HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่มีผลต่อทุกระบบการทำงานของร่างกาย หากขาดฮอร์โมน ความเสื่อมตามระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะเกิดขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายก็จะลดน้อยลง กลายเป็นอาการเจ็บป่วยต่างๆ
- ผลกระทบจากการที่ฮอร์โมนไม่สมดุลทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย มีโอกาสเป็นซึมเศร้าหรือเครียดง่ายกว่าปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการทำงาน การเรียน หรือการทำกิจกรรมได้ เป็นสิวบ่อย ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง หรือหย่อนยานไม่กระชับไม่มีอารมณ์ทางเพศ ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติจนเกิดภาวะมีบุตรยาก ฯลฯ
- การตรวจฮอร์โมนเป็นการตรวจเสริมนอกเหนือจากการตรวจสุขภาพทั่วไป ยังไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคน แต่หากมีอาการหรือปัญหาทางสุขภาพที่ไม่ทราบสาเหตุ การตรวจฮอร์โมนก็อาจเป็นการตรวจเชิงลึกที่ทำให้คุณค้นพบสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพได้
- บริการตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center แพทย์จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการหาต้นตอที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล รวมถึงแนะนำการดูแลสุขภาพในรูปแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก W9 Wellness Center แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight
- ดูรายละเอียดบริการทั้งหมดจาก W9 Wellness Center บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
สารบัญ
- ฮอร์โมนสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย? ทำไมต้องตรวจฮอร์โมน?
- ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลมีอะไรบ้าง?
- ปัจจุบันเพศใดมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลมากกว่ากัน?
- วิธีป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ทำได้อย่างไรบ้าง?
- การตรวจฮอร์โมนตรวจได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
- ปัญหาแบบไหนบ้างที่ควรตรวจฮอร์โมน?
- การตรวจฮอร์โมนช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่?
- การตรวจฮอร์โมนมีกี่วิธี?
- หากฮอร์โมนไม่สมดุล ควรทำยังไง?
- ควรตรวจฮอร์โมนบ่อยแค่ไหน?
- Transgender สามารถมาตรวจฮอร์โมนได้หรือไม่?
- โปรแกรมตรวจฮอร์โมนของ W9 Wellness Center มีอะไรบ้าง เหมาะสมกับใคร?
- บริการตรวจฮอร์โมน ที่ W9 Wellness Center
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ฮอร์โมนจัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของร่างกายไม่ว่าจะในผู้หญิงหรือผู้ชาย อาการเจ็บป่วยหรืออ่อนเพลียหลายอย่างที่ใครหลายคนกำลังเผชิญอยู่สามารถมีส่วนมาจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนก็ได้
ด้วยเหตุนี้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจึงควรระมัดระวังไม่ให้ระดับฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป เพราะจะส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติต่อสุขภาพตามมาในภายหลังได้
แต่ก่อนจะไปรู้จักวิธีการดูแลฮอร์โมนในร่างกาย แล้วเราทุกคนรู้จักคำว่า “ฮอร์โมน” ดีพอหรือยัง แล้วรู้หรือไม่ว่า หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนของตนเองและไม่รู้ว่าจะดูแลตนเองอย่างไร ก็สามารถรับการตรวจฮอร์โมนได้ทุกเพศ ไม่ว่าจะเพศหญิง เพศชาย หรือ Transgender
โดยนายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ และแพทย์หญิงภัทรลดา ฤทธิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยจาก W9 Wellness Center ร่วมกับ HDmall.co.th จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับการตรวจฮอร์โมนอย่างละเอียดให้ทุกคนได้ทราบกัน
ฮอร์โมนสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย? ทำไมต้องตรวจฮอร์โมน?
ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่มีผลต่อทุกระบบการทำงานของร่างกายเลยทีเดียว และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายของเรามีสมรรถภาพแข็งแรงอย่างเต็มรูปแบบทุกส่วน
หากขาดฮอร์โมนไป ความเสื่อมตามระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะเกิดขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายก็จะลดน้อยลง กลายเป็นอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา
นายแพทย์พิจักษณ์และแพทย์หญิงภัทรลดา จึงได้สรุปความสำคัญของฮอร์โมนเอาไว้ดังต่อไปนี้
- ทำให้ลักษณะทางเพศเด่นขึ้น เช่น ทำให้ผู้ชายมีหนวด มีขน ร่างกายดูสูงใหญ่กำยำ มีพละกำลังเรี่ยวแรงมากกว่าผู้หญิง ในขณะที่ฮอร์โมนก็จะทำให้ผู้หญิงมีหน้าอก มีสะโพก มีมวลไขมันใต้ผิวหนังมากกว่ามวลกล้ามเนื้อแบบผู้ชาย รวมถึงมีเสียงที่แหลมและทุ้มกว่าผู้ชายด้วย
- เสริมสร้างการเจริญเติบโต ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา เช่น ทำให้มีส่วนสูงกับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นในช่วงเริ่มโตเป็นวัยรุ่น ทำให้เราทุกคนมีโครงสร้างกระดูกที่แข็งแรง มีสติปัญญาการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นตามวัย
- กระตุ้นระบบเผาผลาญ หลายคนอาจไม่รู้ว่า น้ำหนักตัวที่มีขึ้นและลงของคนทุกช่วงวัย ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารหรือการออกกำลังกายเท่านั้น แต่มาจากการทำงานของฮอร์โมนด้วยเช่นกัน
- ป้องกันความเสื่อมของร่างกาย การที่คนเรายังมีโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรง กระดูกไม่พรุนง่าย มีผิวพรรณที่ตึงกระชับ ไม่หย่อนยาน มีเรี่ยวแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มร้อย มีความสดชื่นในภาวะอารมณ์ต่างๆ รวมถึงมีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดงานหรือวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ก็ล้วนมาจากการทำงานของฮอร์โมนทั้งสิ้น
- เสริมสร้างการมีบุตร โดยฮอร์โมนจะทำให้เชื้อสเปิร์มและไข่ในระบบสืบพันธุ์ผลิตอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จนสามารถมีบุตรได้ง่ายตามกลไกลธรรมชาติ ผู้ที่เผชิญปัญหาภาวะมีบุตรยากทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มักมีส่วนมาจากการทำงานของฮอร์โมนด้วย
- ทำให้เกิดภาวะอารมณ์ที่หลากหลาย อารมณ์ของคนเราไม่ว่าจะโกรธ เศร้า สนุก หรือวิตกกังวลต่างๆ ล้วนมีปัจจัยมาจากการทำงานของฮอร์โมน เห็นได้ชัดจากการที่ผู้หญิงมักอารมณ์แปรปรวนในช่วงใกล้มีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงมากกว่าปกตินั่นเอง
เราจะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนมีประโยชน์และจุดเด่นของต่อระบบต่างๆ ของร่างกายแทบทุกส่วนทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนของคนเราไม่ว่าจะเพศไหนหรือวัยอะไรก็มีโอกาสเกิดความผิดปกติหรือไม่สมดุลได้ จนเกิดผลกระทบตามมาเป็นอาการผิดปกติต่างๆ เช่น
- พัฒนาการร่างกายและสติปัญญาช้ากว่าเกณฑ์
- อารมณ์แปรปรวนง่าย มีโอกาสเป็นซึมเศร้าหรือเครียดง่ายกว่าปกติ
- มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการทำงาน การเรียน หรือการทำกิจกรรมได้
- เป็นสิวบ่อย ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง หรือหย่อนยานไม่กระชับ
- ระบบเผาผลาญผิดปกติจนน้ำหนักตัวขึ้น
- พยายามลดน้ำหนัก แต่น้ำหนักไม่ลงเสียที
- สร้างกล้ามเนื้อไม่ขึ้น
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น
- ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
- ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติจนเกิดภาวะมีบุตรยาก
- นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก
- เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blue)
- มีอาการของวัยทอง เช่น แสบร้อนตามตัว มีพุง กล้ามเนื้อหาย มีอาการหลงลืม ผมร่วง ไม่มีแรง
จากความผิดปกติที่กล่าวไปข้างต้น จึงทำให้ต้องมีการตรวจฮอร์โมน เพื่อให้แพทย์ได้เช็กระดับและประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนในผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านว่า ปกติหรือไม่ นอกจากนี้ยังเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมและรู้จักวิธีป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลด้วย
ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลมีอะไรบ้าง?
มีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนทำให้ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล โดยแทบทุกปัจจัยนั้นอยู่รอบตัวเราทั้งหมดและยังรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ความเครียด จนสารฮอร์โมนความเครียดหลั่งมากเกินไป
- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- โรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ภาวะถุงน้ำในรังไข่
- พฤติกรรมอดอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จนแร่ธาตุกับวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ
- การรับยา วิตามิน ฮอร์โมน หรือสมุนไพรบางชนิดมากเกินไป
- การใช้ยาคุมกำเนิด
- การใช้ฮอร์โมนทดแทน
- การรับสารพิษเข้าร่างกาย
ปัจจุบันเพศใดมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลมากกว่ากัน?
ในอดีต ภาวะฮอร์โมนมักจะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่า แต่เมื่อเทียบกับปัจจุบัน นายแพทย์พิจักษณ์และแพทย์หญิงภัทรลดาตอบว่า ผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลหรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนจนต้องเข้ามาปรึกษากับแพทย์ แทบจะมีสัดส่วนทั้งเพศหญิงและเพศชายเท่าๆ กันเลยทีเดียว
วิธีป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ทำได้อย่างไรบ้าง?
การป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลทำได้ไม่ยาก เพียงปรับวิถีชีวิตประจำวันให้ดีต่อสุขภาพ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลทั้งในผู้ชายและผู้หญิงได้แล้ว โดยตัวอย่างพฤติกรรมที่ช่วยป้องกันภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ มีดังต่อไปนี้
- ควบคุมความเครียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอทุกคืน
- รับประทานอาหารให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุอย่างครบถ้วน
- หมั่นไปตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีมลพิษหรือมลภาวะต่อร่างกาย
การตรวจฮอร์โมนตรวจได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
การตรวจฮอร์โมนสามารถตรวจได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงวัยสูงอายุ และไม่จำกัดเพศแต่อย่างใด
ปัญหาแบบไหนบ้างที่ควรตรวจฮอร์โมน?
การตรวจฮอร์โมนจัดเป็นการตรวจเสริมนอกเหนือจากการตรวจสุขภาพทั่วไป ยังไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคน แต่หากคุณเป็นผู้ที่มีอาการหรือปัญหาเหล่านี้ การตรวจฮอร์โมนก็อาจเป็นการตรวจเชิงลึกที่ทำให้คุณค้นพบสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพได้
- พยายามลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก หรือสร้างกล้ามเนื้อมานานแล้ว แต่ไม่สำเร็จเสียที
- มีอาการไม่สบายตัว อ่อนเพลียง่าย ไม่สดชื่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แต่ตรวจหาสาเหตุไม่เจอ
- มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศ กิจกรรมบนเตียง
- มีปัญหาด้านภาวะอารมณ์ อารมณ์แปรปรวนผิดปกติ รู้สึกซึมเศร้าหรือเครียดง่ายกว่าที่เคยเป็น
- มีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือนอนหลับไม่สนิท
- มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก หรือต้องการมีบุตร จึงต้องการตรวจฮอร์โมนให้แน่ใจเสียก่อน
- มีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการ การเจริญเติบโต การเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งในทีนี้รวมถึงพ่อแม่ที่มีลูกเล็กและรู้สึกว่า เด็กอาจมีปัญหาด้านนี้ ก็สามารถพาเด็กมาตรวจดูระดับฮอร์โมนได้
- มีปัญหาด้านผิวพรรณ เป็นสิวง่าย ทายา ทาครีมบำรุง หรือลองเลเซอร์ผิวก็ไม่หายเสียที
- เริ่มเข้าสู่วัยทองและเริ่มมีอาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น เช่น อารมณ์แปรปรวน เหนื่อยง่าย มือเท้าเย็น ร้อนวูบวายตามตัว
- มีปัญหาด้านสมดุลการใช้ชีวิต จนร่างกายเริ่มเจ็บป่วยง่าย อ่อนเพลีย เครียด หรือซึมเศร้าง่ายกว่าปกติ
การตรวจฮอร์โมนช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่?
ช่วยได้ โดยนายแพทย์พิจักษณ์และแพทย์หญิงภัทรลดา กล่าวว่า ปัญหาลดน้ำหนักไม่สำเร็จ รวมถึงปัญหาพยายามสร้างกล้ามเนื้อแต่มวลกล้ามเนื้อก็ยังไม่เพิ่มเสียที เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้เข้ารับบริการมาตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center เป็นจำนวนมาก
ซึ่งการตรวจฮอร์โมนจะมีส่วนช่วยทำให้แพทย์ได้ข้อมูลเพิ่มว่า สาเหตุต้นตออะไรกันแน่ที่ทำให้น้ำหนักตัวหรือกล้ามเนื้อของผู้เข้ารับบริการไม่ลดหรือเพิ่มตามที่คาดหวัง
โดยหลังจากได้รับข้อมูลจากผลตรวจฮอร์โมนแล้ว แพทย์จาก W9 Wellness Center ก็จะนำมาวิเคราะห์เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ผู้เข้ารับบริการจำเป็นจะต้องปรับการใช้ชีวิตประจำวันหรือการกินอาหารอย่างไร หรือจำเป็นต้องรับยา วิตามิน และแร่ธาตุส่วนไหนเพิ่มเติมบ้าง หรืออาจเป็นการขับสารพิษออกจากร่างกายเพื่อให้ระบบเผาผลาญกลับมาทำงานเป็นปกติก็ได้
การตรวจฮอร์โมนมีกี่วิธี?
การตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center ไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายมีทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่
- การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด จากนั้นรอประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะสามารถเข้าไปฟังผลตรวจและรับคำปรึกษาด้านการดูแลตนเองเพิ่มเติมกับแพทย์ได้ทันที แต่ในกรณีที่การตรวจฮอร์โมนบางตัวจำเป็นต้องส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการแห่งอื่น ผู้เข้ารับบริการก็อาจต้องรอประมาณ 3-5 วัน จากนั้นค่อยกลับมาพบแพทย์เพื่อฟังผลตรวจและรับคำปรึกษาต่อไป
- การเก็บตัวอย่างปัสสาวะ มักใช้ในการตรวจเชิงลึกหรือในผู้ที่มีปัญหาค่อนข้างซับซ้อน โดยแพทย์จะแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะต่อการเก็บปัสสาวะ โดยอาจเป็นตอนเช้าหรือหลังตื่นนอน จากนั้นรอผลตรวจประมาณ 1 สัปดาห์ - 1 เดือน แล้วจึงจะเข้ามาฟังผลตรวจและรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมอีกครั้ง
หากฮอร์โมนไม่สมดุล ควรทำยังไง?
สิ่งที่จะตามมาหลังจากผลตรวจฮอร์โมนออกและพบว่า ผู้เข้ารับบริการมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล นั่นก็คือ “การหาสาเหตุที่มากระตุ้นให้ฮอร์โมนผิดปกติ” ผ่านการสอบถามและพูดคุยกับผู้เข้ารับบริการเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน อาหาร ยา วิตามิน หรือสมุนไพรที่รับประทานอยู่ รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ
จากนั้นแพทย์ของ W9 Wellness Center ก็จะนำสาเหตุดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนเป็นคำแนะนำในการดูแลตนเองใหม่อีกครั้ง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการรับยา วิตามิน ผลิตภัณฑ์บำรุง หรือฮอร์โมนเพิ่มเติม เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนของร่างกายให้เหมาะสมอีกครั้ง
นอกจากนี้การรับตัวบำรุงเพิ่มเติม แพทย์จะแนะนำวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับเพื่อให้ร่างกายได้มีช่วงเวลาฟื้นฟูตนเองได้อย่างล้ำลึกด้วย
ควรตรวจฮอร์โมนบ่อยแค่ไหน?
สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับฮอร์โมน แต่เพียงต้องการตรวจเช็กความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ก็ควรมาตรวจปีละครั้ง
แต่ในผู้ที่มีอาการผิดปกติจากฮอร์โมนหรือฮอร์โมนไม่สมดุล การกลับมาตรวจดูสมดุลของฮอร์โมนอีกครั้งก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยอาจมาตรวจทุกๆ 2-4 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของแพทย์
Transgender สามารถมาตรวจฮอร์โมนได้หรือไม่?
กลุ่มทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) ก็เป็นอีกกลุ่มที่สามารถมารับการตรวจฮอร์โมนได้เช่นกัน เพราะผู้เข้ารับบริการกลุ่มนี้มักจะมีการใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นลักษณะทางเพศที่ตนเองต้องการให้เด่นขึ้นมา
การตรวจฮอร์โมนก็จะเป็นการช่วยให้แพทย์ได้เห็นระดับฮอร์โมนภายในร่างกายที่ใช้เพิ่มเติม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับ เพิ่ม หรือลดปริมาณฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
โปรแกรมตรวจฮอร์โมนของ W9 Wellness Center มีอะไรบ้าง เหมาะสมกับใคร?
โปรแกรมตรวจฮอร์โมนของ W9 Wellnes Center แบ่งออกเป็น 4 โปรแกรมหลัก ได้แก่
- โปรแกรมวิเคราะห์สมดุลของฮอร์โมน (Hormone Balance Package) เป็นโปรแกรมตรวจชุดเล็กโดยมุ่งไปที่การตรวจฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนซึ่งมักเกิดปัญหาไม่สมดุลค่อนข้างบ่อยในคนทั่วไป
- โปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมนทุกระบบ (Complete Hormone Package) เป็นโปรแกรมตรวจฮอร์โมนทั้งร่างกายแบบชุดใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองฮอร์โมนอย่างละเอียดทั้งหมด รวมถึงผู้สูงอายุที่ต้องการตรวจเช็กประสิทธิภาพฮอร์โมนแบบองค์รวม
- โปรแกรมเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ (Sleep Better Package) โปรแกรมตรวจฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการนอนหลับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับทุกรูปแบบ จนอยากมาตรวจเพื่อให้แพทย์แนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนซึ่งส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน
- โปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมนเพศ (Sex Health Hormone Package) โปรแกรมตรวจแบบลงลึกในส่วนของฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ หรือการเกิดภาวะมีบุตรยาก
บริการตรวจฮอร์โมน ที่ W9 Wellness Center
ฮอร์โมนมักเป็นต้นตอทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้สารพัดอย่าง และหลายคนก็มักจะไม่รู้ว่าอาการเจ็บป่วยของตนเองเกิดจากฮอร์โมน หรืออาจรู้ แต่มีความกังวลหรืออายที่จะมาตรวจ
บริการตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center แพทย์จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการหาต้นตอที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล รวมถึงแนะนำการดูแลสุขภาพในรูปแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
ใครที่ยังแก้ปัญหาจัดตารางการกินอาหารที่เหมาะกับตัวเองไม่ได้ ยังไม่รู้ว่าร่างกายของตนเองเหมาะกับสารอาหารแบบไหน หรือพยายามลดน้ำหนักผ่านการออกกำลังกายจนท้อแต่ยังไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ การตรวจฮอร์โมนนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน
W9 Wellness Center มีความเข้าใจปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศเป็นอย่างดี และรู้ดีว่าผู้เข้ารับบริการหลายท่านไม่กล้าปรึกษาหรือพูดคุยกับแพทย์ ซึ่งทาง W9 Wellness Center มีความพร้อมที่จะช่วยดูแลและยินดีต้อนรับผู้เข้ารับบริการทุกท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศหรือฮอร์โมนเพศต่างๆ อย่างเป็นส่วนตัว
นอกจากนี้การตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนไม่หลับทุกรูปแบบ แพทย์จะให้คำแนะนำในการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพักผ่อนและหยุดการทำงานเพื่อซ่อมแซมตนเองในช่วงกลางคืนได้อย่างยาวนานขึ้น
การตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center ไม่ใช่เพียงการตรวจและรับผลตรวจเท่านั้น แต่เป็นการเข้ามารับคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแบบตรงจุดและทำให้ร่างกายได้ฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้อย่างมั่นใจ โดยไม่มีข้อยกเว้นเรื่องเพศหรือช่วงวัยใด
อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่น่ารำคาญและยังไม่ทราบสาเหตุของคุณ เช่น อ่อนเพลียง่าย ไม่สดชื่น น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ อาจจบลงได้เพียงแค่เข้ามาตรวจฮอร์โมนที่ W9 Wellness Center ด้วยบริการที่คุ้มค่า เน้นแก้ปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทุกส่วนแต่ล้ำลึกถึงต้นตอของอาการ เพื่อให้คุณได้มีสุขภาพดีอย่างยาวนาน และมีความสุขกับทุกวันของชีวิตได้อย่างเต็มที่ ด้วยบริการจาก W9 Wellness Center