ปวดหลังแบบไหน คืออาการของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท?


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ก็เป็นกลุ่มความผิดปกติของกระดูกและไขข้อที่ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดคล้ายคลึงกับกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม แต่มีระดับความรุนแรงที่หนักกว่า
  • อาการแสดงของกลุ่มออฟฟิศซินโดรมมีอาการเด่นๆ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดบริเวณบ่า ไหล่ แต่อาการจะไม่ลุกลามลงไปยังอวัยวะอื่นๆ ต่างจากอาการปวดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่จะมีอาการปวดร้าวลงอวัยวะอื่นๆ รวมถึงมีอาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หากรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการกินยาหรือทำกายภาพบำบัด แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาการปวดแรงขึ้นกว่าเดิม นั่นก็จัดเป็นสัญญาณของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เช่นกัน
  • การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่จำเป็นต้องเป็นการผ่าตัดเสมอไป ผู้ป่วยโรคนี้เกือบ 80% สามารถหายได้ด้วยการรักษาแบบประคับประคองผ่านการใช้ยาและทำกายภาพบำบัด
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก โรงพยาบาลนครธน แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่


ทุกวันนี้หลายคนต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละไม่ต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมง และแทบไม่ได้ลุกขึ้นเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อคลายกล้ามเนื้อส่วนที่ใช้งานหนักเป็นเวลานานๆ

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กลุ่มคนวัยทำงานหลายคนต้องเผชิญกับ “กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome”) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ โดยมีสาเหตุมาจากความอ่อนล้าและตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องโดยแทบไม่ได้หยุดพัก

ขณะเดียวกัน “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติของกระดูกและไขข้อที่ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดคล้ายคลึงกับกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม แต่มีระดับความรุนแรงที่หนักกว่า และหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจส่งผลกระทบหนักขึ้นจนถึงขั้นไม่สามารถออกก้าวเดิน และเคลื่อนไหวร่างกายได้อีก

ด้วยลักษณะอาการปวดของทั้ง 2 โรคที่ทับซ้อนกัน และยากจะแยกความแตกต่างได้ด้วยตนเอง ทำให้หลายคนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเข้าใจผิดว่า ตนเองมีอาการของออฟฟิศซินโดรม และไม่ได้ตรวจวินิจฉัยกับแพทย์อย่างละเอียดและรักษาตั้งแต่อาการเพิ่งเริ่มต้น

หลายคนกว่าจะรู้ว่าตนเองเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น อาการก็รุนแรงจนส่งผลทำให้ร่างกายทรุดโทรม และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอีกต่อไป

HDmall.co.th ร่วมกับ นายแพทย์ทวีชัย จันทร์เพ็ญ จากศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน จะมาไขข้อสงสัยและให้คำแนะนำในการแยกอาการระหว่างกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมและโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท รวมถึงแนวทางการรักษาในทั้ง 2 โรคนี้

อาการออฟฟิศซินโดรมต่างจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไร

แนวทางการแยกอาการจากโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แบ่งออกได้ 2 แนวทาง

1. สังเกตจากอาการแสดงของโรค

อาการแสดงของปัญหากล้ามเนื้อในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมมีอาการเด่นๆ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดบริเวณบ่า ไหล่ แต่อาการจะไม่ปวดร้าวลงไปที่ แขน มือ หรือขา

ต่างจากอาการปวดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอ หรือต้นคอเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันก็จะมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดในส่วนนี้ด้วย เช่น

  • ปวดคอร้าวลงไปถึงอวัยวะอื่นๆ เช่น แขน มือ
  • มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ และแขน
  • รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ให้สังเกตว่า หากอาการปวดที่เกิดขึ้นไม่ได้จบอยู่แค่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่ปวดร้าวไปยังอวัยวะอื่นของร่างกาย ร่วมกับมีอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง นั่นถือเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่มากกว่ากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมแล้ว และควรเดินทางมาตรวจอย่างละเอียดกับแพทย์โดยเร็ว

2. สังเกตจากการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบางราย อาการจะไม่แสดงออกมารุนแรง แต่จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยอย่างต่อเนื่องจนผู้ป่วยเข้าใจผิดว่า ตนเองมีอาการของกลุ่มออฟฟิศซินโดรม

ซึ่งแนวทางการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่นิยมทำกันในปัจจุบันจะเป็นการรักษาแบบประคองอาการ นั่นก็คือ การกินยาหรือทำกายภาพบำบัด ซึ่งอาการควรจะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

แต่หากผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของกล้ามเนื้อภายในระยะเวลานี้ หรือรู้สึกปวดรุนแรงขึ้นกว่าเดิมจนผิดสังเกต นั่นก็อาจเป็นสัญญาณของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่แฝงอยู่ได้ และควรลองพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดอีกครั้ง

ความรุนแรงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การประวิงเวลาไม่ไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ หรือรีบรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างเหมาะสมอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการกล้ามเนื้อลีบ หรือเป็นอัมพาตจนไม่สามารถลุกเดินได้อีก

เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงต่อสมรรถภาพร่างกาย หากสังเกตเห็นความผิดปกติของร่างกายที่มีโอกาสจะเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็ควรรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งเวลาเอาไว้จนกว่าจะรู้สึกทนต่ออาการไม่ไหวแล้วค่อยมาพบแพทย์

แนวทางการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การตรวจวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถตรวจเบื้องต้นผ่านการตรวจร่างกายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

หากแพทย์เห็นข้อบ่งชี้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็จะส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำ MRI เพื่อตรวจหารอยพยาธิสภาพที่ละเอียดขึ้นต่อไป

โดยการตรวจ MRI เป็นกระบวนการตรวจที่ทำให้แพทย์เห็นภาพหมอนรองกระดูกส่วนที่ผิดปกติที่ไปกดทับเส้นประสาท รวมถึงได้เห็นโครงสร้างกระดูกสันหลังกับเส้นประสาททั้งหมดอย่างละเอียดและครอบคลุม เพื่อนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

วิธีรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่จำเป็นต้องเป็นการผ่าตัดเสมอไป โดยผู้ป่วยโรคนี้กว่า 80% สามารถหายได้ด้วยการรักษาแบบประคับประคองผ่านการใช้ยาและทำกายภาพบำบัด

ยกเว้นแต่เมื่อรักษาด้วย 2 วิธีนี้แล้วไม่ดีขึ้น อาการแย่ลง หรือมีอาการบ่งชี้ฉุกเฉินที่ควรผ่าตัด เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์จึงจะพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดเป็นวิธีรักษาสุดท้าย

การวินิจฉัยและรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

ในส่วนของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมก็สามารถเข้ามาตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ด้วยการซักประวัติอาการและตรวจร่างกายได้เช่นกัน

แพทย์อาจจ่ายยาหรือแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อประคองอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น ร่วมกับให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรเทาและป้องกันไม่ให้อาการปวดกลับมาเป็นซ้ำ เช่น ระหว่างนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ให้ลุกขึ้นเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายทุกๆ 1 ชั่วโมงอยู่เสมอ

เพราะอาการจากกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ถึงแม้จะรักษากับแพทย์จนหายดีแล้ว หากผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการปวดก็จะวนเวียนกลับมาเป็นซ้ำอยู่เรื่อยๆ

รักษาอาการออฟฟิศซินโดรมและหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ รพ. นครธน

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน ยินดีต้อนรับผู้ที่เผชิญปัญหาปวดตามแนวกระดูกสันหลังทุกรูปแบบ ผ่านบริการจากแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังที่มีประสบการณ์การรักษามาอย่างยาวนาน

หากคุณกำลังเผชิญกับกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม และอยากได้วิธีรักษาที่ทำให้อาการหายไปโดยเร็ว เห็นผลได้ยืนยาว ไม่กลับมาเป็นซ้ำ แพทย์ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนยินดีเป็นผู้ดูแลและวางแผนการรักษาอาการจากโรคนี้ให้หายได้

นอกจากนี้ การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน ไม่ได้จำกัดเพียงใช้วิธีผ่าตัดเป็นคำตอบสุดท้าย แต่แพทย์ประจำศูนย์จะให้ความสำคัญกับการมอบวิธีรักษาที่เหมาะกับตัวผู้ป่วยทุกท่านเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ ตามแนวทางการรักษาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในราคาที่เข้าถึงได้

โดยก่อนการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาให้กับผู้ป่วย แพทย์ภายในศูนย์กระดูกสันหลังจะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปในการเลือกรักษาสุดท้ายที่ดีที่สุด หรือ Last Opinion ร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจถึงผลลัพธ์หลังการรักษาที่เห็นผลได้ตามเป้าหมายอย่างแท้จริง และทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยืนยาว

สำหรับเทคนิคการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธนเป็นการผ่าตัดด้วยกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) ซึ่งเป็นเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องแบบใหม่ ทำให้แผลหลังผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น ต่างจากการผ่าตัดในอดีตที่มีแผลหลังผ่าตัดค่อนข้างใหญ่ และต้องพักฟื้นนานเป็นสัปดาห์

โดยหลังจากผ่าตัดด้วยกล้องเอนโดสโคป ผู้ป่วยจะนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืน จากนั้นก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้ทันที เพราะมีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดค่อนข้างเร็วจึงสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเร็วขึ้นด้วย

อย่าปล่อยให้ตนเองต้องอยู่กับอาการปวดที่น่ารำคาญรบกวนชีวิตประจำวันจนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง รีบเดินทางมารักษากับแพทย์ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน เพื่อเรียกคืนความแข็งแรงของไขข้อและกล้ามเนื้อทุกส่วนให้กลับมาใช้งานได้อย่างเต็มพลัง

ซื้อแพ็กเกจการรักษาโรคจากโรงพยาบาลนครธนได้ที่เว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามเกี่ยวกับแพ็กเกจที่เปิดให้บริการบนเว็บไซต์ได้ผ่านไลน์ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat