เพื่อจะทราบว่า ค่า LDL-c หรือคอเลสเตอรอลชนิด “ตัวร้าย” (หรือตัวที่อยู่บนพาหะชนิดไม่ดี) นั้นว่ามีค่ามาก / น้อยเพียงใด
คำว่า Direct LDL-c นั้น หมายถึง เป็นคำแนะนำบอกกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ตรวจวิเคราะห์เลือดว่าให้ตรวจหาค่าจาก LDL โดยตรงมีให้ใช้วิธีที่ได้ผลมาจากการคำนวณด้วยคอเลสเตอรอลตัวอื่น
คำอธิบายอย่างสรุป
- โดยธรรมดาห้องปฏิบัติการตรวจสอบวิเคราะห์เลือดมักจะหาค่า Total cholesterol (TC) , high density lipoprotein (HDL) และ triglyceride ด้วยวิธีการวิเคราะห์ให้ได้ค่ามาโดยตรงจากข้อมูลในน้ำเลือด แต่ส่วนค่า low density lipoprotein หรือ LDL งานห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีคำนวณโดยอาศัยสูตรเนื่องจากสะดวกประหยัดและรวดเร็ว
สูตรระบุว่า
TC = HDL + LDL + 20 % TG
ดังนั้น
LDL = TC – HDL – 20 % TG
โดยเหตุนี้ LDL ที่คำนวณได้จึงถือว่าเป็น LDL (calculated) หรือ LDL ทั่วไปเนื่องด้วยจำเป็นต้องพึ่งพิงอาศัยจากข้อมูลตัวอื่น
สรุปว่า LDL ทั่วไป ไม่ใช่ Direct LDL อันเป็นค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเลือดโดยตรง
- ค่า LDL. ที่ตรวจได้และเป็นรายงานจากคลินิกหรือสถานพยาบาลโดยทั่วไปจึงควรสันนิษฐานไว้ก่อนเสมอว่าเป็น LDL ที่ได้จากการคำนวณที่เรียกว่าเป็น LDL (calculated) หรือ LDL (calc.)
- ดร. เต วาย วัง( Teh Y. Wang, Ph.D.) และคณะผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เลือกได้รายงานยืนยันความถูกต้องว่า LDL(calc.) กับ Direct LDL จะมีค่าเท่ากันหรือไม่แตกต่างกันมากเกินปกตินักก็ต่อเมื่ออยู่ในเงื่อนไขว่า triglyceride จะต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือไม่ต่ำกว่า 50 mg/dL
ฉะนั้นหากพบค่า LDL ในใบรายงานผลเลือดโดยไม่ได้ระบุว่าเป็น Direct LDL ก็ควรเหลือบสายตาสำรวจดูว่า triglyceride ในการตรวจคราวเดียวกันนั้นว่ามีค่าต่ำกว่า 50 mg/dL หรือมีค่าสูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือไม่
หากอยู่ในระหว่างเกณฑ์ ก็ถือว่า LDL พอจะน่าเชื่อถือได้บ้าง
หาก triglyceride ไม่อยู่ในเกณฑ์ก็สมควรร้องขอให้คลินิกหรือสถานพยาบาลเจาะเลือดให้ใหม่โดยระบุชัดว่าต้องการตรวจหาค่า Direct LDL
เพื่อให้ทราบค่าที่ถูกต้องตรงกับความจริง
กรณีตัวอย่าง ดร. เต วาย วัง ได้แสดงตัวเลขจริงจากผู้ป่วยชายหนึ่งในไต้หวันซึ่งตรวจค่าผลเลือดชั้นต้นพบว่า
TC = 262 mg/dL
HDL = 79 mg/dL
TG = 55 mg/dL
สิ่งที่ต้องการทราบคือค่า LDL (โปรดสังเกตว่า TG มีค่ามากกว่า 50 mg/dL ตามเงื่อนไขแต่ก็มากกว่านิดเดียว)
วิธีการคำนวณหาLDL (calc.)
สูตร
นั่นคือ LDL ทั่วไปหรือ LDL (calc.) จะมีค่าเท่ากับ 172 md/dL
แต่เมื่อ ดร. วัง ได้วิเคราะห์ LDL จากเลือดโดยตรงของผู้ป่วยรายนี้หรือที่เรียกว่า Direct LDL กลับปรากฏว่ามีค่าเพียง 126 mg/dL
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าค่า LDL โดยทั่วไปที่ได้จากการคำนวณอาจจะมีการเบี่ยงเบนผิดไปมากจากค่าแท้จริงที่หาได้โดยการวิเคราะห์จากน้ำเลือดโดยตรงจนได้ค่าที่เรียกว่า Direct LDL
สรุปว่า หากสถานพยาบาลใดหรือคลีนิกใดมีขีดความสามารถที่จะหาค่า Direct LDL ได้ก็สมควรระบุให้แน่ชัดดีกว่าไม่ระบุเพราะอาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นค่า LDL เฉยเฉยซึ่งได้มาจากการคำนวณ
- หลักเกณฑ์และวิธีการลดค่า LDL ลงซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของผู้รักสุขภาพทั้งหลายนั้น ผมใคร่จะเสนอแนวทางตามคำแนะนำของท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ฮาร์วีย์ บี ไซมอน (Harvey B. Simon, M.D.) แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปเกี่ยวกับการลดLDL ไว้ดังนี้
ก. รู้จักเลือกอาหารกล่าวคือ
- รู้จักว่าอาหารชนิดใดมีค่าคอเลสเตอรอลสูงอยู่ในตัวมันเองก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคแต่พอสมควรเช่นปลาหมึก ไข่ กุ้ง หอย
- หลีกเลี่ยงไขมันชนิดอิ่มตัวซึ่งมีเปอร์เซ็นต์มากใน
- เนื้อสัตว์ (แม้แต่ไขมันที่แทรกในเนื้อสเต๊ก เนื้อแดง)
- ในนมและเนย
- ในน้ำมันปาล์มและ
- ในน้ำมันมะพร้าวหรือกะทิ
- LDL และ HDL ทั้งนี้ย่อมหมายรวมถึงค่า TC ก็จะสูงขึ้นด้วย
งดเว้นอาหารที่มีไขมันชนิดทรานส์ (trans fat) ได้แก่ เนยเทียม (margarine) และบรรดาผงฟูใส่ขนมฝรั่งทุกชนิด ไขมันประเภทนี้ จะเพิ่มค่า LDL และลดค่า HDL อย่างน่าตกใจ - หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงในการปรุงทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้แก่บรรดาอาหารในร้าน “fast foods” ชื่อฝรั่งทั้งหลาย
- ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีสารเส้นใย (fiber) ให้มากในแต่ละมื้อและแต่ละวันอาหารเส้นใยก็คืออาหารที่มีจุดเริ่มต้นไม่ได้มาจากสัตว์ เช่นผัก ผลไม้ทุกชนิด
ข. แบ่งเวลาให้ตนเองในการออกกำลังกายควรเลือกชนิดที่เหนื่อยและต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาทีวิธีการนี้จะรถทั้ง LDL และเพิ่มHDL ไปด้วยพร้อมๆกัน
ค. ลดน้ำหนักตัวเอง
ง. หากสูบบุหรี่ต้องเลิก (ไม่ใช่หมดชั่วคราว)
จ. กินยาในกรณี LDL สูงมากจนน่าวิตก
หากปฏิบัติในข้อ ก.-ง. ได้อย่างจริงจังก็ควรจะเห็นผลไม่จำเป็นต้องหลุดลงมาถึงข้อ จ.
- แม้ว่าค่า LDL จะค่อนข้างแกว่งตัววูบวาบ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีความสัมพันธ์กับค่าอื่นคือ TC, HDL และ TG เนื่องจากLDL นั้นต้องอยู่ในกรอบหรือขอบเขตของสูตร
TC = HDL + LDL + 20 % TG
โดยเหตุนี้ท่านผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจึงได้พิจารณาใช้อัตราส่วนระหว่าง LDL ต่อ HDL ก็คล้ายคลึงกับอัตราส่วน TC ต่อ HDL ที่เคยกล่าวถึงมาแล้ว
ตารางแสดงอัตราส่วน LDL : HDL แสดงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ค่าความเสี่ยง | อัตราส่วน LDL : HDL (หรือ LDL : HDL) | |
ชาย | หญิง | |
ครึ่งของอัตราเฉลี่ย
อัตราเฉลี่ย สองเท่าของอัตราเฉลี่ย สามเท่าของอัตราเฉลี่ย |
1
3.6 6.3 8.0 |
1.5
3.2 5.0 6.1 |
มีข้อสังเกต ให้ท่าผู้อ่านร่วมพิจารณาในประเด็นสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ
- การตรวจสอบอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ (CHD) โดยใช้อัตราส่วน TC : HDL และ LDL : HDL นั้น เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ท่านผู้อ่านสามารถคำนวณได้เอง เพียงแต่ให้ความสนใจในการเก็บรักษา และรู้จักอ่านค่าต่างๆ ในใบรายงานแสดงผลเลือดแต่ละครั้ง เรียกว่า เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเอง ให้มากขึ้นเท่านั้น
- ตัวเลขแสดงค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (CHD) ที่ท่านผู้อ่านสามารถคำนวณได้เอง ซึ่งเป็นค่าที่อาจจะสูงหรือต่ำเพียงใดก็ตาม
โปรดพึงระลึกไว้เสมอว่า มิใช่เป็นข้อวินิจฉัยชี้ขาดสุดท้าย แต่เป็นเพียงตัวเลขที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเฝ้าระวัง (monitoring) สำหรับตัวท่านเอง
ในกรณี หากปรากฏพบตัวเลขใดที่ผิดปกติ ท่าก็จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยตามขั้นตอนต่อไป
ค่าปกติของ Direct LDL-c
- ให้ยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติของชายหญิง
ค่าที่วัด | Direct LDL-c (mg/dL) ชาย | Direct LDL-c (mg/dL) หญิง |
ปกติ | < 100 | < 110 |
เกือบดี | 110 – 129 | 110 – 129 |
เข้าเขตสูง | 130 – 159 | ≥ 130 |
สูง | 160- 189 | |
สูงมาก | ≥ 190 |
- หากมีการตรวจหาค่า LDL ด้วย
ค่าปกติ VLDL (ชาย/หญิง) : 7 – 32 mg/dL
ค่าผิดปกติ
- ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
- อาจมีเหตุมาจากพันธุกรรม
- อาจเกิดสภาวะ ร่างกายมีโปรตีนต่ำ (hypoproteinemia) ซึ่งอาจเกิดจากการดูดซึมอาหารของลำไส้ได้น้อยกว่าปกติ หรืออาจเกิดบาดแผลจากไฟลวกอย่างร้ายแรง หรือบริโภคอาหารที่มีโปรตีนต่ำเกินไป
- อาจเกิดสภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ทำให้เกิดการแยกสลาย (catabolism) LDL และ VLDL มากเกินไป เป็นผลให้ลดจำนวน LDL ในกระแสเลือดลง
- ในทางมาก อาจแสดงผลว่า
- อาจมีเหตุมาจากพันธุกรรม
- อาจเกิดจากไตทำงานผิดปกติ โดยปล่อยทิ้งสารอาหารโปรตีนเกนปกติทางปัสสาวะ จึงมีผลไปกระตุ้นตับให้เร่งผลิต LDL ให้มีขึ้นมากกว่าปกติ
- อาจเกิดโรค “von Giek disease” ซึ่งเกิดจากปัญหาที่ร่างกายมีเอนไซม์จากโปรตีนต่ำ ทำให้สลายไกลโคเจน (glycogen) อันเป็นน้ำตาลที่สะสมออกมาใช้งานไม่ได้ เป็นเหตุให้ตับต้องผลิต VLDL และ LDL เพิ่มจำนวนออกมาช่วย
- อาจดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป
- อาจเกิดโรคตับเรื้อรัง ทำให้ตับทำลาย LDL ด้วยประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น