Ovulation Calculator
วิธีใช้โปรแกรม
- กรอกวันแรกที่เพิ่งมีประจำเดือน
- เลือกระยะเวลามีประจำเดือน (ปกติอยู่ที่ 28 วัน)
- กดคำนวณ
ผลคำนวณในโปรแกรม
- คำนวณระยะเวลาไข่ตก
- วันที่โอกาสไข่ตกมากที่สุด
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อตั้งครรภ์
- วันที่ควรทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยชุดอุปกรณ์
- วันที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งต่อไป
กระบวนการมีประจำเดือนและไข่ตก
ระบบสืบพันธุ์ภายในของเพศหญิงจะประกอบไปด้วยมดลูกที่มีรูปทรงคล้ายชมพู่และมีท่อนำไข่อยู่ทั้ง 2 ข้างของมดลูกเชื่อมต่อไปยังรังไข่ที่มีหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง
รังไข่ทั้ง 2 ข้างของมดลูกจะสลับกันผลิตไข่เดือนละ 1 ฟอง เพื่อรอการผสมจากอสุจิของเพศชาย ไข่ที่สุกพร้อมรับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวออกมายังท่อนำไข่ กระบวนการนี้เรียกว่า “การตกไข่” ซึ่งค่าเฉลี่ยจะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 15 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก
ในขณะเดียวกัน มดลูกจะสร้างผนังภายในให้หนาขึ้นเพื่อรอให้ไข่ที่รับการผสมแล้วมาฝังตัวจนเกิดการตั้งครรภ์ ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้จะทำให้อสุจิมีโอกาสเข้ามาผสมกับไข่ได้มาก แต่หากไม่มีการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่ จะทำให้ไข่สลายตัวและหลุดออกมาเป็นประจำเดือนพร้อมกับผนังภายในมดลูกที่สร้างขึ้นมา กระบวนการนี้โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้นทุก 28 วัน
ทำไมเราจึงควรบันทึกวันประจำเดือน
การบันทึกรอบเดือนทำให้สามารถคำนวณเบื้องต้นได้ว่าวันตกไข่จะอยู่ในช่วงไหนของเดือน ซึ่งเป็นประโยชน์กับการวางแผนเพื่อป้องกันหรือทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการบันทึกเพื่อดูว่าประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือไม่ หากไม่ปกติก็สามารถสังเกตได้ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์เมื่อต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ เพื่อจะได้หาสาเหตุของประจำเดือนมาไม่ปกติได้อย่างแม่นยำขึ้น และแก้ไขได้ทันเวลา
สัญญาณเตือนว่ากำลังอยู่ในภาวะไข่ตก
ผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงตกไข่จะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนเป็นเพียงอาการเดียว บางคนอาจเป็นร่วมกันหลายอาการ ดังนี้ ปวดท้องน้อย ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการปวดหรือเสียดบริเวณท้องน้อย มีมูกใสบริเวณช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้บ่อยขณะตกไข่ มีเลือดออกเล็กน้อยบริเวณช่องคลอดเจ็บหน้า เจ็บบริเวณเต้านม
โปรแกรมคำนวณแนะนำ