โรคหนองใน เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้ ซึ่งอาจนำไปสู่การป้องกันที่ผิดพลาดหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ความเชื่อผิดๆ เหล่านี้อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการติดต่อในบทความนี้ เราจะมาหักล้าง 7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคหนองใน เพื่อให้เข้าใจและป้องกันตนเองจากโรคนี้ได้อย่างถูกต้อง
สารบัญ
- โรคหนองในเกิดจากอะไร?
- 7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคหนองใน ที่คุณควรรู้
- 1. ความเชื่อ: สามารถติดหนองในได้จากที่นั่งชักโครก
- 2. ความเชื่อ: หนองในสามารถหายได้เอง
- 3. ความเชื่อ: ใช้สิ่งของร่วมกันทำให้ติดเชื้อหนองในได้
- 4. ความเชื่อ: หนองในติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น
- 5. ความเชื่อ: ผู้หญิงไม่สามารถติดเชื้อหนองในได้
- 6. ความเชื่อ: ใช้ถุงยางอนามัยไม่ทำให้ติดเชื้อหนองใน
- 7. ความเชื่อ: การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แสดงอาการจะปลอดภัยจากหนองใน
- วิธีการตรวจคัดกรองโรคหนองใน
- วิธีการรักษาโรคหนองใน
- วิธีการป้องกันโรคหนองใน
โรคหนองในเกิดจากอะไร?
โรคหนองใน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae เชื้อนี้สามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก
7 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคหนองใน ที่คุณควรรู้
1. ความเชื่อ: สามารถติดหนองในได้จากที่นั่งชักโครก
การติดเชื้อจะเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งจากคนที่ติดเชื้อโดยตรง เช่น ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ที่มีเชื้อ เช่น น้ำหล่อลื่น น้ำอสุจิ หรือเลือด การใช้ที่นั่งชักโครกไม่สามารถทำให้ติดโรคหนองในได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งหรือผ่านการสัมผัสผิวหนังหรือที่นั่งชักโครกได้
2. ความเชื่อ: หนองในสามารถหายได้เอง
โรคหนองในไม่สามารถหายได้เอง หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าหากไม่รักษาก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น การติดเชื้อในอวัยวะภายใน หรือท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้
3. ความเชื่อ: ใช้สิ่งของร่วมกันทำให้ติดเชื้อหนองในได้
โรคหนองในติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ที่ติดเชื้อหรือผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ได้ติดจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัวหรือที่นั่งชักโครก
4. ความเชื่อ: หนองในติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น
หนองในสามารถติดต่อได้หลักๆ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือทางปาก แต่ก็สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งกับผู้ที่มีเชื้อ นอกจากนี้ แม่ท้องที่ติดเชื้อยังสามารถส่งต่อเชื้อให้ลูกขณะคลอด ทำให้ทารกเสี่ยงติดเชื้อที่ตาหรือปอดได้
5. ความเชื่อ: ผู้หญิงไม่สามารถติดเชื้อหนองในได้
ความจริงแล้วผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อหนองในได้มากกว่าผู้ชาย แต่ผู้หญิงจะไม่มีอาการชัดเจน อาจทำให้รักษาไม่ทันและทำให้มีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบส่งผลทำให้มีบุตรยากได้
6. ความเชื่อ: ใช้ถุงยางอนามัยไม่ทำให้ติดเชื้อหนองใน
ถุงยางอนามัยช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหนองในได้ แต่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะถ้าหากมีการสัมผัสกับผิวหนังหรือบริเวณที่ไม่ได้คลุมด้วยถุงยางก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื่อได้
7. ความเชื่อ: การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แสดงอาการจะปลอดภัยจากหนองใน
การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่มีอาการก็ยังเสี่ยงติดเชื้อได้ เพราะบางคนที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ก็ยังมีโอกาสติดเชื้ออยู่ดี
วิธีการตรวจคัดกรองโรคหนองใน
วิธีการตรวจหาเชื้อหนองในสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- การตรวจปัสสาวะ: การตรวจปัสสาวะสามารถตรวจพบหนองในได้ แพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae
- การตรวจสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ: แพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด หรือหนอง เพื่อตรวจหาเชื้อหรือหาสารพันธุกรรมของเชื้อ
- การตรวจเลือด: แพทย์จะเจาะเลือด เพื่อตรวจหาสารภูมิคุ้มกันต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดโรคหนองใน
วิธีการรักษาโรคหนองใน
โดยทั่วไปแล้วการรักษาโรคหนองใน แพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ และเมื่อได้รับยาอาการจะเริ่มทุเลาลง ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาหรือฉีดยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา หลังจากรักษาเสร็จ แพทย์จะนัดหมายให้มาตรวจซ้ำอีกครั้ง ในระหว่างการรักษาให้งดการมีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจแพร่เชื้อได้ และเสี่ยงทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเพิ่มขึ้น
วิธีการป้องกันโรคหนองใน
- ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง: การใช้ถุงยางอนามัยทั้งชายและหญิงระหว่างมีเพศสัมพันธ์สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
- มีคู่นอนเพียงคนเดียว: การมีคู่นอนคนเดียวและไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ
- ตรวจสุขภาพทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ: แนะนำให้ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำหรือมีคู่นอนหลายคน เข้ารับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง: เพื่อป้องกันการติดเชื้อหนองในควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีอาการผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
เลิกเชื่อ! ความเชื่อผิดๆ ใครกังวลจะเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหนองใน แนะนำแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ HDmall.co.th ยิ่งจองยิ่งคุ้ม ตรวจเร็ว รู้ผลไว จองเลย