anal cancer disease definition scaled

รู้ทัน! โรคมะเร็งทวารหนัก เกิดจากอะไร ติดทางเพศสัมพันธ์ได้จริงไหม?

รู้หรือไม่? โรคมะเร็งทวารหนักเกิดได้จากหลายปัจจัย การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักก็เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคมะเร็งทวารหนัก  แนวทางการสังเกตอาการ แนะนำวิธีการตรวจคัดกรอง และแนวทางการรักษามะเร็งทวารหนัก รู้ก่อนรักษาก่อน ป้องกันโรคลุกลามในอนาคต

โรคมะเร็งทวารหนักเกิดจากอะไร?

โรคมะเร็งทวารหนัก (Anal cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในบริเวณทวารหนักหรือท่อที่เชื่อมระหว่างลำไส้ใหญ่และทวาร ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของการเกิดมะเร็งทวารหนักมักจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อจากไวรัส HPV (Human Papillomavirus) โดยเฉพาะชนิดที่มีความเสี่ยงสูง เช่น HPV-16 และ HPV-18 ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ในทวารหนักจนพัฒนาเป็นมะเร็งได้

อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก

อาการของโรคมะเร็งทวารหนักอาจแตกต่างกันไปตามระยะของโรค แต่ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจนกว่าจะมีอาการรุนแรงขึ้น อาการที่พบได้บ่อย ๆ เช่น 

  • เลือดออกจากทวารหนัก 
  • เจ็บปวดหรือแสบร้อนบริเวณทวารหนัก 
  • มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
  • มีก้อนที่ทวารหนักหรือใกล้ทวารหนัก 
  • มีอาการคันหรือระคายเคืองบริเวณทวารหนัก 
  • รู้สึกไม่สบายหรือหน่วงบริเวณทวารหนัก 
  • การถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ เช่น การถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะต่างจากปกติ เช่น มีมูกหรืออุจจาระแปลกๆ

โรคมะเร็งทวารหนักมีกี่ระยะ? 

ความรุนแรงของโรคสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ การรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของโรค โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัดและฉายแสง

  • มะเร็งทวารหนักระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มต้นของโรค โดยก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กไม่เกิน 2 เซนติเมตร 
  • มะเร็งทวารหนักระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งเริ่มโตขึ้นจากเดิม แต่ยังจำกัดอยู่ภายในผนังลำไส้ 
  • มะเร็งทวารหนักระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง โดยผู้ป่วยในระยะนี้มักมีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดและรุนแรงมากขึ้น
  • มะเร็งทวารหนักระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายในระดับสูงสุด โดยเชื้อมะเร็งมีการลุกลามและแพร่กระจาย สู่อวัยวะที่อยู่ไกลออกไปผ่านกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง

ใครมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งทวารหนักบ้าง?

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ผู้ที่มีหลายคู่ทางเพศ
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ 
  • การมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งทวารหนัก 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ผู้หญิงที่เคยมีการติดเชื้อ HPV หรือมะเร็งปากมดลูก

ทำไมการติดเชื้อไวรัส HIV/HPV ถึงเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งทวารหนัก?

เชื้อไวรัส HIV และ HPV เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งทวารหนัก เนื่องจากลักษณะการทำงานของไวรัสทั้งสองชนิดนี้มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของมะเร็งได้

วิธีรักษาโรคมะเร็งทวารหนัก

การรักษาโรคมะเร็งทวารหนักขึ้นอยู่กับระยะของโรค, สุขภาพของผู้ป่วย, และการตอบสนองต่อการรักษา โดยมักจะใช้วิธีการรักษาหลักๆ ดังนี้

  • การผ่าตัด: การผ่าตัดมะเร็งทวารหนักจะเป็นการรักษาโดยการตัดเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งออก รวมถึงเนื้อเยื่อรอบข้างเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย มักใช้กับผู้ป่วยในระยะแรกของมะเร็ง
  • การรักษาด้วยรังสี: การฉายรังสีเป็นการรักษามะเร็งทวารหนักในระยะ 2-3 โดยวิธีนี้จะทำการรักษาโดยใช้รังสีพลังงานสูงไปทำลายเซลล์มะเร็งและยับยั้งการเติบโต มักใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น เช่น เคมีบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
  • ทำเคมีบำบัด: การทำเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยการรับประทานหรือฉีดยาเข้าเส้นเลือด ยาจะกระจายไปทั่วร่างกาย แต่ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น อาเจียน, ผมร่วง, ภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเลือดออกง่าย เนื่องจากยามีโอกาสทำลายเซลล์ปกติไปด้วย

ป้องกันโรคมะเร็งทวารหนักที่ติดทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างไรบ้าง?

การป้องกันโรคมะเร็งทวารหนักที่ติดทางเพศสัมพันธ์สามารถทำได้หลายวิธีเลย เช่น

  • การใช้ถุงยางอนามัย
  • การฉีดวัคซีน HPV
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจคัดกรอง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

การป้องกันมะเร็งทวารหนักจากการติดเชื้อ HPV รู้ก่อนรักษาก่อน เลือกดูแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้และทวารหนักพร้อมรับส่วนลดราคาพิเศษ ที่ HDmall.co.th อย่ารอช้า ตรวจก่อนติด คลิกเลย!

Scroll to Top