ต่อมทอนซิลอักเสบ โรคที่ดูเหมือนจะไม่รุนแรง และอาจหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่รู้ไหมว่าถ้าเป็นบ่อย เป็นเรื้อรัง หรือติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามจนกลายมะเร็งได้! มาทำความรู้จักต่อมทอนซิลในทุกแง่มุม มีหน้าที่อะไร เกิดความผิดปกติอะไรได้บ้าง รักษาอย่างไร ในบทความนี้ได้เลย
สารบัญ
ต่อมทอนซิลคืออะไร?
ต่อมทอนซิล (Tonsil) คือ กลุ่มเนื้อเยื่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ เป็นรูปวงรี ภายในมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด ทำหน้าที่ดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกและช่องปาก
ในร่างกายเราจะมีต่อมทอนซิลอยู่หลายตำแหน่ง แต่ตำแหน่งที่ใหญ่และเห็นเด่นชัดที่สุดคือ 2 ต่อมที่อยู่บริเวณช่องคอข้างลิ้นไก่และโคนลิ้น ด้านซ้ายและขวา เวลาอ้าปากจะเห็นชัดเจน
โดยทั่วไปการทำหน้าที่ของต่อมทอนซิลจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จึงสังเกตได้ว่าวัยผู้ใหญ่จะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับต่อมทอนซิลน้อยกว่าวัยเด็ก
ต่อมทอนซิลเกิดความผิดปกติอะไรได้บ้าง
ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมทอนซิลที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ต่อมทอนซิลอักเสบ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือส่วนน้อยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพร่กระจายได้ผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ การไอ จาม เป็นต้น
หากเป็นเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ อาจพัฒนาเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
นอกจากต่อมทอนซิลอักเสบแล้ว ต่อมทอนซิลยังเกิดความผิดปกติอื่นๆ ได้อีก เช่น
-
- นิ่วทอนซิล (Tonsil Stones/Tonsillolith) คือก้อนสีขาว หรือสีเหลืองขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วเขียวที่อยู่บริเวณต่อมทอนซิล เกิดจากการหมักหมมของเศษอาหาร น้ำลาย เนื้อเยื่อที่ตายแล้วของต่อมทอนซิล รวมทั้งเป็นที่อาศัยของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ความผิดปกตินี้ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง แต่ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพได้
- ฝีหนองรอบต่อมทอนซิล (Peritonsillar Abscess) เกิดจากการที่ต่อมทอนซิลอักเสบ แล้วไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี หรือโรคไม่ตอบสนองต่อยา ทำให้การอักเสบลุกลามไปสู่บริเวณข้างเคียง เกิดเป็นฝีหนอง รอบๆ ต่อมทอนซิล โดยอาการนี้หากไม่รีบรักษา อาจลุกลามไปยังช่องคอ แล้วอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือฝีอาจจะแตก ทำให้หนองเข้าสู่ปอดและหัวใจ เข้าสู่กระแสเลือด จนติดเชื้อ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้
- โรคโมโนนิวคลิโอสิส (Mononucleosis) หรือบางคนอาจรู้จักในชื่อ โรคจูบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็มสไตลบาร์ (Epstein-Barr) หรือย่อว่า EB ไวรัส สามารถถ่ายทอดกันผ่านทางน้ำลาย (ทำให้ถูกเรียกว่าโรคจูบ) และเสมหะที่ไอหรือจามออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง เจ็บคอ ต่อมทอนซิลโตมาก ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโตสองข้าง แต่โรคนี้มันไม่ค่อยรุนแรง สามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากติดเชื้อแล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต หากร่างกายอ่อนแอ ก็จะแสดงอาการได้อีก
- มะเร็งต่อมทอนซิล (Tonsil Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มมะเร็งช่องปาก โดยอาจเกิดจากการที่ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV อีกด้วย
ต่อมทอนซิลอักเสบมีอาการอย่างไร
แม้ว่าต่อมทอนซิลจะเกิดความผิดปกติได้หลายรูปแบบ แต่อาการที่พบบ่อยมากที่สุดคือ ต่อมทอนซิลอักเสบ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายโรคคออักเสบทั่วไป ดังนี้
- เจ็บคอ โดยจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง
- คอแดง เมื่ออ้าปากจะพบว่า ต่อมทอนซิลมีลักษณะบวมแดงและโตกว่าปกติ
- มีไข้
- ไอ มีเสมหะ
- มีน้ำมูก
- กรณีที่ติดเชื้อชนิดรุนแรง อาจมีจุดหนองที่ทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโตด้วย
- บางรายอาจมีอาการนอนกรน เนื่องจากต่อมทอนซิลบวม จนอุดกั้นทางเดินหายใจ
อาการแบบนี้ ใช่โรคต่อมทอนซิลอักเสบหรือเปล่า หรือเข้าข่ายโรคร้ายแรงอื่นๆ อยากปรึกษาคุณหมอให้มั่นใจ ทักหาทีมงาน HDcare เพื่อนัดคุยกับคุณหมอเฉพาะทางได้ที่นี่
วิธีการตรวจภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ
การตรวจโรคต่อมทอนซิลอักเสบ มีวิธีไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยแพทย์จะตรวจคอด้วยการให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้าง จากนั้นใช้ไฟส่อง พร้อมใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมให้เห็นต่อมทอนซิลได้ง่ายขึ้น พร้อมกับตรวจหูและจมูก เพื่อหาการติดเชื้อ ร่วมกับการคลำบริเวณต่อมน้ำเหลืองว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่
หากพบว่าต่อมทอนซิลมีลักษณะที่ผิดปกติ เช่น ต่อมทอนซิลโต บวม แดง หรือมีอาการอื่นใด ที่เข้าข่ายว่าเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบ แพทย์จะวางแผนการรักษาต่อไป
วิธีรักษาภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ
ภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ ถ้ามีอาการไม่มาก เช่น เจ็บคอเพียงเล็กน้อย ไม่มีไข้ อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา เพียงแค่ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็สามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน
แต่ถ้ามีอาการมาก เช่น มีไข้สูง เจ็บคอมาก รับประทานอาหารได้น้อย อาจเป็นการอักเสบที่รุนแรง แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นภายใน 3-7 วัน
ในกรณีที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วไม่ได้ผล เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง คือ มีการอักเสบบ่อย 6 ครั้งต่อปี หรือ เกิน 3 ครั้ง ต่อ 2 ปี ต่อมทอนซิลโตเบียดกดทับทางเดินหายใจ เป็นฝีที่ต่อมทอนซิล แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิลออก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อมทอนซิลอักเสบ ดูเหมือนเป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่หากเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง หรือเรื้อรัง และปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา ก็โอกาสที่โรคจะลุกลามไปเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
ยังไม่แน่ใจใช่ไหม? ว่าอาการต่อมทอนซิลอักเสบนี้ รุนแรงถึงขั้นต้องผ่าตัดรึเปล่า ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรค จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย