language delay screening process scaled

ลูกพูดช้า พ่อแม่อย่าชะล่าใจ! แบบไหนเรียกพัฒนาการภาษาผิดปกติ

เด็กแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการไปตามช่วงวัย เช่นเดียวกับพัฒนาการด้านภาษาและการพูดด้วย ยิ่งเป็นเด็กเล็ก ๆ ที่พูดได้เป็นคำ ๆ ไม่เป็นประโยค พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพูดช้า พัฒนาการภาษาไม่สมวัย 

มีคำถามเกี่ยวกับ พัฒนาการภาษา? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

วันนี้ HDmall ชวนคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับ “พัฒนาการด้านภาษาล่าช้าในเด็ก” ทั้งสาเหตุที่ลูกพูดช้า วิธีสังเกตความผิดปกติในการสื่อสารของลูก และคำแนะนำที่พ่อแม่ช่วยเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูกได้ง่าย ๆ มาฝาก

รู้จักกับพัฒนาการทางภาษาของเด็ก 

เด็ก ๆ สามารถเริ่มเรียนรู้ภาษาและการสื่อสารได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ผู้อื่น และสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้เป็น 2 ด้านหลัก คือ

  1. การรับรู้และเข้าใจภาษา (Receptive language) คือ ความสามารถในการเข้าใจ ตีความ รู้ภาษาที่ผู้อื่นสื่อสารออกมาผ่านการฟังและการมองเห็น เช่น การรู้จักชื่อตนเอง การทำตามคำสั่ง การชี้รูปภาพหรืออวัยวะตามคำบอก
  2. การแสดงออกทางภาษา (Expressive language) คือ ความสามารถในการแสดงออกโดยใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น การส่งเสียง การพูด การเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น และการใช้ร่างกายแสดงความต้องการในรูปแบบต่าง ๆ 

พัฒนาการทางภาษาเป็นทักษะที่จำเป็นในการสื่อสาร และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับผู้อื่น การเข้าสังคม การแก้ไขปัญหา และการใช้ชีวิต 

ฉะนั้น ถ้าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาล้าช้าต่อเนื่อง ไม่สมวัย จะส่งผลกระทบการเรียนรู้ มีปัญหาอารมณ์ และพฤติกรรมตามมาในอนาคต 

ลูกพูดช้า พัฒนาการด้านภาษาไม่สมวัย เป็นแบบไหน

เด็กพูดช้า หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการด้านการสื่อสาร ภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย เช่น เด็กจะสามารถเริ่มพูดได้ตอนอายุ 2–3 ปี แต่เด็กบางคนในวัยเดียวกันยังพูดไม่ได้ หรือเด็กอายุ 3 ปี ปกติควรจะพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ แต่เด็กยังพูดไม่ได้ หรือปกติแล้ว 

สัญญาณบอกว่าลูกพูดช้า พ่อแม่สังเกตอย่างไร

โดยทั่วไป เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เช่น เริ่มตั้งแต่การส่งเสียงอ้อแอ้ เมื่อจำชื่อตัวเองได้จะตอบสนองตอนถูกเรียกชื่อ เริ่มพูดเป็นคำ จนพัฒนาการเป็นการสื่อสารที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามวุฒิภาวะแต่ละช่วงวัย 

โดยสัญญาณบอกว่าลูกพูดช้า คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมในแต่ละช่วงวัยได้ดังนี้ 

  • อายุแรกเกิด–4 เดือน: ช่วงที่เด็กกำลังตื่นดี ไม่มีการตอบสนองต่อเสียงต่าง ๆ รอบตัว เช่น ไม่มองหรือหันตามเสียงที่ได้ยิน 
  • อายุ 5–7 เดือน: ไม่ส่งเสียงโต้ตอบกับผู้อื่น หรือส่งเสียงน้อยกว่าปกติ
  • อายุ 9–12 เดือน: ไม่สามารถเลียนเสียงพยัญชนะอื่น ๆ หรือสิ่งที่ได้ยิน ยกเว้นเสียง “อ”
  • อายุ 15 เดือน: ไม่สามารถพูดคำที่มีความหมาย อย่างน้อย 1 คำ
  • ช่วงอายุ 18 เดือน : ไม่เข้าใจหรือไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 3 คำไม่ได้
  • ช่วงอายุ 2 ปี : ไม่สามารถพูด 2 คำต่อเนื่องกันได้ เช่น ไปเที่ยว กินข้าว หรือพูดคำที่มีความหมายได้น้อยกว่า 2050 คำ
  • ช่วงอายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคสมบูรณ์ไม่ได้ (มีประธาน กริยา กรรมรวมกัน) เช่น พ่อไปทำงาน แม่กินข้าว คนที่ฟังเด็กพูดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ทำตามคำสั่งแบบ 2 ขั้นตอนไม่ได้ เช่น ไปหยิบตุ๊กตาแล้วเอากลับมาให้แม่ 
  • ช่วงอายุ 4 ปี : ไม่สามารถเล่าเรื่องสั้น ๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้ ผู้อื่นยังฟังภาษาที่เด็กพูดไม่เข้าใจ

พูดช้า เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งกระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างตรงจุด ลองดูแพ็กเกจตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ที่นี่ จองผ่าน HDmall.co.th ได้ราคาโปร พร้อมรับส่วนลดเพิ่มเติมทุกการจอง  

สาเหตุที่ลูกพูดช้า 

การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ และการเลียนแบบจากสิ่งรอบตัว โดยต้องใช้อวัยวะต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ตา หู ปาก สมอง หากเกิดความผิดปกติในส่วนใดส่วนนึง จะส่งผลกระทบทำให้เกิดพัฒนาการทางภาษาล่าช้า 

โดยสาเหตุพบบ่อยที่ส่งผลต่อการพูดในเด็ก ได้แก่ 

ความบกพร่องด้านการได้ยิน
ปัญหาทางการได้ยิน อย่างหูหนวก หูตึง ทำให้เด็กได้ยินสิ่งต่างไม่ชัด หรือไม่ได้ยินจนกระทบต่อการพูด เด็กจะไม่ตอบสนองต่อเสียงรอบตัว พยายามใช้ท่าทางช่วยในสื่อสารมากกว่าการส่งเสียง

มีคำถามเกี่ยวกับ พัฒนาการภาษา? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความผิดปกติทางสติปัญญาจะทำให้เด็กมีปัญหาในการสื่อสาร พูดช้า ร่วมกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ ก็ล่าช้าด้วย เช่น ด้านร่างกาย ด้านกล้ามเนื้อ ด้านการคิด ความทรงจำ การเรียนรู้ และการเข้าสังคม

ภาวะออทิสติก
เด็กที่มีภาวะออทิสติกจะมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ร่วมกับความบกพร่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น พูดช้า ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่มองหน้าสบตา ไม่มีอารมณ์ร่วม เรียกชื่อไม่หัน หรือมีพฤติกรรมชอบทำอะไรซ้ำๆ

ภาวะพัฒนาการด้านภาษาผิดปกติ
เด็กจะมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ปกติ แต่มีความล่าช้าเฉพาะด้านภาษาด้านเดียวเท่านั้น โดยความผิดปกติเป็นได้ทั้ง พัฒนาการด้านความเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา เด็กจะมีความล่าช้าในการทำความเข้าใจ การตีความ หรือทำตามคำสั่ง

หรือพัฒนาการด้านการพูดล่าช้า เด็กจะสามารถเข้าใจความหมายและภาษาสมวัย แต่มีปัญหาเรื่องการเปล่งเสียง หรือพูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน บางครั้งอาจจะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า เด็กปากหนัก

การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม
โดยส่วนมากหากเด็กมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ปล่อยให้อยู่เดียว ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือให้เด็กใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป จะส่งผลต่อการเรียนรู้ด้านภาษาและการสื่อสาร โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรให้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลูกพูดช้า มีปัญหาในการพูด ต้องพบแพทย์ไหม

หากพบว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า มีความจำเป็นอย่างมากที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ควรจะพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองและวินิจฉัยหาสาเหตุว่าความล่าช้าดังกล่าว เกิดจากปัจจัยไหน และจะได้รักษาอย่างตรงจุด 

ลูกพูดช้า พ่อแม่ช่วยเหลือได้อย่างไร 

นอกจากการพาลูกไปพบกุมารแพทย์แล้ว ยังมีวิธีช่วยกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา ที่ทำได้เบื้องต้น เช่น  

พูดให้ชัด โชว์ตัวอย่างที่ถูกต้อง
หลายคนอาจจะเคยชินกับพฤติกรรมที่เวลาอยู่กับเด็ก จะพูดเลียนเสียงเด็ก ใช้โทนเสียงเล็ก ๆ สำหรับเด็กที่มีปัญหาพูดช้า คุณพ่อคุณแม่ คนใกล้ชิดเด็กจำเป็นจะต้องพูดกับลูกให้ชัด เพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กเริ่มมาจากการฟังและเลียนเสียงตาม

เปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อสาร
คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกมีการปฏิสัมพันธ์กันอยู่บ่อย ๆ อาจใช้การตั้งคำถาม ชวนคุย หากิจกรรมทำร่วมกัน โดยรอให้เด็กสื่อสารก่อน และตอบสนองทุกครั้งเมื่อลูกพูด พร้อมกับให้กำลังใจทางบวก

หาโอกาสสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มคลังคำศัพท์ให้ลูกผ่านกิจกรรมและการเล่น เช่น พูดคุย ชี้ให้ดูสิ่งต่าง ๆ พร้อมบอกว่าคืออะไร เล่านิทาน เล่นภาพประกอบบัตรคำ รวมถึงอาจลองให้ลูกทำตามคำสั่งง่าย ๆ หากลูกฟังไม่เข้าใจ ให้จับมือลูกทำ พร้อมกับพูดคำสั่งไปด้วย 

จำกัดการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แท็บเล็ต และโทรทัศน์
เด็กอายุไม่เกิน 2 ปี คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ส่วนเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ควรจำกัดการใช้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน 

พัฒนาการทางภาษาล่าช้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ และเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน พ่อแม่ควรใส่ใจและเฝ้าสังเกตพัฒนาการลูกอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติ ไม่ควรชะล่าใจ ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และหาแนวทางส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัย 

 ไม่มั่นใจว่าลูกน้อยมีพัฒนาการทางภาษาสมวัยหรือไม่ ลองมาปรึกษากับกุมารแพทย์ พร้อมตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ในราคาโปรเฉพาะที่ HDmall.co.th เท่านั้น คลิกดูโปร หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ ทักแอดมินได้เลย

มีคำถามเกี่ยวกับ พัฒนาการภาษา? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ