5 เทคนิคปรับท่านั่ง ป้องกันออฟฟิศซินโดรม


5 เทคนิคปรับท่านั่ง ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ออฟฟิศซินโดรมมักเกิดจากพฤติกรรมซ้ำเดิม การนั่งทำงานในอิริยาบถเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับปรับเปลี่ยนท่าทาง เพื่อยืดหรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น เก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่สูงหรือต่ำเกินไป
  • พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ยากที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามคอ บ่า ไหล่ หลัง และเข่า ดังนั้นการปรับเก้าอี้และท่านั่งให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการปวดต่างๆ ได้
  • หากเก้าอี้ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลให้การนั่งทำงานในท่าทางที่ผิดสรีระก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา การเลือกเก้าอี้ที่จะนั่งทำงานในระยะเวลานาน ควรเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพ
  • OfficeMate ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนทำงาน และพนักงานออฟฟิศ ด้วยเก้าอี้เพื่อสุขภาพ Ergonomic แบรนด์ Furradec ที่ออกแบบสำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน สามารถปรับฟังก์ชั่นได้ครอบคลุมและตอบโจทย์การนั่งเพื่อสุขภาพ
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก OfficeMate แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายแพ็กเกจดังกล่าว

สารบัญ


อาการออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ไม่ใช่คำเรียกของโรค แต่เป็นกลุ่มอาการหลายๆ อย่างที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันไม่เหมาะสม เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง และเข่า จากการนั่งทำงานผิดท่านานๆ หรือปวดศีรษะ จากการนั่งจ้องจอคอมนาน

การนั่งทำงานนานแบบผิดท่าอาจทำให้กล้ามเนื้อหดตัว กล้ามเนื้ออักเสบ หรือกล้ามเนื้อฉีดขาด รวมถึงการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานจนเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวหรือดวงตา ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบบ่อยในผู้ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ จึงเรียกโดยรวมว่ากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม

นอกจากพฤติกรรมซ้ำเดิม การนั่งทำงานในอิริยาบถเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับปรับเปลี่ยนท่าทาง การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

นอกจากนี้การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานจนเกินไป การเพ่งใช้สายตานานๆ การปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม รวมถึงการทำงานหนักเกินไป พักผ่อนน้อย ความเครียดและวิตกกังวลก็เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมเช่นกัน

อาการออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง?

อาการส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละบุคคล โดยอาการส่วนใหญ่มีดังนี้

  1. ปวดเมื่อยหรือเกร็งตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง ต้นคอ แขน ข้อมือ นิ้วมือ เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ กล้ามเนื้อหดเกร็งมากเกินไป อาจรุนแรงขึ้นและกลายเป็นอาการเรื้อรัง
  2. เจ็บ ตึง หรือชาตามอวัยวะต่างๆ เรื้อรัง เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ มีเอ็นอักเสบทับเส้นประสาท หรือเส้นประสาทตึงตัวจนกลายเป็นอาการชาตามมือ แขน เส้นยึด และนิ้วล็อกในที่สุด
  3. เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง เกิดจากนั่งนานเกิดไปทำให้กดทับเส้นประสาท การไหลเวียนเลือดผิดปกติ มักมีอาการชาบริเวณนิ้วกลาง นิ้วนาง หรือปวดบริเวณข้อมือ
  4. นิ้วล็อก เกิดจากการจับเมาส์หรือใช้นิ้วมือกดโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมระยะเวลานานๆ มีอาการเส้นเอ็นอักเสบหรือปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นหนาขึ้นและไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ
  5. ปวดศีรษะ มีอาการปวดตุ๊บๆ คล้ายไมเกรน อาจปวดร้าวไปถึงตา เกิดจากการใช้สายตาในการทำงานมาก ร่วมกับมีความเครียดสะสม วิตกกังวล และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  6. นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท อาจเกิดจากความเครียด หรืออาการปวดเมื่อยหรือปวดหัวที่รบกวนเวลานอนเป็นระยะ

ในระยะแยกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และจะหายไปเมื่อได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือปรับท่านั่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นรบกวนการทำงาน

การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

สำหรับคนทำงานและพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ยากที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามคอ บ่า ไหล่ หลัง และเข่า ดังนั้นการปรับเก้าอี้และท่านั่งให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการปวดต่างๆ ได้

หมอท็อป นพ.นรินทร์ งามรุ่งศิริ จากสหคลินิกกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู เอฟ รี แฮบ (F REHAB) ได้ให้คำแนะนำในการปรับเก้าอี้เพื่อให้ได้ท่านั่งที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ดังนี้

1. ควรปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับส่วนสูงของตัวเอง

ระดับความสูงของเก้าอี้ที่พอดี จะทำให้ไม่ต้องก้มหรือเงยมากเกินไป ทำให้สรีระอยู่ในทิศทางที่ผิดรูปแบบและส่งผลให้เกิดอาการปวด สำหรับการปรับระดับเก้าอี้ควรให้เหมาะพอดีกับส่วนสูง โดยให้เข่าสามารถงอได้ 90 องศา เท้าวางระนาบและทิ้งน้ำหนักได้เท่ากันกับขาทั้งสองข้าง

การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

2. ปรับเลื่อนเบาะรองนั่งให้เข่าทำมุม 90 องศา

นอกจากระดับความสูงแล้ว การปรับเลื่อนเบาะรองนั่งให้พอดีก็สำคัญ ควรปรับให้เบาะรองนั่งมีระยะห่างระหว่างข้อพับเข่ากับเบาะรองนั่งประมาณ 2-3 นิ้ว โดยที่เข่ายังทำมุม 90 องศาอยู่

การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

3. ปรับระดับที่วางแขนให้พอดีกับโต๊ะทำงาน

ที่พักแขนหรือที่วางแขนควรพอดีกับโต๊ะทำงาน เพราะการวางสรีระของแขนที่ถูกต้องจะช่วยลดอาการเกร็งของคอ บ่า ไหล่ ได้เป็นอย่างดี

การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

4. ปรับเบาะรองศีรษะให้พอดีกับคอ

เบาะรองศีรษะจะช่วยให้ลำคอ และศีรษะอยู่ในท่าตรง ลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยระดับศีรษะ ระดับสายตา ควรพอดีกับระดับจอของคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ก้มหรือเงยคอมากเกินไป

การปรับท่านั่งเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

5. ปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่าง

เก้าอี้ควรสามารถปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่างได้ และต้องปรับเอนเมื่อต้องการพักผ่อนระหว่างวัน

เก้าอี้ทำงานที่ดีควรเป็นอย่างไร?

นอกจากท่านั่งที่ดีแล้ว ก็ควรเลือกเก้าอี้ที่ดีต่อสุขภาพด้วย เพราะหากเก้าอี้ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลให้การนั่งทำงานในท่าทางที่ผิดสรีระก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา และหากนั่งผิดท่านานๆ อาจทำให้เกิดอาการของกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ดังนั้นการเลือกเก้าอี้ที่ดีควรเลือกเก้าอี้ที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. ความสูงเก้าอี้ ควรเท่ากับช่วงความยาวของขาท่อนล่างบริเวณน่อง วางเท้าแล้วราบกับพื้นพอดี แต่ปัจจุบันเก้าอี้ส่วนใหญ่สามารถปรับระดับความสูงให้เหมาะกับการใช้งานตามแต่ละบุคคลได้
  2. เบาะไม่นุ่มเกินไปหรือเป็นแอ่ง เบาะเก้าอี้ที่นุ่มจนเกินไปหรือเป็นหลุมเป็นแอ่งอาจจะสบายต่อการนั่งชั่วคราว แต่ในระยะยาวอาจส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอได้
  3. ความลึกของเบาะต้องไม่มากกว่าช่วงต้นขา เพื่อให้นั่งทำงานได้อย่างสบาย
  4. พนักพิงพอดีกับแผ่นหลัง ควรนั่งให้ก้นชิดกับพนักพิงมากที่สุด เพราะหากนั่งเว้นระยะห่างกับพนักพิงมากเกินไป อาจทำให้เราต้องเอนตัวไปด้านหลังหรือด้านหน้าจะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา
  5. ระดับที่วางแขนต้องพอดี สามารถงอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี สามารถใช้ดันให้ตัวยืนตรงและค้ำพยุงเวลาลุกนั่งได้
  6. ปรับระดับได้ เก้าอี้ในปัจจุบันจะต้องปรับระดับได้หลากหลาย ทั้งความสูง ความต่ำของเบาะ การเอนไปด้านหลัง ความสูงต่ำของที่วางแขน การเอียงเข้าหรือเอียงออก

เก้าอี้เพื่อสุขภาพแบรนด์ Furradec จาก OfficeMate

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Ergonomic แบรนด์ Furradec จาก OfficeMate คิดและออกแบบมาเพื่อคนทำงานที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน สามารถปรับฟังก์ชั่นได้ครอบคลุมและตอบโจทย์การนั่งเพื่อสุขภาพ ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม ทำให้ผู้ใช้งานนั่งทำงานได้อย่างสบาย และลงตัวกับสรีระในทุกๆวัน

เก้าอี้เพื่อสุขภาพแบรนด์ Furradec จาก OfficeMate

นอกจากนี้ Furradec ยังมีเฟอร์นิเจอร์สำนักงานอื่นๆ ที่โดดเด่นในเรื่องของคุณภาพและดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน โต๊ะประชุมปรับระดับ เก้าอี้ทำงานรูปแบบต่างๆ รองรับการใช้งานและไลฟ์สไตล์ของคนทำงานทุกรูปแบบ ทั้งการทำงานที่ออฟฟิศ หรือทำงานที่บ้าน

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Henry

เฟอร์ราเดค เฮนรี่ สามารถปรับได้ทุกสัดส่วนเพื่อให้เข้ากับสรีระของผู้นั่งมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นพนักพิงศีรษะ ที่วางแขนที่ปรับได้แบบ 6D มาพร้อมเบาะนั่งทรง S แบบสามมิติ ที่สามารถปรับเลื่อนระดับได้ โดยมีวัสดุหลักคือผ้า Double-Layered Fabric ที่ให้สัมผัสนุ่มสบาย ระบายอากาศได้ดี

นอกจากนี้พนักพิงหลังและเบาะนั่งช่วยล็อกตำแหน่งของการนั่งไว้ในท่าที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานได้

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Henry

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น William

เฟอร์ราเดค วิลเลี่ยม เก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพ นั่งสบาย รองรับได้ทุกสรีระ พนักพิงแข็งแรง ยืดหยุ่นสูง รับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กก. มี Lumbar Support รองรับการเว้าของหลังส่วนล่างและปรับระดับขึ้น-ลง ได้ 7 ระดับ ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานได้ พร้อมการปรับความสูงเก้าอี้ด้วยโช๊ค Gas lift ได้การรับรองจาก American BIFMA

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น William

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Conrad

เฟอร์ราเคด คอนราด ออกแบบมาให้รองรับสรีระของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม พนักพิงศีรษะใหญ่ โค้งรับส่วนเว้าของศีรษะได้พอดี และเบาะนั่ง 3 มิติทำมุม 45 องศา ลดการกดทับ พร้อมพนักพิงเต็มแผ่นหลัง ล็อกตำแหน่งการนั่งในท่าที่ถูกต้อง ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานได้ พร้อมตัวรับน้ำหนักอัจฉริยะ รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กก.

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Conrad

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Phillippe

เฟอร์ราเคด ฟิลิปเป้ เก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพด้วยสรีระเพรียวโค้ง และที่พักแขนรูปทรงตัว Q พร้อมพนักพิงที่ปรับเอนขึ้น-ลงได้ ลดอาการบาดเจ็บจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานได้ ปรับความสูงเก้าอี้ด้วยโช๊ค Gas lift ให้ความเรียบ ลื่นในการปรับ และรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กก.

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Phillippe

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Imove-B

เฟอร์ราเคด IMOVE-B มาพร้อมที่รองศีรษะ ดีไซน์สไตล์อิตาลี ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ และมีโครงพนักที่ช่วยรองรับแผ่นหลังช่วงล่าง (Lumbar Protection Support) ปรับระดับให้เข้ากับร่างกายได้ทุกส่วน ทั้งความสูงที่วางแขน และความลึกของเบาะนั่ง พร้อมพนักพิงหุ้มตาข่ายจากเกาหลี ช่วยระบายความร้อน นั่งสบายตลอดการทำงาน

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Furradec Ergonomic รุ่น Imove-B

นอกจากนี้ยังมีเก้าอี้เพื่อสุขภาพจาก OfficeMate อีกหลากหลาย ผู้ที่สนใจดูรายละเอียดเก้าอี้เพื่อสุขภาพจาก OfficeMate สามารถดูได้ที่ HDmall.co.th เปรียบเทียบราคาเก้าอี้แต่ละรุ่น พร้อมสั่งซื้อและรับส่วนลดได้กับแอดมินที่ไลน์ @HDcoth ที่พร้อมตอบตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่งทุกวัน

รูปแบบการใช้ชีวิตของคนทำงานและพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอเป็นเวลานานๆ แม้ว่าบางช่วงอาจจะต้องทำงานที่บ้าน (Work from Home) การนั่งเก้าอี้ที่ดีต่อสุขภาพก็จะช่วยให้เราไม่เกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม เพราะหากปล่อยไว้นานโดยไม่แก้ไข อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดได้


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

ที่มาของข้อมูล

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, เลือกเก้าอี้ทำงานอย่างไรให้นั่งสบาย(https://www.thaihealth.or.th/Content/47393-เลือกเก้าอี้ทำงานอย่างไร%20ให้นั่งสบาย.html), 15 สิงหาคม 2564.

@‌hdcoth line chat