ผลไม้เป็นแหล่งพลังงานสำคัญเนื่องจากมีน้ำตาลมาก และอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร แต่ผลไม้ส่วนใหญ่จะมีโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายซึ่งมีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรงดผลไม้ทุกชนิด
สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงไม่มาก ควรรับประทานผลไม้ที่มีโปแตสเซียมต่ำในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
ผลไม้ที่กินสามารถกินได้เล็กน้อย
ผลไม้ที่มีโปแตสเซียมต่ำถึงปานกลาง รับประทานได้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ต่อวัน)
- องุ่น 10 ผล
- สับปะรด 8 ชิ้นคำ
- ส้มเขียวหวาน 1 ผล
- ชมพู่ 2 ผล
- แตงโม 10 ชิ้นคำ
- พุทรา 2 ผลใหญ่
- ลองกอง 6 ผล
- ส้มโอ 3 กลีบ
- มังคุด 3 ผล
- เงาะ 4 ผล
ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีโปแตสเซียมสูง
- กล้วย กล้วยหอม กล้วยตาก
- ฝรั่ง ขนุน ทุเรียน น้อยหน่า กระท้อน
- ลูกพลับ ลูกพรุน ลำไย
- มะม่วง มะเฟือง มะปราง มะขามหวาน
- แคนตาลูปฮันนี่ดิว
- น้ำส้มคั้น น้ำมะพร้าว น้ำผลไม้รวม น้ำแครอท
บทความแนะนำ
- การรักษาไมเกรน
- อาหาร Ketogenic Diet คืออะไร?
- 9 สาเหตุที่ทำให้เกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งกับการมีเพศสัมพันธ์
- เปรียบเทียบการกินอาหารแบบเน้นโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Eating Right for Chronic Kidney Disease. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). (https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/eating-nutrition)
- Renal Diet. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/15641-renal-diet-basics)
- Diabetes and Kidney Disease: What to Eat?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/diabetes/managing/eat-well/what-to-eat.html)