HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย รวมถึงกระตุ้นระบบเผาผลาญ และเสริมสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ
- ภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์ หรือที่เรียกได้อีกชื่อว่า “ภาวะไทรอยด์แฝง แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และ ภาวะไทรอยด์ต่ำ
- ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในปริมาณเกินความต้องการของร่างกาย
- ภาวะไทรอยด์ต่ำ เป็นภาวะที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป จนทำให้ร่างกายมีสารฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ขึ้นมา
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก Bangkok Anti-Aging Center แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight
- ดูรายละเอียดโปรแกรม ราคาตรวจฮอร์โมน 14 รายการ สำหรับผู้ชาย ที่ BAAC
- ดูรายละเอียดโปรแกรม ราคาตรวจฮอร์โมน 14 รายการ สำหรับผู้หญิง ที่ BAAC
- ดูโปรแกรมทั้งหมดจาก BAAC บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
จู่ๆ น้ำหนักก็ขึ้นอย่างไม่มีที่มา อ่อนเพลียง่าย ท้องเสียหรือท้องผูกบ่อย ผิวแห้ง ผมร่วง รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากไม่รีบรักษา ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานไม่สมดุลก็สามารถก่อโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาได้อีกมากมาย
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- ต่อมไทรอยด์คืออะไร มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
- ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มีอะไรบ้าง?
- ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
- ภาวะไทรอยด์ต่ำ
- ภาวะไทรอยด์แฝงเกิดจากอะไร?
- ใครเสี่ยงเกิดภาวะไทรอยด์แฝงบ้าง?
- รู้หรือไม่? ภาวะไทรอยด์แฝงอาจไม่มีอาการแสดงออกมาก็ได้
- ตรวจไทรอยด์ ตรวจอย่างไร?
- เป็นภาวะไทรอยด์แฝงแล้วไม่รีบรักษา อันตรายอย่างไร?
- วิธีป้องกันภาวะไทรอยด์แฝง
- รับบริการตรวจสุขภาพ ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ที่ BAAC
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
HDmall.co.th ร่วมกับ Bangkok Anti-Aging Center (BAAC) โดยนายแพทย์ณัฐพล สุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ พร้อมสรุปข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ให้กับคุณ ทั้งความแตกต่างของไทรอยด์เป็นพิษ และภาวะไทรอยด์ต่ำ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไทรอยด์แฝง
ต่อมไทรอยด์คืออะไร มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) คือ ต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย รวมถึงกระตุ้นระบบเผาผลาญ และเสริมสร้างฮอร์โมนที่สำคัญตัวอื่นๆ ให้มีการผลิตเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มีอะไรบ้าง?
ภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์ หรือที่เรียกได้อีกชื่อว่า “ภาวะไทรอยด์แฝง (Subclinical Hypothyroidism)” สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่
1. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) หรือที่หลายคนคุ้นหูกันในอีกชื่อว่า “ไทรอยด์ผอม” เป็นภาวะที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในปริมาณเกินความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติบางอย่างแสดงออกมา โดยที่สามารถสังเกตได้บ่อยๆ ได้แก่
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- นอนไม่หลับ
- กินจุขึ้นกว่าเดิม แต่น้ำหนักตัวกลับลดลงอย่างหาสาเหตุไม่ได้
- ท้องเสีย
2. ภาวะไทรอยด์ต่ำ
ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) มีอีกชื่อเรียกว่า “ไทรอยด์อ้วน” เป็นภาวะที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป จนทำให้ร่างกายมีสารฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ขึ้นมาซึ่งจะอยู่ในทางตรงกันข้ามกับอาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น
- เฉื่อยชา ไม่กระปรี้กระเปร่า
- รูปร่างอ้วนขึ้น หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างหาสาเหตุไม่ได้
- ผมร่วง ผิวแห้ง
- ท้องผูก
ภาวะไทรอยด์แฝงเกิดจากอะไร?
สาเหตุของการเกิดภาวะไทรอยด์แฝงนั้นไม่สามารถแจกแจงเป็นนามธรรมชัดเจนได้ แต่โดยส่วนมากผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกาย รวมถึงผู้ที่มีภาวะความเครียดสะสม
เพราะความเครียดซึ่งเป็นปัญหาด้านจิตใจที่หลายคนมองข้ามสามารถเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อต่อมไทรอยด์ได้ ทำให้ไทรอยด์ทำงานหนักเกินไปหรือน้อยเกินไปจนเกิดภาวะไทรอยด์แฝงขึ้นมา
ใครเสี่ยงเกิดภาวะไทรอยด์แฝงบ้าง?
ภาวะไทรอยด์แฝงสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปมากกว่า เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่ฮอร์โมนเพศเริ่มลดลง และไปสร้างผลกระทบต่อฮอร์โมนไทรอยด์ให้ลดปริมาณต่ำลงไปด้วย
รู้หรือไม่? ภาวะไทรอยด์แฝงอาจไม่มีอาการแสดงออกมาก็ได้
อีกความน่ากลัวของภาวะไทรอยด์แฝงก็คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการผิดปกติแสดงออกมาเสมอไป หลายคนตรวจพบก้อนเนื้อ ถุงน้ำ ซีสต์ หรือก้อนเลือดสะสมที่ต่อมไทรอยด์ แต่ก่อนหน้าที่จะมารับการตรวจกลับไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แสดงออกมาเลย
นั่นก็เพราะในบางครั้ง ต่อมไทรอยด์สามารถเกิดความผิดปกติได้ แต่ไม่ได้ไปกระทบในส่วนของการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หลายคนไม่เคยรู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ จนกระทั่งเดินทางมาตรวจสุขภาพกับแพทย์ หรือลักษณะทางกายภาพของต่อมไทรอยด์เริ่มเปลี่ยนแปลงจนมองเห็นได้จากสายตา เช่น เห็นก้อนเนื้อนูนออกมาจากคอ หรือลำคอดูโตขึ้นอย่างผิดสังเกต
นี่จึงเป็นสาเหตุที่แพทย์มักเน้นย้ำให้เราทุกคนรับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องและอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้มีการตรวจเช็กประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์ด้วย หากเกิดความผิดปกติหรือความเสี่ยงใดๆ ก็จะได้รีบฟื้นฟูรักษาต่อมไทรอยด์ให้กลับมาทำงานตามปกติโดยเร็ว
ตรวจไทรอยด์ ตรวจอย่างไร?
การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์เป็นการตรวจเลือด ซึ่งมักจะเป็นหนึ่งในรายการตรวจสุขภาพพื้นฐานอยู่แล้ว หรือสามารถขอรับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์แยกต่างหากก็ได้
ส่วนการตรวจลักษณะทางกายภาพของต่อมไทรอยด์จะเป็นการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพลักษณะของต่อมไทรอยด์ได้อย่างชัดเจน
หรือในอีกกรณี หากผู้เข้ารับบริการตรวจพบก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์อยู่แล้ว แพทย์ก็อาจแนะนำให้รับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อเช็กว่า ก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอย์เป็นก้อนเนื้อดีหรือเนื้อร้ายที่จำเป็นต้องกำจัดออกโดยเร็ว
เป็นภาวะไทรอยด์แฝงแล้วไม่รีบรักษา อันตรายอย่างไร?
การประวิงเวลาไม่รักษาภาวะไทรอยด์แฝงสามารถนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาในภายหลังได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือด
นอกจากนี้การไม่รักษาภาวะเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ยังรังแต่จะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เนื่องจากผู้ป่วยมักต้องเผชิญกับอาการนอนไม่หลับ เซื่องซึม ไม่สดชื่น น้ำหนักตัวหรือรูปร่างเปลี่ยนไป จนอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการเข้าสังคม
วิธีป้องกันภาวะไทรอยด์แฝง
ภาวะไทรอยด์แฝงสามารถป้องกันได้ไม่ยาก เพียงดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรับแต่สิ่งดีๆ เข้าร่างกาย เพียงเท่านี้ก็สามารถลดโอกาสเกิดภาวะไทรอยด์แฝงได้แล้ว เช่น
- กินอาหารที่มีประโยชน์
- เลี่ยงการกินอาหารขยะ อาหารแปรรูป
- พักผ่อนให้เพียงพอทุกคืน
- ไม่ควรเข้านอนดึก โดยควรเข้านอนภายในไม่เกิน 4-5 ทุ่ม
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม โดยควรออกทั้งการเวทเทรนนิ่งเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการแอโรบิคเพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้กับร่างกายควบคู่กัน
รับบริการตรวจสุขภาพ ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ที่ Bangkok Anti-Aging Center
หากไม่อยากเป็นภาวะไทรอยด์แฝง ก็ต้องคอยหมั่นตรวจรีเช็กต่อมไทรอยด์อยู่เสมอ แต่ยังไม่รู้จะตรวจไทรอยด์ที่ไหนดี HDmall.co.th ขอแนะนำ Bangkok Anti-Aging Center หรือ BAAC ในแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์สำหรับผู้หญิงและผู้ชาย รวมถึงมีบริการตรวจฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อครอบคลุมรายการตรวจฮอร์โมนที่จำเป็นต้องสุขภาพอย่างครบถ้วน
- รายละเอียด ราคาตรวจฮอร์โมน 14 รายการ สำหรับผู้ชาย ที่ BAAC
- รายละเอียด ราคาตรวจฮอร์โมน 14 รายการ สำหรับผู้หญิง ที่ BAAC
นอกจากนี้ทาง Bangkok Anti-Aging Center ยังมีรายการตรวจสุขภาพพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้ทราบการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมของร่างกายที่ยังไม่มีอาการแสดงออกมาได้ทันเวลา มีการตรวจเชิงลึกด้วยการแสกนร่างกายกับเครื่อง Biobodyscan ซึ่งสามารถตรวจดูการทำงานของต่อมไร้ท่อได้อย่างละเอียดขึ้น
หากคุณตรวจพบความบกพร่องหรือความผิดปกติบางอย่างที่ต่อมไทรอยด์ ทาง Bangkok Anti-Aging Center ยังมีแพ็กเกจดริปวิตามินเสริมในสูตรเพื่อฟื้นฟูต่อมไทรอยด์ โดยมุ่งเน้นไปที่การขับล้างสารพิษในร่างกาย และกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานอย่างสมดุล
หากคุณรู้สึกไม่สดชื่น น้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้ คุณภาพการนอนหลับแย่ลง สามารถลองเดินทางมาตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ที่ Bangkok Anti-Aging Center หรือลองรับการตรวจสุขภาพพื้นฐาน เพื่อเช็กภาพรวมการทำงานทุกส่วนของร่างกาย เป็นการป้องกันเชิงรุกเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เป็นอันตรายในอนาคต
เช็กลิสต์แพ็กเกจตรวจไทรอยด์หรือแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่น่าสนใจของทาง Bangkok Anti-Aging Center ได้ที่เว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจด้านสุขภาพที่คุณต้องการได้ผ่านทางไลน์ @HDcoth