การผ่าตัดผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากกับ นายแพทย์ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล ด้วยบริการจาก HDcare


HDcare สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลทำให้ต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติจนทำงานบกพร่องได้ ปัจจัยแรก คือ พันธุกรรมแต่กำเนิด ปัจจัยที่สอง คือ ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
  • โรคหรือความผิดปกติของต่อมไทรอยด์สามารถ ออกได้ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis หรือ Hyperthyroidism) โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) และโรคเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules)
  • การรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ในระยะแรกมักจะเป็นการใช้ยาก่อน ยกเว้นแต่การตรวจพบก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดนำออกเท่านั้น โดยเฉพาะหากตรวจพบว่าเป็นก้อนเนื้อแบบที่เป็นเชื้อมะเร็ง
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ ผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งจะเป็นการเปิดแผลที่กึ่งกลางลำคอ กับการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งจะซ่อนแผลอยู่ในปากของผู้เข้ารับบริการ
  • ผู้ป่วยสามารถพิจารณาไม่ใช้วิธีผ่าตัดได้ ในกรณีที่รักษาต่อมไทรอยด์ด้วยวิธีอื่นแล้วได้ผลเท่านั้น เช่น วิธีกินยาหรือวิธีกลืนแร่ แต่หากรักษาแล้วไม่ได้ผล ก็ควรเลือกใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อจบปัญหาโรคอย่างเด็ดขาดและเห็นผล
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มี่ประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา

เคยสังเกตลำคอของตนเองว่ามีขนาดโตขึ้นบ้างหรือไม่ หรือว่ามีก้อนนูนขึ้นมาอย่างผิดสังเกต หากไม่เคย…ลองส่องกระจกมองดูลักษณะลำคอของตัวเองกันดูสักครั้ง หากพบว่ามีลำคอที่ดูใหญ่ผิดไปจากเดิม หรือมีก้อนปูดนูน อย่ารอช้าที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอย่างละเอียด เพราะนั่นเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

แล้วหากเราตรวจพบความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์จริงๆ จะมีวิธีรักษาได้อย่างไร หากจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัด จะรู้ได้อย่างไรว่าควรผ่าแบบไหน กระบวนการมีความยุ่งยากซับซ้อนเพียงใด แนะนำให้ทักเข้ามาปรึกษากับ HDcare ที่ไลน์ @HDcare เพื่อประสานนัดหมายทีมแพทย์ให้คำแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้

หมอแมค หรือ นายแพทย์ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล กับประสบการณ์ผ่าตัดไทรอยด์ พาราไทรอยด์ มาแล้วกว่า 2,000 เคสรวมถึงผ่าตัดคุณแม่และภรรยาเองด้วยตัวเองได้ที่นี่ [อีกมุมของ “หมอแมค” กับการผ่าไทรอยด์ให้แม่และภรรยา]

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่


ต่อมไทรอยด์คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร?

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณกึ่งกลางลำคอของเรา มีลักษณะเป็นปีกผีเสื้อ 2 ข้าง

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่หลักในการผลิตสารฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบเมตาบอลิซึมของร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ทุกส่วนของร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

  • ควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย ทำให้น้ำหนักตัวไม่ลดหรือเพิ่มอย่างผิดปกติ
  • ควบคุมการทำงานของมัดกล้ามเนื้อ
  • รักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมของร่างกาย
  • คอยปรับความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และระบบไหลเวียนเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดี

ความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์เกิดจากสาเหตุอะไร?

มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลทำให้ต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติจนทำงานบกพร่องได้ดังนี้

  1. พันธุกรรมแต่กำเนิด โดยผู้ป่วยโรคไทรอยด์อาจมียีนที่ส่งต่อมาจากคนในครอบครัว ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ได้มากกว่าคนทั่วไป
  2. ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง ทำให้ระบบภูมิต้านทานร่างกายเกิดการต่อต้านสารฮอร์โมนไทรอยด์ที่ผลิตออกมาจากต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติตามมา

นายแพทย์ธัญวัจน์ให้ข้อมูลว่า หลายคนเข้าใจผิดว่าการกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการมีส่วนทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งไม่เป็นความจริง

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

โรคไทรอยด์ผิดปกติมีกี่ประเภท สังเกตเองในเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง?

นายแพทย์ธัญวัจน์ได้จำแนกโรคหรือความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ออกได้ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis หรือ Hyperthyroidism) มีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์ได้ผลิตสารฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินความต้องการของร่างกาย อาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ คือ รู้สึกขี้ร้อนขึ้น เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ใจสั่น มือสั่น ตาโปน น้ำหนักลดทั้งๆ ที่กินอาหารตามปกติ
  • โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) มีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยจนไม่เพียงพอต่อร่างกาย อาการที่สามารถสังเกตเห็นได้จากโรคนี้ คือ น้ำหนักขึ้นหรืออ้วนขึ้นง่ายผิดปกติ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิวแห้ง
  • โรคเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules) มีสาเหตุมาจากการเกิดก้อนเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจเป็นก้อนเนื้องอกธรรมดาที่ไม่เป็นอันตราย หรือเนื้องอกที่เป็นเชื้อมะเร็งซึ่งต้องกำจัดออกโดยเร็ว สังเกตได้จากลำคอที่จะมีก้อนนูนหรือปูดออกมา อาจมีขนาดเล็กมากหรือใหญ่จนเห็นได้ชัด เมื่อขยับคอหรือกลืนน้ำลาย ก็จะเห็นว่าก้อนดังกล่าวเลื่อนขึ้นไปด้านบน ส่วนอาการแสดงทางร่างกายนั้นอาจไม่มีเลย

เสี่ยงมีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ ควรทำยังไง?

หลังจากสังเกตอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นหรือดูลักษณะลำคอของตนเองแล้วพบว่า มีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ ในลำดับถัดมาให้เดินทางไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจดูการทำงานของต่อมไทรอยด์เพิ่มเติม

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์นั้นแบ่งออกได้หลายวิธี โดยมีทั้งการตรวจดูด้วยสายตา การเจาะเลือด การตรวจอัลตราซาวด์ดูลักษณะต่อมไทรอยด์

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและระดับอาการที่แพทย์จะประเมินเป็นรายบุคคลต่อไป ส่วนผลตรวจนั้นจะสามารถฟังผลกับแพทย์ได้ภายในวันเดียวกับที่ทำการตรวจ

หากผู้เข้ารับบริการเคยไปตรวจต่อมไทรอยด์ที่สถานพยาบาลที่อื่นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเจาะเลือด ตรวจอัลตราซาวด์ หรือเคยผ่านการรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มาก่อนจากที่อื่น

สามารถนำผลตรวจหรือเอกสารประกอบการรักษามาให้แพทย์คนปัจจุบันตรวจดูเพิ่มเติมได้ นั่นจะยิ่งช่วยให้การตรวจวินิจฉัยแม่นยำขึ้นอีก และทำให้แพทย์ได้วางแผนการรักษาได้เหมาะสมมากขึ้นด้วย

วิธีรักษาต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

หากแพทย์ตรวจพบว่าต่อมไทรอยด์ของผู้เข้ารับบริการผิดปกต และควรรับการรักษา แนวทางการรักษาจะแบ่งออกได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค ได้แก่

  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ ในช่วง 2 ปีแรก แพทย์มักจะให้ผู้เข้ารับบริการรักษาด้วยการกินยาลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ก่อน ร่วมกับกินยาป้องกันการใจสั่น หากผู้เข้ารับบริการมีอาการหัวใจเต้นเร็ว แต่หาก 2 ปีผ่านไปแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น การใช้ยาไม่สามารถลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ได้ แพทย์ก็อาจพิจารณาเปลี่ยนวิธีรักษาเป็นการกลืนแร่ หรือใช้วิธีผ่าตัดแทน
  • โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ จะใช้วิธีรักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลักเช่นกัน ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ดูการเปลี่ยนแปลงของต่อมไทรอยด์อยู่เรื่อยๆ และเพื่อตรวจเชิงรุกว่าต่อมไทรอยด์มีโอกาสเกิดก้อนมะเร็งหรือไม่
  • โรคเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ หากตรวจพบว่า เนื้องอกที่เกิดขึ้นเป็นก้อนมะเร็ง หนทางรักษามีอยู่วิธีเดียวนั่นคือ ผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกเท่านั้น ก่อนที่เชื้อมะเร็งจะลุกลามจากต่อมไทรอยด์ไปสู่อวัยวะข้างเคียง หรือในกรณีที่ตรวจพบว่าก้อนเนื้อไม่ใช่เชื้อมะเร็ง แต่มีขนาดใหญ่จนไปกดทับหลอดลมหรือหลอดอาหาร ทำให้หายใจหรือกลืนอาหารไม่ได้ แพทย์ก็จะพิจารณาให้ทำการผ่าตัดนำก้อนเนื้องอกออกเช่นกัน

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีกี่รูปแบบ?

หากแพทย์พิจารณาวิธีรักษาเป็นการผ่าตัดแล้ว แนวทางการผ่าตัดต่อมไทรอยด์จะแบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด โดยแพทย์จะลงมีดผ่าตัดเพื่อเปิดแผลบริเวณกึ่งกลางลำคอของผู้เข้ารับบริการ จากนั้นผ่าตัดนำต่อมไทรอยด์หรือก้อนชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งต่อมไทรอยด์ออก แล้วเย็บปิดแผล มีจุดเด่นคือ การผ่าตัดไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นวิธีผ่าที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่ก็มีจุดด้อยคือ ผู้เข้ารับบริการจะมีแผลเป็นจากการผ่าตัดตรงกึ่งกลางลำคอ
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบส่องกล้อง เป็นวิธีผ่าตัดแบบใหม่ โดยแพทย์จะผ่าตัดเปิดแผลด้านในช่องปากของผู้เข้ารับบริการแทน แล้วทำการผ่าตัดจากปากแผลตรงนั้น มีจุดเด่นคือ ทำให้ไม่มีแผลผ่าตัดที่บริเวณลำคอเหมือนกับการผ่าตัดแบบเปิด แต่มีจุดด้อยตรงที่กระบวนการผ่าตัดซึ่งจะซับซ้อนกว่า

รักษาไทรอยด์โดยไม่ผ่าตัดได้ไหม?

ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์สามารถพิจารณาไม่ใช้วิธีผ่าตัดได้ ในกรณีที่สามารถรักษาต่อมไทรอยด์ด้วยวิธีอื่นแล้วได้ผลเท่านั้น เช่น วิธีกินยาหรือวิธีกลืนแร่

แต่หากรักษาด้วยวิธีเหล่านี้แล้วไม่ได้ผล ก็ควรเลือกใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อจบปัญหาโรคอย่างเด็ดขาดและเห็นผลจึงจะดีที่สุด มิฉะนั้นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์อาจลุกลามรุนแรงจนเกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้

ความเสี่ยงในการผ่าตัดไทรอยด์?

นายแพทย์ธัญวัจน์ได้กล่าวว่า ความเสี่ยงในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์นั้นมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

  • การระมัดระวังเส้นประสาทเสียง เป็นความเสี่ยงที่ผู้เข้ารับบริการหลายท่านเป็นกังวล เนื่องจากต่อมไทรอยด์นั้นอยู่ติดกับเส้นประสาทเสียง ซึ่งหากผ่าตัดไม่ระมัดระวังมากพอ ก็อาจไปกระทบกระเทือนทำให้เสียงของผู้เข้ารับบริการแหบขึ้นหลังการผ่าตัดได้
  • ทำให้ต่อมไทรอยด์ยังคงทำงานได้เหมือนเดิม ในกรณีที่ไม่ต้องผ่าตัดนำต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด ซึ่งจะต้องอาศัยความชำนาญและระมัดระวังสูงมาก
  • การเสียเลืยด ซึ่งหากทำให้ผู้เข้ารับบริการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดมากเกินไป ก็มีความเสี่ยงทำให้เสียชีวิตในระหว่างหรือหลังการผ่าตัดได้

ก่อนผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

นายแพทย์ธัญวัจน์แนะนำว่า การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์นั้นไม่ได้แตกต่างไปจากการผ่าตัดแบบอื่นนัก หลักๆ ก็คือ การเตรียมสุขภาพให้พร้อม การงดยา วิตามิน หรือสมุนไพรที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดก่อนการผ่าตัด

แต่จะมีเพิ่มมาอีก 1 ขั้นตอนนั่นคือ ผู้เข้ารับบริการจะต้องปรับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเสียก่อน มิฉะนั้นหากฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป ก็อาจทำให้มีปัญหาในการดมยาสลบก่อนผ่าตัด และเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ใช้เวลานานหรือไม่?

ระยะเวลาการผ่าตัดต่อมไทรอยด์จะขึ้นอยู่กับวิธีผ่าตัด ร่วมกับจำนวนต่อมไทรอยด์ที่ต้องรักษาดังนี้

  • วิธีผ่าตัดแบบเปิด หากผ่าตัดต่อมไทรอยด์ข้างเดียว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หากผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
  • วิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง หากผ่าตัดต่อมไทรอยด์ข้างเดียว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง หากผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง

หลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

วิธีการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัด หากเป็นการผ่าตัดแบบเปิด ผู้เข้ารับบริการต้องระมัดระวังอย่าให้แผลอักเสบ อย่าให้แผลโดนน้ำ แต่ยังสามารถอาบน้ำได้ เพียงแต่ให้ระมัดระวังในตำแหน่งของแผลที่คออย่าให้เปียกชื้นเท่านั้น และงดการยกของหนักชั่วคราว

แต่หากใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งแผลจะอยู่ด้านในช่องปากอยู่แล้ว การดูแลตนเองหลังผ่าตัดจะง่ายกว่า โดยผู้เข้ารับบริการสามารถอาบน้ำได้เลย ไม่ต้องกลัวแผลโดนน้ำ แต่ต้องหมั่นนวดบริหารคอบ่อยๆ เพื่อไม่ให้แผลเกิดพังผืด

ส่วนระยะเวลาในการหยุดงานเพื่อพักฟื้นนั้น นายแพทย์ธัญวัจน์แนะนำว่า หากเป็นงานในลักษณะนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานอยู่กับจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป แค่พักฟื้นประมาณ 2-3 วันก็สามารถกลับไปทำงานได้เลย

แต่หากเป็นงานส่วนที่ต้องยกของหนัก มีการออกแรงมากๆ ควรหยุดพักงานลักษณะนี้ไว้ชั่วคราว และทำงานในลักษณะที่ไม่ออกแรงมากไปก่อน

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์กับนายแพทย์ธัญวัจน์ ด้วยบริการจาก HDCare

บริการ HDcare เป็นบริการแพ็กเกจผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ร่วมกับมีพยาบาลที่ปรึกษาจะช่วยคอยประสานงาน ตอบคำถาม ดูแลให้ทุกขั้นตอนการรักษาตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังการผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่นตามแผนการรักษา

หากคุณเป็นผู้ที่จำเป็นต้องรักษาโรคด้วยการผ่าตัด แต่ยังต้องการความสะดวกสบาย อยากได้ผู้ที่มีความชำนาญด้านการแพทย์มาคอยอยู่เคียงข้าง คอยช่วยตอบคำถาม ประสานงานพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลคล้ายกับเป็นผู้ช่วยส่วนตัว รวมถึงต้องการประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่องผ่าตัดให้มากที่สุด

บริการจาก HDcare ยังช่วยให้คุณปรึกษากับแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถสอบถามข้อสงสัยในการผ่าตัดกับแพทย์ได้โดยตรง

เมื่อแพทย์วินิจฉัยและประเมินแล้วว่า อาการของโรคที่เกิดขึ้นควรจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจึงจะเหมาะสมที่สุด พยาบาลที่ปรึกษาจะนัดหมายวันผ่าตัด และแนะนำขั้นตอนเตรียมตัวการผ่าตัดที่ถูกต้องให้เป็นอย่างดี

หากคุณเป็นเคสผู้ป่วยฉุกเฉินที่ควรได้รับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด บริการ HDcare จะจัดหาวันผ่าตัดที่เร็วที่สุดให้กับคุณ และจะมีการประสานงานกับทางโรงพยาบาลที่คุณเลือกไปผ่าตัดให้อย่างเสร็จสรรพเช่นกัน

นายแพทย์ธัญวัจน์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่มีประสบการณ์ผ่าตัดมามากกว่า 10 ปี เคยผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มาแล้วกว่า 2,000 เคส และยังมีประสบการณ์ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ให้ผู้ใกล้ชิดอย่างคุณแม่และภรรยามาแล้ว

นอกจากนี้นายแพทย์ธัญวัจน์ยังเป็นเจ้าของเพจ “ผ่าตัดไทรอยด์” ซึ่งเป็นเพจให้ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับการฟื้นฟูรักษาต่อมไทรอยด์ให้กับผู้ที่สนใจ ทำให้เราทุกคนสามารถดูแลบำรุงต่อมไทรอยด์ให้ทำงานตามปกติได้อย่างยาวนานขึ้นอีกด้วย

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

สอบถามรายละเอียดแพ็กเกจผ่าตัดไทรอยด์กับนายแพทย์ธัญวัจน์ ด้วยบริการ HDcare ผ่านทางไลน์ @HDcare

หรือหากสนใจแพ็กเกจการตรวจหรือรักษาต่อมไทรอยด์แบบอื่นๆ ด้วยราคาโปรโมชั่น สามารถเข้าไปสำรวจแพ็กเกจได้ที่หน้าเว็บไซต์ HDmall.co.th สามารถสอบถามข้อมูลได้ผ่านทางไลน์ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat