ตรวจสารเสพติด การตรวจที่ไม่ได้เกี่ยวกับกฎหมายเสมอไป!


ตรวจสารเสพติด

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสารเสพติด นิยมตรวจกันจากปัสสาวะ เนื่องจากรู้ผลไว เก็บตัวอย่างได้ปริมาณมาก แต่ในบางกรณีก็มีการตรวจเลือดเพื่อประกอบคำวินิจฉัยบ้าง
  • สารเสพติดที่ตรวจได้หลักๆ เช่น แอมเฟตามีน เบนโซไดอะซีปีน บาร์บิเชอริต กัญชา โคเคน เฟนไซคลิดีน และเมทาโดน
  • ขั้นตอนการตรวจทำโดยทำความสะอาดรอบอวัยวะเพศเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ปัสสาวะใส่อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง จากนั้นส่งตรวจได้ทันที
  • หากต้องการตรวจสารเสพติด สามารถเปรียบเทียบราคาได้ที่ HDmall หรือสอบถามแอดมินได้ทางไลน์ @hdcoth

การตรวจเสพติด เป็นหนึ่งในการตรวจที่พบได้บ่อยตามแต่สถานการณ์ แต่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับวิธีการตรวจ และไม่แน่ใจว่าควรใช้การตรวจแบบใด

ในบทความนี้ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสารเสพติดมาให้ในรูปแบบถามตอบแบบเข้าใจง่าย ดังนี้


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ คืออะไร?

การตรวจสารเสพติด (Drug test) หรือตามที่หลายคนว่า “การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด” เป็นการตรวจวิเคราะห์หาสารผิดกฎหมาย หรือสารที่ไม่ผิดกฎหมายแต่อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้

โดยปกติหากมีการเสพสารเสพติดเข้าไป ร่างกายของคุณจะพยายามกำจัดสารเคมีเหล่านั้นออกมาผ่านปัสสาวะ ซึ่งจะตรวจพบในไม่กี่วันยาวไปจนหลังหลายสัปดาห์หลังเสพสารเสพติด หากแพทย์ตรวจเจอสารเสพติดหรือสารพิษในร่างกาย ก็อาจช่วยกำหนดแนวทางการรักษาที่ปลอดภัยให้คุณได้

ตรวจสารเสพติด ราคาประหยัด

การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะเหมาะกับใคร?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะถูกใช้ค่อนข้างบ่อย โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องผิดกฏหมายเพียงอย่างเดียว ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเหตุผลที่สามารถตรวจสารเสพติดได้

  • เพื่อขอใบรับรองแพทย์ในการใช้สมัครงาน ตามแต่นโยบายของแต่ละบริษัท
  • เพื่อประกอบการวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
  • เพื่อประเมินอาการจากการใช้ยาเกินขนาด ใช้ประกอบการวินิจฉัยของแพทย์
  • เพื่อติดตามผลการรักษาจากการพยายามหยุดยา
  • ตรวจตามนโยบายบริษัท บางบริษัทอาจมีการตรวจสารเสพติดเป็นระยะเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน เช่น ผู้บริการด้านขนส่ง พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

ตรวจสารเสพติดตรวจอะไรบ้าง?

สารเสพติดบางชนิด อาจสามารถใช้ได้ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นการตรวจสารเสพติดจึงสามารถตรวจได้หลายรายการ ดังนี้

  • แอมเฟตามีน (Amphetamine) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ไม่รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกเหมือนมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมาก ซึมเศร้า และหลับนานเพื่อชดเชยพลังงานที่ร่างกายเสียไป สามารถตรวจสารเสพติดเจอได้ใน 1-3 วันหลังเสพ แต่หากใช้สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 3 สัปดาห์
  • เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) เป็นสารเสพติดส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการจิตเวชบางชนิดได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูงมากหากใช้ผิดวิธี เช่น ได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง หลอนประสาท สามารถสารเสพติดตรวจเจอได้ใน 1-3 วันหลังเสพ แต่หากใช้สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 3 สัปดาห์
  • เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) หรือ “ยาเสียสาว” เป็นยารักษาอาการทางจิตเวชชนิดหนึ่ง มีผลเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาท หากนำมาใช้ผิดวิธี หรือนอกเหนือการดูแลจากแพทย์ อาจทำให้เสียความสามารถในการตัดสินใจ กระวนกระวาย หรืออาจเสียชีวิตได้ สามารถตรวจสารเสพติดเจอได้ใน 2-5 วันหลังเสพ แต่หากใช้สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 1 เดือน
  • บาร์บิเชอริต (Barbiturate) เป็นหนึ่งในยาที่เคยใช้สำหรับคลายกังวล และรักษาอาการนอนไม่หลับ แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้วเนื่องจากมีผลข้างเคียงสูงโดยเฉพาะหากนำไปใช้ผิดวิธี เช่น พูดลิ้นพัน ง่วงซึม หยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • กัญชา (Cannabis) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย นอนหลับได้ดี แต่หากใช้ผิดวิธี หรือมากเกินไปอาจส่งผลต่อระบบความจำ ทำให้ความจำเสื่อม ร่างกายไม่ตอบสนองตามที่สมองสั่งการ และอาจนำไปสู่อาการทางจิตเวชได้ สามารถตรวจสารเสพติดเจอได้ใน 2-5 วันหลังเสพ แต่หากใช้สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 3 เดือน
  • โคเคน (Cocaine) เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic) อาการคล้ายกับแอมเฟตามีน แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่า และสั้นกว่า อาจมีผลให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง เห็นภาพหลอนและเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง สามารถตรวจสารเสพติดเจอได้ใน 1-2 วันหลังเสพ แต่หากใช้สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 3 สัปดาห์
  • เฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) เป็นสารมีฤทธิ์ระงับความรู้สึก มีผลข้างเคียงทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ตากระตุก พูดลิ้นรัว หากใช้เกินขนาดอาจทำให้ความดันสูง ชัก และเสียชีวิตได้
  • เมทาโดน (Methadone) เป็นยาบรรเทาอาการปวด และทำให้เคลิบเคลิ้มมีความสุข แต่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น หากใช้ผิดวธีจะทำให้กระวาย ง่วงซึม หรือซึมเศร้า มีฤทธิ์กดการหายใจ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้า อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ในบางโปรแกรมการตรวจ อาจรวมระดับแอลกอฮอล์ (Alcohol) อยู่ในรายการตรวจด้วย แต่ส่วนมากมักใช้เครื่องเป่าลมหายใจเช่นเดียวกับด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ตรวจสารเสพติดมีกี่วิธี

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะเป็นวิธีที่พบบ่อยที่สุด แต่บางกรณีก็อาจพบการตรวจด้วยวิธีอื่นได้ ดังนี้

1. การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ

การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • การตรวจด้วยชุดตรวจภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunoassay) เป็นการตรวจที่ไม่ได้หาสารเสพติดโดยตรง แต่เป็นการตรวจว่าสารเสพติดมีปฎิกริยาอย่างไรต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายจากแอนติเจน (Antigen-antibody)
  • การตรวจยืนยันผล เป็นการตรวจหลังจากที่ผลรอบแรกออกมาเป็นบวก หรือผลที่ออกมาในรอบแรกยังไม่ชัดเจน ผู้ที่ต้องการตรวจยืนยันผลจะได้ผลที่ละเอียดขึ้น แต่ใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากต้องนำตัวอย่างไปตรวจในห้องปฎิบัติการ และมีผู้ชำนาญการคอยกำกับดูแลด้วย

อย่างไรก็ตาม การตรวจทั้ง 2 ประเภทนี้มีโอกาสให้ผลผิดพลาดได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาหลังจากที่ใช้สารเสพติดครั้งสุดท้าย

2. การตรวจสารเสพติดในเลือด

การตรวจสารเสพติดในเลือดอาจใช้ในการตรวจบางโปรแกรม ส่วนมากมักใช้ในการยืนยันผล หรือประกอบการวินิจฉัยร่วมกับการตรวจปัสสาวะ

การตรวจเลือดนี้จะมีความแม่นยำมากกว่าในการตรวจความเข้มข้นของตัวยา โดยใช้ตัวอย่างเลือดเพียงเข็มเดียวเท่านั้น

แต่เนื่องจากการตรวจด้วยปัสสาวะใช้เวลาเร็วกว่า และสามารถบอกผลเบื้องต้นได้เหมือน จึงนิยมใช้การตรวจปัสสาวะมากกว่า

การเตรียมตัวก่อนตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ

การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ จึงสามารถตรวจได้ในหลายสถานการณ์ ทั้งตรวจแบบฉุกเฉิน นัดล่วงหน้าก่อนตรวจ หรือทำการสุ่มตรวจ

อย่างไรก็ตาม หากได้รับการตรวจในสถานการณ์ใดก็ควรแจ้งกับผู้ควบคุมดูแลถึงยา หรืออาหารเสริมที่ใช้เป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อผลตรวจได้ในบางกรณี

ขั้นตอนการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ

แม้การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะจะไม่ซับซ้อน แต่ควรทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เพื่อลดโอกาสที่ผลจะคลาดเคลื่อนมากที่สุด

  • ก่อนเริ่มตรวจ อาจมีการซักประวัติคร่าวๆ พูดคุยเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการตรวจสารเสพติด ในขั้นตอนนี้ควรแจ้งกับผู้ให้บริการถึงยา หรืออาหารเสริมที่ใช้เป็นประจำ
  • ผู้ให้บริการจะให้อุปกรณ์เก็บตัวอย่างปัสสาวะ อาจเป็นถ้วย หรือขวด
  • ผู้ให้บริการจะให้คุณเข้าไปในห้องน้ำเพื่อทำการเก็บตัวอย่าง แต่ในบางโปรแกรมตรวจ ผู้ให้บริการที่เป็นเพศเดียวกันอาจติดตามเข้าไปเพื่อให้แน่ใจว่าคุณทำการทดสอบอย่างถูกต้อง
  • ก่อนทำการเก็บปัสสาวะ อาจต้องมีการเช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ
  • ทำการปัสสาวะลงในอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง อาจใช้ปริมาณ 15-45 มิลลิลิตร ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการกำหนด
  • จากนั้นนำอุปกรณ์ที่เก็บตัวอย่างแล้วกลับไปให้ผู้ให้บริการ
  • ผู้ให้บริการจะนำไปตรวจหาสารเสพติด อาจมีการวัดอุณหภูมิของตัวอย่างก่อนซีลแพ็กเกจสำหรับนำไปทดสอบ

หากไม่แน่ใจกระบวนการเก็บตัวอย่าง หรือเผลอทำสารอะไรอย่างอื่นตกลงในอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง ควรปรึกษากับผู้ให้บริการ เพราะอาจทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนได้

นอกจากการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะแล้ว ยังมีการตรวจจากเลือดและเส้นผมด้วย ซึ่งเป็นการเจาะเลือด หรือนำตัวอย่างเส้นผมเข้าไปวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

การอ่านผลตรวจของชุดตรวจสารเสพติด

การตรวจสารเสพติดจะใช้หน่วยวัดเป็นนาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (Nanograms per mililiter: ng/mL) หากมีตัวเลขถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะถือว่าอาจมีสารเสพติดชนิดนั้นอยู่ในร่างกาย

แต่การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดเบื้องต้นมักไม่รายงานผลเป็นตัวเลข แต่จะรายงานเป็นผลบวก และลบมากกว่า ความหมายของผลตรวจ มีดังนี้

  • ผลตรวจเป็นบวก คือ พบสารเสพติดหรือพิษในร่างกาย
  • ผลตรวจเป็นลบ คือ ไม่พบสารเสพติดหรือพิษในร่างกาย

หากผลตรวจออกมาเป็นบวก หรืออาจพบสารเสพติดในร่างกาย ปรึกษาแพทย์ถึงการตรวจยืนยันผลที่ละเอียดขึ้น รวมถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะแม่นยำไหม?

การตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะมีความแม่นยำสูงมาก และถือเป็นการตรวจที่มีความน่าเชื่อถือ หากทำตามขั้นตอนและตรวจอย่างถูกวิธี

สรุปแล้ว การตรวจสารเสพติดไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องทางกฎหมาย แต่เป็นหนึ่งในแผนการตรวจที่สำคัญต่อการดูแลรักษาสุขภาพด้วย ที่สำคัญคือราคาไม่แพง และใช้เวลาไม่นาน

เช็กราคาตรวจสารเสพติด

บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Debra Stang, Urine Drug Test, (https://www.healthline.com/health/urine-drug-screen), 29 September 2018.
  • Dale Kiefer, Toxicology Screen, (https://www.healthline.com/health/toxicology-screen), 29 January 2019.
  • Cleveland Clinic, Drug Testing, (https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/10285-drug-testing), 24 July 2019.
  • WebMD Editorial Contributors, Urine Drug Tests for Illicit Drug Use, (https://www.webmd.com/mental-health/addiction/urine-tests-illicit-drug-use), 22 June 2021.
  • ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, Amphetamines, (https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Ampheta).
  • สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดชุมพร, (http://www.cmpo.moph.go.th/cmp3/attachments/article/1282/ดร.กัญชา%201-43.pdf).
  • องค์การอาหารและยา, เอกสารกำกับยาเสพติด Methadone tablet, (https://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/StandardDrugs/methadone-tablet.doc).
  • วิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในปัสสาวะ เล่มที่ 1, (https://www.bdn.go.th/attachment/download/download.php?WP=GT9gMTqCqWOchKwtpTggWapjGQIgG2rDqYyc4Uux), 2558.
  • ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, Barbiturates , (https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/barbiturate).
  • ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, โคเคน ยาเสพย์ติดตัวใหม่ (ที่ไม่ใหม่)ในสังคมไทย, (https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/poisoncenter/bulletin/bul95/v3n3/Cocain). ตุลาคม 2538.
@‌hdcoth line chat