gastric cancer screening how to check yourself scaled

เช็กความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร ปัจจัยเสี่ยง อาการ และการป้องกัน

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer หรือ Gastric cancer) เป็นมะเร็งอีกชนิดที่น่ากลัว เพราะด้วยอาการที่ไม่ชัดเจนระยะแรก หรือคล้ายโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลด หรือท้องอืด กว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าสู่ระยะที่รักษาได้ยาก  

อย่าปล่อยให้รู้ตัวช้าจนโรคลุกลาม! มาเช็กความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารไปด้วยกัน สาเหตุเกิดจากอะไร มีปัจจัยไหนเพิ่มความเสี่ยงบ้าง มีอาการเตือนหรือเปล่า แล้วป้องกันมะเร็งชนิดนี้ได้ด้วยวิธีใด 

รู้จักมะเร็งกระเพาะอาหาร 

มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนเกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และอาจกระจายไปยังส่วนอวัยวะอื่นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุช่องท้อง ตับ ปอด หรือกระดูก 

จากสติถิมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 5 ของกลุ่มโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก ส่วนในไทยอาจพบไม่บ่อยเท่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่เกินกว่าครึ่งของผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต  

ส่วนหนึ่งอาจมาจากอาการระยะแรกของมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นค่อยเป็นค่อยไป และอาการยังคล้ายกับโรคกระเพาะ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและมาพบแพทย์ในระยะที่โรคลุกลามจนยากต่อการรักษาแล้ว 

อาการบอกโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

คนที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารในช่วงต้น ๆ อาจยังไม่มีอาการแสดง พอมะเร็งลุกลามมากขึ้นจะเริ่มมีอาการแสดงทีละน้อย และทวีความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของโรค

อาการมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก

บางรายอาจไม่มีอาการหรืออาการน้อยจนคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลในกระเพาะอาหาร 

อาการเด่นที่พบในระยะนี้ คือ อืดจุกท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ โดยมักเป็นหลังการกินอาหาร ยังอาจมีอาการกลืนอาหารได้ลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย 

ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาการจะเริ่มรุนแรงขึ้น เช่น อาเจียนเป็นเลือดหรือลิ่มเลือด อุจจาระมีสีดำหรือมีเลือดปน มีภาวะซีด อ่อนเพลีย กินอาหารได้น้อยลงจนน้ำหนักลด หรืออาจมีภาวะขาดสารอาหารได้ 

อาการมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลามหรือเกิดโรคแทรกซ้อน

ในระยะนี้เองที่มะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ในร่างกายจนเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น

  • มะเร็งลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองจะคลำเจอก้อนที่คอบริเวณแอ่งไห้ปลาร้าด้านซ้าย
  • ก้อนเนื้อร้ายอุดตันที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำให้ผู้ป่วยตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้อง และอาเจียน
  • มะเร็งลุกลามไปที่ปอดทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อย 

มีอาการคล้าย ๆ โรคกระเพาะ เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารไหมน๊า อย่าลังเลไปตรวจ HDmall.co.th รวมแพ็กเกจคัดกรองโรคทางเดินอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร จาก รพ. ทั่วไทย ราคาโปรแบบนี้ ไม่จองไม่ได้แล้ว คลิกดูโปร 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังและยาวนานของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร สาเหตุแท้จริงที่ทำให้เกิดโรคยังไม่แน่ชัด แต่พบหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่

อายุมากขึ้น

คนอายุมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่า โดยเฉพาะคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่คนอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

เป็นเพศชาย

ผู้ชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า โดยเฉพาะผู้ชายที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์หรือมีภาวะอ้วน

มีประวัติโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในครอบครัว

คนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจะมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคมากกว่าคนที่ไม่มีประวัติโรคในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนี้ โดยเฉพาะญาติสายตรง ความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

ติดเชื้อ Helicobacter Pylori (H. Pylori) 

การเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอชไพโลไร (H. Pylori) ทำให้เกิดการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หากปล่อยให้เรื้อรังสามารถเพิ่มโอกาสให้กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือมีโรคประจำตัว

คนที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารมานานกว่า 20 ปี หรือมีโรคประจำตัวบางโรค มีโอกาสที่เซลล์จะเกิดการอักเสบ และกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น เช่น โรคมะเร็งที่อวัยวะอื่น โรคโลหิตจางบางชนิด แผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง 

กินอาหารเค็มจัด หมักดอง ปิ้งย่าง รมควัน เป็นประจำ

อาหารบางชนิดอาหารอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น​  โดยเฉพาะอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่างรมควัน อาหารตากแห้งที่มีรสเค็ม  รวมถึงอาหารที่ใส่สารดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง เนื้อเค็มตากแห้ง

กินผักผลไม้น้อย สูบหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์

นอกจากปัจจัยในข้างต้นแล้ว คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ กินผักและผลไม้น้อย หรือไม่ค่อยกินผักและผลไม้เลย พฤติกรรมการใช้ชีวิตเหล่านี้ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหารได้ทั้งสิ้น

ลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำอย่างไรได้บ้าง

การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกินผักและผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของมื้ออาหาร 
  • พยายามเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง หมักดอง และเค็มจัด 
  • งดหรือเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ 
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ 
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารเมื่อถึงวัย โดยเฉพาะคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร 
  • ถ้ามีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหาร กินยาอย่างต่อเนื่องแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้อง 

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะคุณจะเสี่ยงมากหรือน้อยก็ตาม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเอง และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ พบความผิดปกติเมื่อไร อย่าลังเลใจไปตรวจ

วัยไหน ๆ ก็เสี่ยงมะเร็งได้เหมือนกัน ไม่แน่ใจอยากให้ตรวจส่องกล้องก่อน HDmall.co.th รวมโปรส่องกล้องตรวจลำไส้ ตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหาร เอกซเรย์ช่องท้อง และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ จากรพ. ทั่วไทย จองฟรีไม่มีบวกเพิ่ม เลือกแพ็กเกจได้ด้วยตัวเอง คลิกเลย 

Scroll to Top