โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นภัยเงียบที่หลายคนมองข้าม โดยเฉพาะโรคจากเชื้อ HIV ที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ร่างกายจะรับมือกับเชื้อโรคได้ยากขึ้น หนึ่งในสัญญาณเตือนของผู้ติดเชื้อ HIV คือ ตุ่ม PPE (Pruritic Papular Eruption in HIV)
บทความนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับตุ่ม PPE ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษา เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สารบัญ
ตุ่ม PPE คืออะไร?
ตุ่ม PPE คือ อาการทางผิวหนังที่มักพบได้บ่อยในผู้ที่ติดเชื้อ HIV ส่วนใหญ่จะพบในผู้ติดเชื้อ HIV ระยะที่ 2 หรือ ผู้ติดเชื้อ HIV ที่เซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 เป็นต้น ซึ่งตุ่ม PPE นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายของผู้ติดเชื้อ หรือที่ใครหลายๆ คน เรียกว่า ตุ่มเอดส์
ตุ่ม PPE เกิดจากสาเหตุอะไร?
ตุ่ม PPE นั้นอาจทำให้หลายๆ คนสับสนได้ว่าเป็นอาการของการติดเชื้อ HIV หรือไม่ เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มนี้นั้นมีหลายปัจจัย ได้แก่
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง: ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีระดับเม็ดเลือดขาวที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ในระดับ CD4 (Cluster of differentiation 4) ต่ำกว่า 5 % มักจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ และเกิดเป็นตุ่ม PPE ได้ง่าย
- ปฏิกิริยาต่อยา: การแพ้ยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองผิวหนัง
- การติดเชื้ออื่นๆ: การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสชนิดอื่นๆ อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดตุ่ม PPE
มีตุ่ม PPE แสดงว่าเป็น HIV ใช่ไหม?
การมีตุ่ม PPE เกิดขึ้น สาเหตุอาจจะไม่ได้เป็นเพราะติดเชื้อ HIV หรือเป็นโรคเอดส์เสมอไป เพราะ ตุ่ม PPE นั้นไม่ใช่อาการเฉพาะของการติดเชื้อ HIV เพียงแต่ตุ่ม PPE จะเป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยนผู้ที่ติดเชื้อ HIV เท่านั้น
ดังนั้น จึงควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อ HIV และตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ถึงจะสรุปได้ว่าตุ่ม PPE ที่เกิดขึ้นตามร่างกายนั้นมีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกายหรือไม่
ลักษณะของ ตุ่ม PPE
- เป็นตุ่มที่มีลักษณะแดงนูน คล้ายตุ่มยุงกัดหรือมดกัด
- จำนวนของตุ่มอาจมีตุ่มเพียงไม่กี่ตุ่มหรือหลายตุ่มกระจายกัน
- ตำแหน่งตุ่มจะเกิดขึ้นโดยเว้นระยะห่างที่เท่า ๆ กัน
- ตุ่ม PPE จะขยายขนาดกว้างออกมากกว่า 5 มิลลิเมตร
- ตุ่ม PPE จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้นเมื่อตุ่มเริ่มหาย
ตุ่ม PPE ขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง?
ตุ่ม PPE สามารถเกิดขึ้นได้ตามบริเวณต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น
- หน้าท้อง
- หลัง
- แขน
- ขา
- หน้าอก
- แก้ม
- ใบหน้า
- ลำคอ
ตุ่ม PPE มีอาการแบบไหน?
สำหรับ ตุ่ม PPE อาการที่จะมักจะเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกก็คือจะมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้, อ่อนเพลีย, ปวดหัวหรือมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามร่างกายจากนั้นระยะต่อมาตุ่ม PPE ก็จะเริ่มปรากฎขึ้นตามบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าและลามไปทั่วร่างกายตามแขน ขาหรือใบหน้า และจะมีอาการคันเกิดขึ้น ทำให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกไม่สบายตัวจนอยากจะเกาตุ่มตลาดเวลา ถ้าหากเกาจนเกิดการบาดเจ็บ จนเกิดเป็นหนองก็อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นได้
ตุ่ม PPE อันตรายไหมถ้าไม่รักษา?
สำหรับตุ่ม PPE ถ้าปล่อยไว้โดยที่ไม่รักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะคนที่เกาตุ่ม PPE ก็จะส่งผลกระทบทำให้เกิดแผล และเป็นรอยดำตามจุดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษาและการดูแลนานประมาณสักระยะหนึ่ง และการเกาตุ่ม PPE ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราซ้ำซ้อนได้ โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ใต้ร่มผ้า เพราะเป็นบริเวณที่เชื้อราจะเจริญเติบโตได้เร็ว
วิธีรักษาตุ่ม PPE
สำหรับวิธีการรักษาตุ่ม PPE จะเน้นรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ โดยจะรักษาตามอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ดูมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยการรักษาเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการ ก็คือ ควรหลีกเลี่ยงการการเกาตุ่ม PPE และรับประทานยาแก้แพ้ ทายาแกคัน
และดูแลรักษาความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มีตุ่มเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาเบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยลดความรุนแรงของอาการ ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
อย่ารอให้สายเกินไป! ตรวจค้นหาโรควันนี้กับ แพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ที่ HDmall.co.th ตรวจเร็ว รู้ผลไว พร้อมส่วนลดราคาพิเศษให้คุณเลือกใช้บริการ!