบหน้าผู้เข้ารับบริการในระบบ 3D หรือเครื่อง 3 Shape Intraoral Scan สำหรับการสแกนฟันและพิมพ์ฟันเพื่อให้ได้ภาพแบบ 3 มิติ รวมถึง iTero ที่ใช้ในการพิมพ์ฟันเพื่อจัดฟันใส Invisalign

นอกจากนี้ยังมีระบบการรักษาความสะอาดและฆ่าเชื้อภายใน Thonglor Dental Hospital (TDH) ที่รัดกุมและเต็มไปด้วยเทคโนโลยีสำหรับฆ่าเชื้อ เพื่อรักษาความสะอาดภายในพื้นที่ให้บริการได้อย่างหมดจด

ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) พร้อมให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับทุกปัญหาฟัน ไม่ใช่แค่การทำวีเนียร์เพียงอย่างเดียว เพราะที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) ให้บริการทันตกรรมครอบคลุมทุกสาขาโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นทันตกรรมบดเคี้ยว ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมบูรณะ หรือการจัดฟันแบบใส

Thonglor Dental Hospital (TDH) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยทันตแพทย์จะคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นอันดับแรก เพราะหากทำวีเนียร์ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากตามมา

มาปรับความสวยงามของรอยยิ้มให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นผ่านการทำวีเนียร์ที่ TDH เลือกดูรายละเอียด ราคาทำวีเนียร์ที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) ผ่าน HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางไลน์ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat