เคราติน

เคราติน (Keratin) คืออะไร?

เคราติน (Keratin) คือ เส้นใยผิวหนังชนิดหนึ่งที่อยู่บริเวณหนังกำพร้าของคนเรา เป็นเซลล์ที่ผิวหนังสร้างขึ้นจากเซลล์เยื่อบุผิวหนังและอัดแน่นเป็นแผ่นบางใสในชั้นนอกสุดซึ่งเรียกว่า “หนังขี้ไคล”

เคราตินสามารถพบได้ทั่วไปในสัตว์ต่างๆ ที่บริเวณผิวหนัง ขน และเล็บ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่มีผิวหนังและมีขน จำเป็นต้องอาศัยเคราตินปกหุ้มเพื่อป้องกันสารต่างๆ และสร้างความแข็งแรงให้กับผิวหนัง ขน และเล็บ

ประโยชน์ของเคราติน

  • ช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆ เข้าสู่ร่างกายที่อาจมากเกินไป
  • ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)
  • ป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวหนัง
  • เป็นสารอาหารหลักสำหรับกระบวนการงอกใหม่ของเส้นผม
  • สร้างความยืดหยุ่นให้กับเซลล์ชั้นผิวหนัง

เคราตินเล็บ

เล็บของคนเราและสัตว์ต่างๆ จัดเป็นเคราตินชนิดแข็ง มีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่อนิ้วส่วนปลาย เนื่องจากปลายนิ้วเป็นบริเวณที่รับความรู้สึกได้ดีและเร็ว

เคราตินผม

เคราตินเป็นส่วนประกอบโดยตรงของเส้นผม หากซูมเข้าไปใกล้ๆ เส้นผม จะเห็นการเรียงตัวกันคล้ายๆ หน่อไม้ซ้อนๆ กันไป หรือมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา

หากการเรียงตัวของเคราตินมีความผิดปกติ จะส่งผลให้เส้นผมเสียหายง่าย ขาดง่าย หรือทำให้เส้นผมแข็งกระด้าง เพราะเคราตินมีหน้าที่หลักคือ การควบคุมสารต่างๆ เข้าสู่ภายในเซลล์เส้นผม

ดังนั้นสินค้าบำรุงผมหลายยี่ห้อ ทั้งแชมพูและครีมนวดผมจึงนิยมผสมเคราตินลงไปด้วย ส่วนวิธีการที่ทำให้เคราตินเข้าสู่เส้นผมได้ดีนั้นคือ การเปิดเกล็ดผมด้วยความร้อน เช่น การอบไอน้ำ

น้ำมันหล่อเลี้ยงผิวในเคราติน

แผ่นบางใสของหนังขึ้ไคลจะมีรูขนาดเล็กเพื่อให้น้ำมันเข้ามาหล่อเลี้ยงผิว ซึ่งน้ำมันนี้เกิดจากเซลล์ผิวหนัง หรือจากต่อมไขมันของร่างกาย โดยน้ำมันจะออกมาเคลือบผิวชั้นขี้ไคลอีกชั้น

ผิวแต่ละบุคคลจะสร้างน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวให้เหมาะสมแตกต่างกันไปตามลักษณะผิว สำหรับคนที่ผิวหนังปกติ การทำความสะอาดร่างกายที่บ่อยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการล้างหน้า ล้างมือ หรืออาบน้ำ จะทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการคันได้

อาหารสำหรับบำรุงเคราติน

หากไม่อยากให้เส้นผมแตกแห้ง ชี้ฟูไม่เป็นทรง หรือมีผิวแห้ง แตก หรือลอกจนเป็นขุยและมีเล็บที่ไม่แข็งแรง ควรหาสารอาหารมาบำรุงและสร้างเคราตินในร่างกายให้เพียงพอ

สารอาหารประเภทที่สามารถช่วยให้ร่างกายสร้างเคราตินขึ้นมาได้มากก็คือ สารอาหารประเภทโปรตีน เช่น

  • ไข่
  • เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา หมู ไก่
  • โยเกิร์ต
  • นม

หากคุณเป็นคนที่รับประทานสังสวิรัติ หรือไม่ชอบรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ คุณสามารถหาแหล่งโปรตีนได้จากตัวอย่างอาหารต่อไปนี้

นอกจากนี้เคล็บลับที่จะช่วยให้สามารถรักษาเคราตินในร่างกายไว้ได้ก็คือ หลีกเลี่ยงการดัดผม ทำสีผม หรือยืดผมเป็นเวลานานๆ หรือบ่อยครั้งเกินไป เพราะจะเป็นการทำให้เคราตินธรรมชาติบนหนังศีรษะละลายหายไปหมด

ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนในการทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย ไม่ล้างหน้า ล้างมือ หรืออาบน้ำ บ่อยครั้งเกินไปในแต่ละวันเพราะจะทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการคันได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำความผิวหน้าและผิวกายด้วยน้ำอุ่นจัด

หากมีเส้นใยเคราตินในร่างกายที่เพียงพอ สุขภาพผิวและผมที่ดีก็ย่อมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม รวมไปถึงความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ และเส้นผมที่เคราตินจะช่วยปกป้องให้มีความคงทนมากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องโดย ดร. นพ. ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล

Scroll to Top