ขาหนีบ

อาการปวดบริเวณขาหนีบ (Inguinal pain)

การปวดบริเวณขาหนีบเป็นเรื่องที่พบได้ไปในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ถ้าหากปวดขาแล้วรู้สึกปวดร่วมกับมีไข้ บริเวณขาหนีบบวมแดง หรือมีเลือดออกมาพร้อมปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการปวดขาหนีบคือ ความรู้สึกไม่สบายในบริเวณดังกล่าว มักเกิดจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน การเล่นกีฬาต่างๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบตึง หรือฉีกขาด อาการนี้เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในหมู่นักกีฬา

สาเหตุของอาการปวดขาหนีบ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดขาหนีบคือ กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกล้ามเนื้อ หรือเอ็นยึดกระดูกในบริเวณขาหนีบเกิดการตึง หรือฉีกขาดขึ้น การบาดเจ็บประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในนักกีฬา รวมทั้งผู้ออกกำลังกาย

อีกสาเหตุของอาการปวดขาหนีบคือ โรคไส้เลื่อน (Inguinal hernia) ที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อภายในของช่องท้องดันตัวทะลุผ่านจุดบางที่สุดในกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบออกมาด้านนอก ภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดก้อนเนื้อนูนบริเวณขาหนีบและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา

นอกจาก 2 ภาวะดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดขาหนีบได้ เช่น

การวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบ

อาการปวดขาหนีบส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เว้นแต่อาการปวดอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ร่วมกับอาการบวมที่บริเวณอัณฑะ มีไข้สูง หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ

แพทย์จะประเมินสถานการณ์เบื้องต้นด้วยการซักประวัติและกิจกรรมที่ทำล่าสุด และอาจให้มีการตรวจเพิ่มเติมต่อไปนี้ เพื่อหาสาเหตุการปวดขาหนีบได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

  • การตรวจโรคไส้เลื่อน แพทย์จะสอดนิ้วหนึ่งนิ้วลงในถุงอัณฑะและขอให้ผู้เข้ารับการตรวจไอแรงๆ การไอจะเพิ่มความดันของช่องท้องและผลักลำไส้เข้าสู่ช่องเปิดไส้เลื่อนดังกล่าว
  • การถ่ายรังสีเอ็กซ์เรย์และการทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อวินิจฉัยว่า มีกระดูกร้าว ก้อนเนื้อในอัณฑะ หรือถุงน้ำรังไข่ที่ทำให้เกิดอาการปวดขาหนีบหรือไม่
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) การตรวจเลือดชนิดนี้สามารถบ่งบอกได้ว่า มีการติดเชื้อหรือไม่

การรักษาอาการปวดขาหนีบ

วิธีการรักษาอาการปวดขาหนีบนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากเกิดจากต่อมน้ำเหลืองโตก็ต้องหาสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโตและให้การรักษาภาวะต่อมน้ำเหลืองโต

หากอาการปวดขาหนีบเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อฉีก ผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้ ด้วยการพักผ่อนและงดออกกำลังกายเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ

หากรู้สึกปวด สามารถรับประทานยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟนร่วมกับการประคบเย็นครั้งละ 20 นาทีได้

แต่ถ้าสาเหตุของการปวดขาหนีบเกิดจากภาวะไส้เลื่อน กระดูกหัก หรือกระดูกร้าว อาจต้องรักษาซ่อมแซมกระดูกส่วนนั้นด้วยการผ่าตัด และเข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การป้องกันอาการปวดขาหนีบ

การป้องกันอาการปวดขาหนีบในผู้ที่ออกกำลังกายหนัก หรือนักกีฬาที่ดีที่สุดคือ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อและวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย รวมทั้งการคลูดาวน์ซึ่งเป็นเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หลังการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายค่อยๆ เย็นลงช้าๆ เพื่อลดอาการบาดเจ็บนั่นเอง

ส่วนการป้องกันการเกิดภาวะไส้เลื่อน คือการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานผักและผลไม้ เพื่อป้องกันอาการท้องผูกที่ต้องเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนได้


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. ธนู โกมลไสย

Scroll to Top