moles or melanoma skin cancer disease definition scaled

เช็กอาการและความเสี่ยงมะเร็งไฝ ไฝแบบไหนผิดปกติ แบบไหนเสี่ยง

ไฝที่เกิดขึ้นตามใบหน้าและร่างกายคนเราเป็นเรื่องปกติ บางครั้งไฝเหล่านี้ อาจเป็นตัวบ่งบอกสัญญาณโรคร้ายได้เช่นกัน นั่นคือ มะเร็งไฝ หรือไฝมะเร็ง ในทางการแพทย์จัดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง เรียกว่า Malignant melanoma 

แล้วเราจะแยกไฝธรรมดากับไฝมะเร็งได้อย่างไร ใครเสี่ยงเกิดไฝมะเร็งบ้าง และอีกหลาย ๆ เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้กัน ติดตามได้ในบทความนี้

ไฝธรรมดา ไฝมะเร็ง สังเกตอย่างไร 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับไฝปกติคร่าว ๆ ก่อน ไฝ (Mole หรือ Nevus) เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของร่างกายที่เรียกว่าเมลาโนซาย (Melanocyte) รวมตัวในบริเวณเดียวกันจนเห็นเป็นสีเข้ม อาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือในภายหลัง 

ไฝปกติมักจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ อาจจะนูนหรือมีผิวเรียบ มีสีเข้ม อย่างน้ำตาลหรือดำ ลักษณะกลมมน สมมาตรเท่ากัน และขนาดไม่เกิน 6 มิลลิเมตร สำหรับไฝมะเร็งมักมีลักษณะต่างออกไป โดยใช้หลักสังเกตง่าย ๆ ABCDE ดังนี้

  • A – Asymmetry ไฝมะเร็งจะมีลักษณะไม่สมมาตร ไม่กลมมน หรือเป็นวงรี
  • B – Border ขอบของไฝจะเป็นรอยหยัก รอยริ้ว หรือดูคล้ายรอยบาก
  • C – Color สีของไฝที่ผิดไปจากเดิม ตั้งแต่สีดำ แดง ชมพู น้ำตาล เทา สีไม่สม่ำเสมอ เข้มอ่อนไม่เท่ากันทั้งเม็ด 
  • D – Diameter ขนาดของไฝใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร และอาจขยายใหญ่ขึ้นในเวลาอันสั้น 
  • E – Evolution / Evolving เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไฝอย่างชัดเจนหรือรวดเร็ว เช่น คัน เจ็บ มีเลือดออก ตกสะเก็ด

ไฝมะเร็งมักพบบนผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์เป็นประจำ เช่น ใบหน้า คอ หลัง แขน ขา ฝ่ามือ และฝ่าเท้า แต่ก็อาจเกิดขึ้นกับจุดอื่นของร่างกายได้ด้วยเช่นเดียวกัน มักเจอบ่อยในคนช่วงอายุ 5070 ปี และเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย

สาเหตุของไฝมะเร็ง เกิดจากอะไร

ไฝมะเร็งหรือมะเร็งไฝ (Malignant melanoma) เป็นชนิดของโรคมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่บ่อยในคนเอเชียหรือประมาณ 12% เท่านั้น แต่กลับมีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าโรคมะเร็งผิวหนังชนิดอื่นที่พบบ่อยกว่า และยังสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกตามเซลล์ต้นกำเนิด

ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดไฝมะเร็งได้แน่ชัด  แต่พบว่าเป็นความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีที่โตเร็วผิดปกติ ส่งผลให้เกิดเนื้องอก และมะเร็งขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่ออื่นของร่างกาย และเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้

ใครเสี่ยงไฝมะเร็งบ้าง

แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบปัจจัยบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้ได้ มาลองเช็กกันดูว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ไหม?

  • สัมผัสแสงยูวีเป็นประจำ ไม่ว่าจะจากดวงอาทิตย์โดยตรง หรือจากเครื่องอาบแดด โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น
  • เคยมีอาการผิวหนังไหม้แดดอย่างรุนแรง 
  • เป็นคนผิวขาว คนเผือก หรือมีผิวไวต่อแดดมากกว่าปกติ 
  • คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
  • มีไฝหรือขี้แมลงวันตามร่างกายรวมกันมากกว่า 50 จุด คนทั่วไปมักมีอยู่ที่ 1040 จุด
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรค และการรักษาบางชนิด

อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็น หรือกำลังจะเป็นโรคมะเร็งไฝ เพียงแต่อาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป หากกังวล ควรไปปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการลดความเสี่ยง

การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังชนิดนี้จำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อบางส่วน หรือทั้งหมด เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาหรือตรวจหาเซลล์มะเร็ง

ไฝมะเร็งรักษาได้ไหม รักษาเหมือนไฝปกติไหม

มะเร็งไฝและโรคมะเร็งผิวหนังมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้เมื่อตรวจพบในระยะเริ่มต้น แพทย์จะวางแผนการรักษาต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะโรค สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ความรุนแรงของอาการ และอื่น 

การรักษาไฝมะเร็งมีดังนี้

  • การผ่าตัดไฝมะเร็ง เป็นการรักษาหลักหรือการรักษามาตรฐาน แพทย์ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อส่วนที่ผิดปกติและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออกเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง และอาจใช้การรักษาอื่นร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำ เช่น การขูดออกร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้า หรือไนโตรเจนเหลว 
  • การฉายแสง หรือรังสีรักษา แพทย์จะใช้รังสีความเข้มข้นสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง และเซลล์โดยรอบที่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง วิธีนี้อาจใช้ร่วมกับการผ่าตัด และใช้ยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งในระยะที่รุนแรงขึ้น
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้โจมตีเซลล์ที่ผิดปกติ อย่างเซลล์มะเร็ง และอาจใช้ร่วมกับการผ่าตัด
  • การใช้ยามุ่งเป้า แพทย์จะใช้ยาที่มีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ โดยมักใช้เมื่อเข้าสู่ระยะมะเร็งเริ่มลุกลาม
  • การให้คีโมหรือเคมีบำบัด จะใช้เมื่อการรักษาอื่นไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ดี โดยใช้ยาเคมีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย รวมถึงเซลล์ปกติต่าง ๆ ในร่างกายจะโดนทำ

สำหรับการรักษาไฝธรรมดา ที่ไม่ใช่มะเร็ง ปัจจุบันนิยมรักษาด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (CO2 Laser) ซึ่งเป็นการใช้ความร้อนจี้เซลล์ไฝออกไป และหลังการรักษา แผลจะเป็นสะเก็ดอยู่ประมาณ 57 วัน

เปรียบเทียบแพ็กเกจจี้ไฝด้วยเลเซอร์ CO2

วิธีรับมือ และลดความเสี่ยงไฝมะเร็ง

โรคมะเร็งไฝและโรคมะเร็งผิวหนังชนิดอื่นไม่ได้มีการตรวจคัดกรองเหมือนกันโรคมะเร็งทั่วไปอย่างไรก็ตาม วิธีต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงและรับมือกับไฝมะเร็งได้ดีขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัดเป็นเวลานาน หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น 
  • หากเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมหมวก หรืออุปกรณ์ป้องกันแดด
  • ทาครีมกันแดดที่มี SPF 15 ขึ้นไปเป็นประจำ แม้ในวันที่ไม่มีแดด 
  • หลีกเลี่ยงการอาบแดดหรือการใช้เครื่องอบผิวแทน
  • สังเกตร่างกายอยู่เสมอ เช่น ไฝในจุดที่ไม่เคยสังเกตมาก่อน ไฝที่ดูใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และความผิดปกติอื่นที่เกิดกับผิวหนัง ถ้าพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อขอคำปรึกษาตั้งแต่เนิ่น ๆ 

นอกจากนี้ ควรดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย และเสริมภูมิคุ้มกัน ถ้าคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นไฝมะเร็งหรือโรคมะเร็งผิวหนัง แล้วพบอาการผิดปกติ หรือรู้สึกเป็นกังวลถึงเรื่องนี้ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังได้

ใครที่มีไฝหรือขี้แมลงวันทั่วไป ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพ แต่ส่งผลต่อความมั่นใจ สามารถปรึกษาแพทย์ถึงการนำไฝออก มีทั้งการผ่าตัดและการจี้ออก คนที่มีความเสี่ยง แพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไฝ แล้วส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง หากพบจะได้ดำเนินการรักษาได้เร็ว

ปัญหาไฝและขี้แมลงวันกวนใจ แก้ไขได้ เปรียบเทียบแพ็กเกจจี้ไฝด้วยเลเซอร์ CO2 โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ HDmall.co.th

Scroll to Top