ห่วงอนามัย หรือห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device) เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุมกำเนิด โดยจะใส่ไว้ในมดลูกผ่านทางปากมดลูก สามารถคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี หรือจนกว่าคุณจะตัดสินใจเอาออก
ห่วงอนามัยจัดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ยืนยาว และน่าเชื่อถือสำหรับผู้หญิงหลายคน อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆ คุณก็ยังมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้แม้ว่าจะใส่ห่วงคุมกำเนิด และใช้อย่างถูกต้องแล้วก็ตาม
สารบัญ
ห่วงคุมกำเนิดเปลี่ยนผลทดสอบการตั้งครรภ์ได้หรือไม่
การทดสอบการตั้งครรภ์ทำได้โดยการตรวจปัสสาวะ หรือเลือด เพื่อดูการมีอยู่ของ HCG (Human chorionic gonadotropin) เป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาเมื่อคุณตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนนี้สร้างจากรกหลังจากเกิดการฝังตัวของตัวอ่อนแล้ว
ห่วงคุมกำเนิดจึงไม่สามารถเปลี่ยนผลการทดสอบได้ เนื่องจากห่วงคุมกำเนิดชนิดปล่อยฮอร์โมนไม่ได้มี HCG ซึ่งเป็นสิ่งที่การทดสอบตรวจหาการตั้งครรภ์
ส่วนอาการอื่นๆ เช่น ปวด มีเลือดออก และคลื่นไส้ สามารถเกิดจากห่วงคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนที่บรรจุอยู่ก็ได้ คุณควรแจ้งแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่า ใส่ห่วงคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง และสอบถามเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใส่ห่วงคุมกำเนิด
หากสงสัยว่า ตั้งครรภ์ทั้งๆ ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่
ห่วงคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า 1% หากใส่อย่างถูกต้อง
หากคุณรู้สึกว่า ตนเองตั้งครรภ์ทั้งๆ ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง หรือผลทดสอบการตั้งครรภ์เป็นบวก (หมายถึง น่าจะมีการตั้งครรภ์) ควรรีบไปพบแพทย์ หรือพยาบาลผดุงครรภ์ทันที
อาการแสดงของการตั้งครรภ์โดยที่ยังมีห่วงคุมกำเนิดอยู่ไม่ได้แตกต่างจากการตั้งครรภ์ที่มีห่วงคุมกำเนิด ดังนั้นหากประจำเดือนไม่มาผิดปกติ หรือคิดว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรทดสอบการตั้งครรภ์
หากผลเป็นลบ ให้รออีก 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หรือไปตรวจครรภ์โดยแพทย์
การตั้งครรภ์โดยยังมีห่วงคุมกำเนิดอยู่
การตั้งครรภ์โดยยังมีห่วงคุมกำเนิดอยู่จะทำให้ความเสี่ยงในการแท้งเพิ่มมากขึ้น ห่วงคุมกำเนิดทะลุมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้อาจลดลงได้ หากคุณเอาห่วงคุมกำเนิดออกให้เร็วที่สุด หลังทราบผลตรวจยืนยันการตั้งครรภ์แล้ว
แต่ความเสี่ยงดังกล่าวก็จะยังคงมากกว่าการตั้งครรภ์โดยที่ไม่มีห่วงคุมกำเนิดอยู่ดี
หากห่วงคุมกำเนิดของคุณยังอยู่ที่เดิม อาจมีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อีกด้วย
ดังนั้นหากไม่สามารถไปรับการนำห่วงคุมกำเนิดออก หรือไม่ต้องการเอาออก (การเอาห่วงคุมกำเนิดออกสามารถทำให้เกิดการแท้งได้) อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในการตั้งครรภ์ได้
เช่น การคลอดก่อนกำหนด และการติดเชื้อ จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น
สิ่งที่ต้องทำเมื่อผลการตั้งครรภ์เป็นบวกในขณะที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่
- หากผลการตั้งครรภ์เป็นบวกและคุณยังใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่ ให้ติดต่อแพทย์ หรือพยาบาลผดุงครรภ์ทันที
- แจ้งให้แพทย์ทราบว่า กำลังตั้งครรภ์โดยที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่
- แพทย์อาจพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประวัติโรคประจำตัวของคุณ แต่ยิ่งรอนานเท่าไร ความเสี่ยงต่อมารดาและลูกก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์ทั้งๆ ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดอยู่จะมีความเสี่ยงหลายอย่าง แต่ผู้หญิงบางคนก็สามารถมีลูกได้โดยที่ไม่มีปัญหา หรือภาวะแทรกซ้อนใดๆ
ดังนั้นเมื่อการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว คุณควรรักษาสภาวะทางอารมณ์ ดูแลร่างกายให้แข็งแรง และพบแพทย์ตามนัดหมาย ให้จำไว้เสมอว่า ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นไม่ได้รับประกันว่า ผลสุดท้ายจะแย่เสมอไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย พญ. รุจิรา เทียบเทียม