ขริบไร้เลือด เทคนิคขริบปลายอวัยวะเพศชายแบบใหม่ที่ง่าย และรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม


การขลิบไร้เลือด

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Male Circumcision) หรือที่มักเรียกสั้นๆ ว่า “การขริบ” เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญสำหรับผู้ชายหลายๆ คน

อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้ก็มีชื่อเสียในวงกว้างในฐานะการผ่าตัดที่ทำให้ผู้ชายรวมถึงเด็กหลายคนต้องทุกข์ทรมานกับแผลหลังผ่าตัดที่เจ็บมาก ทำให้เดินลำบากอยู่ระยะหนึ่ง และยังเสี่ยงเกิดปัญหาแผลอักเสบได้อีก

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้คุณผู้ชายหลายคนไม่ค่อยอยากเข้ารับบริการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมากนัก ถึงแม้มันจะมีประโยชน์ด้านสุขอนามัยที่ดีต่อร่างกายอยู่หลายอย่างก็ตาม

แต่ในปัจจุบัน วงการแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคนิคการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบใหม่ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า “ขริบไร้เลือด” ซึ่งเป็นวิธีการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายโดยที่แทบไม่ทำให้เกิดอาการเลือดออกระหว่างผ่าตัดแต่อย่างใด

เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีอีกข่าวสำหรับคุณผู้ชายหลายคนที่กำลังพิจารณาเข้ารับบริการขริบปลายอวัยวะเพศอยู่ ซึ่งในบทความนี้ HDmall.co.th จะพาคุณผู้ชายและผู้ที่สนใจไปเจาะลึกเกี่ยวกับเทคนิคการขริบไร้เลือดพร้อมๆ กัน


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


ขริบไร้เลือดคืออะไร?

ขริบไร้เลือด คือ วิธีการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบใหม่ ผ่านการใช้อุปกรณ์พิเศษ หรือ The Circular Stapler ขริบตัดหนังปลายอวัยวะเพศชายและเย็บแผลด้วยวัสดุที่แข็งแรงในกระบวนการเดียวกัน นอกจากนี้ตัวอุปกรณ์ยังสามารถห้ามเลือดได้ ส่งผลให้ปากแผลหลังจากตัดหนังหุ้มอวัยวะเพศได้รับการปิดเย็บโดยทันทีหลังทำ จึงไม่มีเลือดออก หรือเลือดออกน้อยมากๆ

ความหมายของการขริบไร้เลือด
ตัวอย่างลักษณะและอุปกรณ์ขริบไร้เลือด

ขริบไร้เลือดเหมาะกับใคร

กลุ่มผู้เข้ารับบริการที่เหมาะต่อการขริบไร้เลือด แทบจะเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ที่ต้องการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศด้วยเทคนิคดั้งเดิม ได้แก่

  • ผู้ที่นับถือศาสนาที่เคร่งเกี่ยวกับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เช่น ศาสนาอิสลาม ผู้ที่มีเชื้อสายยิว
  • ผู้ที่มีความผิดปกติบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต เช่น ผู้ที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิดเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ผู้ที่มีภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ ผู้ที่มีภาวะหนังหุ้มปลายหดรัดลำองคชาต ผู้ที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศยาว ทำให้รู้สึกเจ็บระหว่างสวมใส่กางเกง
  • ผู้ที่อยากลดความเสี่ยงการเกิดอาการผิดปกติบริเวณปลายอวัยวะเพศชาย เช่น โรคมะเร็งองคชาต ภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ภาวะปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ (Balanitis)
  • ผู้ที่อยากรักษาสุขอนามัยอวัยวะเพศชายได้ง่ายขึ้น

ขริบไร้เลือดไม่เหมาะกับใคร

แม้จะเป็นเทคนิคที่ช่วยอำนวยความสะดวกและลดโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ดี แต่การขริบไร้เลือดก็อาจไม่เหมาะกับกลุ่มผู้ที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ยังไม่พร้อมต่อการขริบหนังอวัยวะเพศ ยังรู้สึกกลัวหรือกังวลกับเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่อยู่ ควรปรึกษาแพทย์ให้รู้สึกสบายใจและพร้อมต่อการรับบริการเสียก่อน
  • ผู้ที่กลัวความเจ็บปวด แม้จะเป็นเทคนิคการขริบแบบใหม่และมีเครื่องมือที่ทันสมัยเป็นตัวช่วย แต่การขริบไร้เลือดก็จะอาจสร้างความรู้สึกเจ็บหรือระบมแผลได้อยู่บ้าง
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาชา เพราะก่อนรับบริการ แพทย์จะมีการฉีดยาชาบริเวณอวัยวะเพศเพื่อลดอาการเจ็บให้
  • ผู้ที่กำลังเป็นโรคเกี่ยวกับระบบผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศชาย ต้องรักษาผิวให้หายเสียก่อน
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ ควรรักษาให้หายเสียก่อน หรือปรึกษาแพทย์เก่อนตัดสินใจรับบริการ
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด การแข็วของเลือด หรือที่เกี่ยวข้องกับลิ่มเลือด ต้องปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจรับบริการ
เช็กราคาขริบไร้เลือด

ข้อดีของการขริบไร้เลือด

การขริบไร้เลือดมีจุดเด่นที่น่าสนใจและมีข้อได้เปรียบที่ดีกว่าการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบดั้งเดิมหลายอย่าง เช่น

  • ลดโอกาสเกิดแผลอักเสบหรือติดเชื้อ เนื่องจากเป็นการใช้อุปกรณ์ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศและเย็บปิดแผลในทันที ไม่มีการผ่าตัดเปิดแผลจนเกิดเลือดออกแล้วค่อยเย็บปิดแผลด้วยไหมผ่าตัดเหมือนเทคนิคแบบดั้งเดิม ซึ่งเสี่ยงเกิดอาการข้างเคียงได้มากกว่า
  • แนวแผลสวยงามกว่า โดยแทบจะไม่มีร่องรอยของการกรีดเย็บเหมือนเทคนิคเก่า และยังช่วยให้ทำความสะอาดแผลได้ง่ายกว่าเดิมด้วย
  • ลดอาการเจ็บแผลได้ดีกว่า เนื่องจากไม่ใช่การผ่าตัดกรีดเปิดแผลที่ลึกเหมือนเทคนิคแบบดั้งเดิม จึงทำให้ผิวไม่ระบมเจ็บจากการผ่าตัดมากนัก
  • แผลหายเร็ว ไม่ต้องพักฟื้นนาน โดยแผลจากการขริบไร้เลือดมักจะหายดีและแห้งภายใน 1 สัปดาห์
  • ใช้ระยะเวลาผ่าตัดไม่นาน เพียงประมาณ 15-20 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย
  • มีอุปกรณ์ให้เลือกได้หลายขนาด ทำให้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ตั้งแต่เด็ก 4 ขวบขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่
  • ยังคงประสิทธิภาพด้านการป้องกันโรคติดต่อและสุขอนามัยของอวัยวะเพศได้ดี แทบไม่ต่างจากวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม

ขริบไร้เลือดเจ็บไหม?

ก่อนรับบริการขริบไร้เลือด แพทย์จะฉีดยาชาให้กับผู้เข้ารับบริการก่อน เพื่อลดความรู้สึกเจ็บระหว่างรับบริการให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อยาชาหมดฤทธิ์แล้ว ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกเจ็บระบมบริเวณส่วนปลายอวัยวะเพศได้บ้างในช่วง 3-4 วันแรกหลังรับบริการ

ขริบไร้เลือดพักฟื้นกี่วัน?

การขริบไร้เลือดมักใช้ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 7-10 วัน โดยในระหว่างนี้ ผู้เข้ารับบริการอาจสังเกตเห็นอาการบวมที่บริเวณส่วนปลายอวัยวะเพศได้บ้าง ร่วมกับมีอาการปวดเจ็บแผล ซึ่งสามารถประคบเย็นและกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

การเตรียมตัวก่อนขริบไร้เลือด

ก่อนวันรับบริการขริบไร้เลือด ผู้เข้ารับบริการจะต้องดูแลสุขภาพโดยรวมและสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศให้พร้อมต่อการรับบริการ โดยสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • พิจารณาเข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ เพราะการขริบไร้เลือดจัดเป็นเทคนิคการขริบแบบใหม่ซึ่งมีการใช้เครื่องมือพิเศษในการให้บริการ จึงจะต้องกระทำผ่านแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือขริบแบบไร้เลือดเท่านั้น
  • แจ้งโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา รวมถึงแจ้งยาประจำตัว วิตามินเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพให้แพทย์ทราบอย่างครบถ้วน เพราะอาจจะจะต้องมีการงดกินยาบางชนิดล่วงหน้าหลังผ่าตัด
  • พาญาติหรือคนสนิทสำหรับพากลับบ้าน หากไม่แน่ใจถึงอาการเจ็บหลังผ่าตัดจนไม่สามารถขับรถกลับไปพักที่บ้านเองได้ตามลำพัง
  • สวมใส่กางเกงที่ใส่สบาย ไม่รัดรูปมากเกินไป
  • สอบถามทางสถานพยาบาลเกี่ยวกับการโกนขนและการทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนเดินทางมาใช้บริการ

ขั้นตอนการขริบไร้เลือด

  • แพทย์ตรวจและวัดขนาดหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศชายที่จะตัดออก
  • แพทย์ฉีดยาชาบริเวณอวัยวะเพศเพื่อป้องกันอาการเจ็บ
  • แพทย์เปิดปากหนังหุ้มตรงส่วนปลายอวัยวะเพศ เพื่อใส่หัวครอบของเครื่องมือสำหรับขริบหนังหุ้มลงไปที่หัวองคชาตด้านใน โดยตำแหน่งขอบของหัวครอบจะอยู่ที่ร่องหัวองคชาตหรือตามตำแหน่งที่แพทย์กำหนด
  • แพทย์ใส่อุปกรณ์ส่วนที่เหลือซึ่งสำหรับใช้ตัดหนังหุ้มส่วนปลายตามลงไป
  • แพทย์กดที่ตัวอุปกรณ์เพื่อให้ทำการตัดหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศออก
  • แพทย์ถอดตัวอุปกรณ์ออกจากส่วนปลายอวัยวะเพศ
  • แพทย์ตรวจดูความเรียบร้อยของแผล และกดแผลด้วยผ้าก๊อซ 1-2 นาทีเพื่อห้ามเลือดที่อาจไหลออกมาบริเวณปลายขอบผิวอวัยวะเพศส่วนที่ถูกตัดออกไป
ขั้นตอนการขริบไร้เลือด
ขั้นตอนการขริบไร้เลือด

การดูแลตัวเองหลังขริบไร้เลือด

เพื่อลดอาการปวดเจ็บแผลและเพื่อสุขอนามัยที่ดีของแผล ผู้เข้ารับบริการควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • อย่าให้แผลโดนน้ำในช่วง 3 วันแรก หากแผลเปียกน้ำให้รีบเช็ดให้แห้งทันที
  • สวมใส่กางเกงในที่ใส่สบายในช่วง 2-3 วันแรก
  • หากรู้สึกปวดเจ็บแผลให้ประคบเย็นหรือกินยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งจ่ายเพื่อบรรเทาอาการ
  • งดมีเพศสัมพันธ์ งดการช่วยตัวเอง รวมถึงงดกิจกรรมที่ต้องมีการกดทับบริเวณอวัยวะเพศ เช่น การขี่จักรยานไปก่อนในช่วง 1-2 เดือนแรก หรือตามที่แพทย์แนะนำ
  • โดยปกติวัสดุเย็บแผลจากการขริบไร้เลือดจะหลุดหรือละลายออกจากผิวไปเอง อย่างไรก็ตาม แพทย์จะยังนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการเข้ามาตรวจดูความเรียบร้อยของแผลอยู่ดังเดิม
  • ทาเจลหรือขี้ผึ้ง ป้องกันอาการองคชาตเหนียวจนรู้สึกไม่สบายแผล หรือหากไม่มี ให้ลองปรึกษากับแพทย์เพื่อขอให้ทางสถานพยาบาลสั่งจ่ายให้หลังรับบริการ
เช็กราคาขริบไร้เลือด

ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายของการขริบไร้เลือด

หากคุณเผชิญกับอาการเหล่านี้หลังจากรับบริการขริบไร้เลือดแล้ว ให้รีบเดินทางกลับมาพบแพทย์ทันที

  • ยังรู้สึกตึงหรือเจ็บระบมแผลมาก และอาการไม่บรรเทาลงเลยแม้ผ่านวันผ่าตัดมาหลายวันแล้ว
  • แผลมีเลือดออกมาก
  • แผลบวมขึ้นกว่าเดิม
  • มีน้ำหนองไหลออกมาจากแผล หรือแผลมีกลิ่นเหม็น
  • พบหนังหุ้มปลายบางส่วนยังติดอยู่ที่ปลายอวัยวะเพศ
  • รู้สึกผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทที่อวัยวะเพศ เช่น สัมผัสองคชาตแล้วไม่มีความรู้สึก ความรู้สึกทางเพศลดลง

ไม่ขริบหนังหุ้มปลายได้ไหม?

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเป็นความสมัครใจส่วนบุคคล ไม่ใช่การผ่าตัดเชิงบังคับหรือที่จำเป็นต้องทำในผู้ชายทุกคน เพียงแต่เป็นอีกแนวทางการรักษาสุขอนามัยและโอกาสเกิดโรคบางชนิดในเพศชายเท่านั้น

หากคุณไม่ใช่กลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาหรือเชื้อชาติที่มีกฎต้องขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศทุกคน และไม่สะดวกที่จะรับบริการนี้ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางในการดูแลความสะอาดอวัยวะเพศชายด้วยวิธีอื่นๆ ได้

เช็กราคาแพ็กเกจบริการขริบไร้เลือดผ่านแพ็กเกจเพื่อสุขภาพและความงามที่เว็บไซต์ HDmall.co.th หากคุณกำลังมองหาแพ็กเกจขริบปลายอวัยวะเพศชายด้วยเทคนิคใหม่ที่ดูแลแผลง่าย ช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า

หากมีข้อสงสัย สามารถแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางแอดมินของเว็บไซต์ได้ รวมถึงสามารถสอบถามราคาโปรโมชั่นแพ็กเกจ เพื่อให้คุณได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพในราคาที่คุ้มค่ายิ่งกว่า


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Mayo Clinic, Circumcision (male) (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/circumcision/about/pac-20393550#:~:text=at%20Mayo%20Clinic-,Risks,might%20result%20in%20foreskin%20problems), 7 April 2022.
  • National Library of Medicine, Adult male circumcision with a circular stapler versus conventional circumcision: A prospective randomized clinical trial (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4470318/), 7 April 2022.
  • NHS, Circumcision in men (https://www.nhs.uk/conditions/circumcision-in-men/), 7 April 2022.
  • Gentle Clinic, ขลิบไร้เลือดขลิบคลิกเดียว (https://gentleclinic.co.th/men/circumcision/), 7 เมษายน 2565.
  • โรงพยาบาลพญาไท 3, การขลิบ แบบ Stapler Circumcision เจ็บน้อย หายเร็ว ปลอดภัย (https://gentleclinic.co.th/men/circumcision/), 7 เมษายน 2565.
  • โรงพยาบาลพชรเวช, ขลิบไร้เลือดกับโรงพยาบาลเพชรเวชดีอย่างไร (https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Staple-Circumcision), 7 เมษายน 2565.
@‌hdcoth line chat