ภาวะลำไส้ขี้เกียจ สาเหตุของอาการท้องผูก


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะลำไส้ขี้เกียจ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ ซึ่งส่งผลทำให้การขยับตัวของลำไส้เพื่อนำส่งอุจจาระทำงานช้าลง
  • ผู้ป่วยภาวะลำไส้ขี้เกียจจะเผชิญปัญหาในการขับถ่ายที่ยากขึ้น โดยจะมีอาการท้องผูก ประกอบกับการเบ่งอุจจาระที่ยากขึ้น หรือรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่หมด
  • การตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจจะเป็นการกลืนแคปซูลที่บรรจุวงแหวนเคลือบแบเรียม แล้วตรวจเอกซเรย์เพื่อดูการย่อยและขับถ่ายวงแหวน หากตรวจพบวงแหวนเกิน 20% ของจำนวนวงแหวนทั้งหมดที่กลืนเข้าไป ก็มีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเป็นภาวะลำไส้ขี้เกียจ
  • การรักษาภาวะลำไส้ขี้เกียจแบ่งออกได้ 2 แนวทาง ได้แก่ การกินยาร่วมกับปรับการใช้ชีวิตประจำวัน และการผ่าตัดนำลำไส้ส่วนที่ผิดปกติออก
  • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลำไส้ขี้เกียจ ทุกคนจะต้องไม่กลั้นอุจจาระเด็ดขาด ร่วมกับกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณเท่าๆ กัน หมั่นกินอาหารที่มีไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยเสริมการขับถ่าย และออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จากโรงพยาบาลวิมุต แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่


ปัญหาขับถ่ายยาก ไม่ถ่ายหลายวัน หรือต้องออกแรงเบ่งมากในระหว่างการขับถ่าย เมื่อพูดถึงอาการเหล่านี้หลายคนก็คงด่วนวินิจฉัยไปก่อนแล้วว่า น่าจะเกิดจากอาการท้องผูก

แต่รู้หรือไม่ว่า สาเหตุของอาการท้องผูกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เคลื่อนตัวช้า หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่าลำไส้ขี้เกียจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงภาวะลำไส้ขี้เกียจขึ้นมา หลายคนก็คงไม่เคยได้ยินชื่อภาวะนี้มาก่อน และไม่รู้ว่ามันมีอาการอย่างไร

ในบทความนี้ HDmall.co.th ร่วมกับ นายแพทย์กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารและตับ และเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต จะมาเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาภาวะลำไส้ขี้เกียจให้กับผู้ที่มีปัญหาได้ไขข้อสงสัย

ลำไส้ขี้เกียจ คืออะไร?

คุณหมอกุลเทพได้อธิบายว่า โดยปกติลำไส้ในร่างกายของมนุษย์ทุกคนจะมีการเคลื่อนตัวเป็นจังหวะ เพื่อนำส่งของเสียไปยังปลายสุดของลำไส้ แล้วขับถ่ายออกมาจากนอกร่างกาย

แต่ภาวะท้องผูกจากลำไส้เคลื่อนตัวช้าหรือลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ ซึ่งส่งผลทำให้การขยับตัวของลำไส้เพื่อนำส่งอุจจาระทำงานช้าลง หรือมีการบีบตัวช้า

แพทย์ตรวจวินิจฉัยภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) สาเหตุของอาการท้องผูก

ส่งผลให้ของเสียที่อยู่ในลำไส้เคลื่อนตัวได้ช้าลงจนกระทบต่อกิจวัตรการขับถ่าย และมีอาการท้องผูก ทำให้รู้สึกถึงความยากลำบากที่เพิ่มมากขึ้นในการขับถ่ายแต่ละครั้ง เช่น ต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ จึงจะถ่ายออก ขับถ่ายออกมาแล้วแต่รู้สึกว่ายังถ่ายไม่สุด ระหว่างเบ่งอุจจาระแล้วจะรู้สึกเจ็บ หรือไม่อุจจาระเลยตลอดระยะเวลา 2-3 สัปดาห์

อาการของท้องผูก

ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่างทั้งทางร่างกาย เช่น การเป็นแผล การเกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความทุกข์ทรมานในชีวิตได้

อาการของท้องผูกอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย เช่น เกิดความเจ็บปวดขณะขับถ่าย เกิดเป็นริดสีดวง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีอาการท้องผูกหรือไม่แน่ใจ ลองดูอาการของท้องผูกด้านล่างนี้

  • ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ต้องออกแรงเบ่งขณะขับถ่ายมากกว่าปกติ
  • ขับถ่ายไม่สุด รู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
  • ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการขับถ่าย
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็งผิดปกติ

ถ้าหากมีมีอาการเหล่านี้ 2 อาการขึ้นไป และเป็นมานานกว่า 3 เดือน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หรือหากมีความผิดปกตินานกว่า 6 เดือน ก็ควรมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง

เช็กราคาตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้

วิธีตรวจวินิจฉัยภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation)

แนวทางการตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจจะเป็นการกลืนแคปซูลบรรจุวงแหวนเคลือบธาตุแบเรียม (Barium) เล็กๆ ประกอบกับการตรวจเอกซเรย์ โดยจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. การตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่แบบทั่วไป

ผู้เข้ารับบริการจะต้องกลืนแคปซูลบรรจุวงแหวนที่เหมือนกับเม็ดยาเป็นจำนวน 1 เม็ด หลังจากผ่านไป 5 วัน แพทย์จะนัดให้กลับมาตรวจเอกซเรย์เพื่อสำรวจว่า วงแหวนที่อยู่ในแคปซูลตรงลำไส้นั้นเหลืออยู่กี่วง ประกอบกับการประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการขับถ่าย เพื่อดูการเคลื่อนตัวของลำไส้

กลืนแคปซูลเพื่อตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) หาสาเหตุของอาการท้องผูก

โดยปกติวงแหวนที่ผู้เข้ารับบริการจะต้องกลืนลงไปผ่านเม็ดแคปซูลจะมีอยู่ทั้งหมด 24 วง หากแพทย์ตรวจพบวงแหวนในลำไส้เหลืออยู่เกิน 20% ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีอาการท้องผูก หรือเป็นภาวะลำไส้ขี้เกียจ 

2. การตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่แบบละเอียด

หากการตรวจแบบทั่วไปยังใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ไม่มากพอ หรือแพทย์เห็นสัญญาณการเคลื่อนตัวที่ผิดปกติก็จะให้ผู้เข้ารับบริการรับการตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจแบบละเอียดอีกครั้ง ผ่านการกลืนแคปซูลบรรจุวงแหวนเป็นจำนวน 3 วัน ได้แก่ วันที่หนึ่ง วันที่สอง และวันที่สาม

จากนั้นในวันที่สี่และวันที่เจ็ด หรือวันที่เจ็ดเพียงวันเดียว ผู้เข้ารับบริการจะต้องกลับมาตรวจเอกซเรย์ดูจำนวนวงแหวนที่เหลืออยู่ในลำไส้กับแพทย์ เพื่อประเมินว่า มีส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้เคลื่อนตัวช้าผิดปกติจนเป็นข้อบ่งชี้ของภาวะลำไส้ขี้เกียจหรือไม่

ภาพเอกซเรย์ผลตรวจวินิจฉัยภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) สาเหตุของอาการท้องผูก

การเตรียมตัวก่อนกลืนแคปซูล ตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่(Slow Transit Constipation)

การเตรียมตัวก่อนกลืนแคปซูลตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจ ผู้เข้ารับบริการไม่จำเป็นต้องอดน้ำและอดอาหาร โดยสามารถกินอาหารได้ตามปกติ

แต่จำเป็นต้องงดยาระบายสำหรับช่วยการขับถ่ายล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน รวมถึงตลอดในช่วงระหว่างการตรวจด้วย และต้องดยาที่มีส่วนไปกระตุ้นทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวเร็วขึ้นด้วย

หากผู้เข้ารับบริการไม่มั่นใจว่ายาประจำตัวที่ตนใช้อยู่มีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวเร็วขึ้นหรือไม่ ให้นำยามาให้แพทย์ตรวจสอบล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการ มิเช่นนั้นยาอาจไปทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้

การดูแลตนเองหลังกลืนแคปซูล

หลังจากกลืนแคปซูลตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้ารับบริการสามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษแต่อย่างใด

เพียงแต่ต้องมาตามนัดในวันตรวจเอกซเรย์ และเดินทางมาฟังผลกับแพทย์ตามนัดหมายที่วางเอาไว้ และยังต้องงดยาระบายหรือยาที่มีส่วนกระตุ้นทำให้ลำไส้เคลื่อนตัว

วิธีรักษาอาการภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation)

การรักษาภาวะลำไส้ขี้เกียจนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

  • กินยาระบายและยาปรับการเคลื่อนตัวของลำไส้ ร่วมกับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกินอาหารที่เสริมการขับถ่าย การออกกำลังกายซึ่งมีส่วนช่วยให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนตัวบ่อยขึ้น ในระหว่างนั้นแพทย์ก็จะนัดหมายให้เข้ามาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวบริเวณลำไส้อยู่เรื่อยๆ
  • ผ่าตัดนำลำไส้ส่วนที่ผิดปกติออกหรืออาจทั้งหมด เป็นการต่อยอดจากวิธีแรก มักใช้ในกรณีกินยาแล้วไม่ได้ผล และตรวจเพิ่มเติมพบความผิดปกติของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณลำไส้ที่มีการเสียหายโดยสมบูรณ์ และไม่มีส่วนอื่นของทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก ที่มีความผิดปกติในเรื่องของการเคลื่อนตัวช้า

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย แต่โดยส่วนใหญ่มักเริ่มการรักษาด้วยการใช้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อน หากไม่ดีขึ้นจึงค่อยพิจารณาขยับวิธีรักษามาเป็นการผ่าตัดลำไส้ต่อไป

เช็กราคาตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้

ลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) หากปล่อยไว้อันตรายอย่างไร?

หากไม่รีบรักษาภาวะลำไส้ขี้เกียจ ก็มีโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจตรวจพบลำไส้โป่งพองหรือเป็นกระเปาะ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ หรือหนาวสั่นได้

หรืออาจเกิดแผลที่ลำไส้ ปัญหาอุจจาระเต็มท้อง และหากอาการรุนแรงมากขึ้นอาจพบมูกเลือดปนกับอุจจาระในระหว่างขับถ่ายได้

ภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) หายขาดได้หรือไม่?

การรักษาภาวะลำไส้เคลื่อนตัวช้าควรมีการตรวจ การประเมินอาการและรักษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเมื่อตรวจพบภาวะลำไส้เคลื่อนตัวช้าจะพิจารณาด้วยการรักษาด้วยยาก่อน ซึ่งคนไข้ส่วนหนึ่งจะตอบสนองต่อยาได้ดี

ในส่วนที่ไม่ตอบสนองอาจต้องมีการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ระบบประสาทหรือระบบตอบสนองการทำงานของกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่เสียหายโดยสมบูรณ์หรือไม่ และรวมไปถึงการประเมินเพิ่มเติมว่า ทางเดินอาหารส่วนอื่นมีการเคลื่อนตัวช้าร่วมด้วยหรือไม่ จึงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนที่เสียหายหรือทั้งหมดออก

ทั้งนี้ควรทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและโดยแพทย์ผู้ที่เชียวชาญด้านนี้ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวสูงสุดต่อผู้ป่วย

การป้องกันภาวะท้องผูกเรื้อรัง (Chronic Constipation)

แนวทางการป้องกันเพื่อลดโอกาสเป็นภาวะลำไส้ขี้เกียจมีหลากหลายวิธี โดยส่วนใหญ่จะเป็นการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว ดังนี้

  1. ไม่กลั้นอุจจาระ ถึงแม้ว่าในขณะนั้นจะกำลังทำกิจกรรมหรือทำภารกิจอะไรอยู่ก็ตาม หากรู้สึกปวดหนัก ให้รีบหาห้องน้ำเพื่อถ่ายอุจจาระทันที อย่าอั้นเก็บไว้
  2. กินอาหารที่มีปริมาณใกล้เคียงกันทั้ง 3 มื้อทุกวัน ไม่ควรกินมื้อใดมื้อหนึ่งหนักหรือเบาจนเกินไป นอกจากนี้ยังควรกินอาหารที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมกิจวัตรการขับถ่ายให้คล่องตัวสม่ำเสมอได้
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนตัว และทำให้เกิดการขับถ่ายอย่างเป็นปกติอยู่เรื่อยๆ

ตรวจภาวะลำไส้ขี้เกียจ ที่ โรงพยาบาลวิมุต

หากคุณมีปัญหาขับถ่ายยาก ขับถ่ายไม่ออกหลายวัน ออกแรงเบ่งระหว่างการขับถ่ายจนเจ็บ หรือมีอาการท้องผูกแต่ยังไม่รู้จะไปหาหมอที่ไหนดี?

HDmall.co.th ขอแนะนำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทุกอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน ปัญหาแผลในกระเพาะอาหาร ความผิดปกติที่ตับ ท่อน้ำดี ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปจนถึงตำแหน่งทวารหนัก

ตรวจวินิจฉัยภาวะลำไส้ขี้เกียจ (Slow Transit Constipation) สาเหตุของอาการท้องผูก ที่ โรงพยาบาลวิมุต

ภายในศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต ขับเคลื่อนทุกบริการด้วยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัย เพื่อการวิเคราะห์และออกแบบวิธีรักษาได้อย่างแม่นยำและชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

นอกเหนือจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต ยังมีทีมนักโภชนาการที่สามารถช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจวัตรการกินอาหาร หรือการปรับพฤติกรรมการกินให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาจากแพทย์ได้ เพื่อลดโอกาสที่โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารจะกลับมาเป็นซ้ำ หรือลุกลามรุนแรงขึ้น

เพราะโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารมักสร้างความทุกข์ทรมาน และเป็นอีกอุปสรรคที่ทำให้ชีวิตประจำวันใครหลายคนยากเย็นแสนเข็ญมากขึ้นไปอีก หากคุณพบความผิดปกติใดๆ ของสุขภาพที่อาจเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร อย่ารีรอที่จะรีบเดินทางมาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารโดยทันที

นอกจากนี้หลายโรคร้ายเกี่ยวกับทางเดินอาหารและตับมักมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจนนัก หรือไม่แสดงอาการเลย เป็นอีกรูปแบบภัยเงียบที่อาจก่อผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพโดยรวมในอนาคตได้

เช็กราคาตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม ตรวจการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่ ด้วยแคปซูลและเอกซเรย์ (Colonic Transit Study) ที่ โรงพยาบาลวิมุตผ่านทางเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือพูดคุยกับแอดมินของเว็บไซต์เกี่ยวกับแพ็กเกจเพื่อสุขภาพที่น่าสนใจผ่านทางไลน์ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat