short stature and growth hormone disease definition scaled

พ่อแม่อย่าวางใจ ลูกเตี้ย ลูกโตช้า ลูกอาจมีภาวะขาดโกรทฮอร์โมน

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยในพัฒนาการทางด้านร่างกาย และส่วนสูงในเด็ก หากเด็ก ๆ มีโกรทฮอร์โมนในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างสมวัย 

ในทางตรงกันข้าม หากเด็ก ๆ ขาดฮอร์โมนชนิดนี้อาจทำให้เด็ก ๆ ตัวเล็ก ตัวเตี้ย และมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ช้า และด้อยกว่าเด็กคนอื่น โกรทฮอร์โมนเลยเป็นฮอร์โมนสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย

รู้จักกับโกรทฮอร์โมนให้มากขึ้น

โกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมขนาดจิ๋วบริเวณสมองส่วนหน้าที่มีชื่อว่าต่อมใต้สมองและส่งเข้าสู่กระแสเลือด

ปกติแล้ว ร่างกายคนเราจะหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่จะหลั่งออกมามากหลังจากนอนหลับสนิทไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน คือ 

ช่วยในการเจริญเติบโต

โกรทฮอร์โมนฮอร์โมนมีส่วนสำคัญในการพัฒนาของเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกในเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงช่วงวัยรุ่น 

ระดับโกรทฮอร์โมนที่เหมาะสม และเพียงพอจะช่วยให้เด็กสามารถสูงได้เรื่อย ๆ จนกระทั่งกระดูกปิด หรือกระดูกหยุดเพิ่มความยาว แต่ยังทำให้กระดูกกว้างและหนาได้ และยังช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ขยายขนาด เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ 

ช่วยเรื่องการเผาผลาญพลังงาน

โกรทฮอร์โมนมีหน้าที่ในการจัดการกับพลังงาน หรือระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อย่างการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเด็กขาดโกรทฮอร์โมน?

เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก เมื่อร่างกายเด็กอยู่ในภาวะที่โกรทฮอร์โมนต่ำจะส่งผลต่อการเติบโตตามวัย และปัญหาด้านร่างกายอื่น ๆ ได้ เช่น

เติบโตช้า ดูเด็ก และเตี้ยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน เด็กจะมีใบหน้าดูอ่อนกว่าเด็กวัยเดียวกัน รูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน ความสูงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่เพศและอายุเดียวกัน แต่ภาวะขาโกรทฮอร์โมนจะไม่กระทบกับน้ำหนักตัวและระดับสติปัญญาของเด็ก

เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นช้ากว่าเด็กคนอื่น เช่น ประจำเดือนในเด็กผู้หญิงมาช้า ขนขึ้นตามร่างกายช้ากว่าคนอื่น ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงร่างกายด้านอื่น ๆ ในรายที่รุนแรงอาจไม่สามารถเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ตามช่วงอายุปกติได้

การขาดโกรทฮอร์โมนจะทำให้การเจริญเติบโตของลูกไม่สมวัย สัญญาณในข้างต้นจึงเป็นหนึ่งในสัญญาณที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต และให้ความสำคัญ

สาเหตุของการขาดโกรทฮอร์โมนในเด็ก?

ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone Deficiency) เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมองพิทูอิทารี (Pituitary gland) และต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamas) 

บางครั้งระดับฮอร์โมนปกติ แต่อาจมีภาวะดื้อต่อโกรทฮอร์โมน ทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานไม่ได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเป็นมาตั้งแต่เกิด หรืออาจเกิดขึ้นภายหลัง

ความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่เกิด เช่น ต่อมใต้สมองเล็ก มีรูปร่างผิดปกติ โรคทางพันธุกรรมที่กระทบต่อโกรทฮอร์โมน และบางครั้งอาจไม่รู้สาเหตุ 

ส่วนความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น การบาดเจ็บภายในสมอง ก้อนเนื้องอกไปกดต่อมใต้สมอง อุบัติเหตุและการบาดเจ็บในศีรษะอย่างรุนแรง การผ่าตัดสมอง และการรับรังสีรักษาบริเวณต่อมใต้สมอง

ภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในเด็กเป็นปัญหาสุขภาพที่ควรได้รับการแก้ไข เพราะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การตรวจและประเมินพัฒนาการในเด็ก จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

การรักษาเมื่อลูกขาดโกรทฮอร์โมน

เด็กที่คุณหมอวินิจฉัยแล้วว่ามีภาวะขาดโกรทฮอร์โมน จะแนะนำให้ฉีดยาโกรทฮอร์โมนทดแทนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย 

การใช้ยาจะเห็นผลได้ดีเมื่อนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงไม่กี่ขวบปีแรกของเด็ก ช่วยให้เด็กเติบโตได้เหมือนเด็กคนอื่น ป้องกันภาวะตัวเตี้ย และพัฒนาการอื่น ๆ  รวมถึงปัญหาในการเข้าสังคมของเด็ก 

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีการรักษาแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุที่ทำให้เด็กมีภาวะตัวเตี้ย และดุลยพินิจของคุณหมอ เพราะนอกจากโกรทฮอร์โมนแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยมีผลต่อความสูงของเด็ก 

กรณีตรวจไม่พบความผิดปกติและลูกมีสุขภาพก็แข็งแรงดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตอกย้ำเรื่องส่วนสูงมากนัก เพราะจะทำให้ลูกเป็นกังวลและกลายไปเป็นปมด้อยไปด้วย

วิธีช่วยเพิ่มโกรทฮอร์โมนให้ร่างกาย

คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของลูกได้การดูแลสุขภาพของลูก เพื่อกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน และสารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เช่น

  • ฝึกให้ลูกนอนหลับเป็นเวลา และพักผ่อนอย่างเต็มที่ตามช่วงวัย
  • ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย
  • ให้เด็กเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่ม และขนมที่มีน้ำตาลสูง เพราะน้ำตาลจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามาก ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมนของร่างกาย
  • ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย และทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

ความสำคัญของโกรทฮอร์โมนนั้นไม่ใช่แค่ความสูงเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของสุขภาพด้วย หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีสัญญาณของการเจริญเติบโตที่ช้า รีบพาไปตรวจเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม 

เช็กให้ชัวร์ ดีกว่าปล่อยให้ลูกต้องตัวเตี้ย เพราะบุคลิกภาพสำคัญกว่าที่คิด เช็กและเปรียบเทียบแพ็กเกจประเมินพัฒนาการเด็กในราคาสบายกระเป๋าได้ที่ HDmall.co.th คลิกเลย 

ไม่อยากจองคิวเอง เลือกได้แล้วให้ทีมแอดมินของเราจองคิวให้ ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่คลิก ที่นี่

Scroll to Top