back pain screening get check scaled

เช็กลิสต์อาการปวดหลัง เรื้อรัง สัญญาณอันตราย เมื่อไหร่ต้องพบหมอ

ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกช่วงอายุ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรง บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจอาการปวดหลังเรื้อรัง สาเหตุที่เป็นไปได้ และสัญญาณอันตรายที่ควรพบแพทย์

อาการปวดหลังเรื้อรังที่พบบ่อย

อาการปวดหลังเรื้อรังอาจมีลักษณะและระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

  • ปวดหลังส่วนล่าง (Lower Back Pain) เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูก
  • ปวดหลังส่วนกลาง (Middle Back Pain) อาจเกิดจากปัญหากระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น
  • ปวดหลังส่วนบน (Upper Back Pain) มักเกี่ยวข้องกับท่าทางที่ไม่เหมาะสมหรือการกดทับของเส้นประสาท
  • ปวดร้าวลงขา (Sciatica) เกิดจากการกดทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดร้าวจากหลังส่วนล่างไปถึงขา

อาการปวดหลังเรื้อรัง เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดหลังเรื้อรังอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  1. กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอักเสบ เกิดจากการใช้งานหนักหรือการบาดเจ็บ
  2. หมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc) หมอนรองกระดูกที่ยื่นออกมาจากตำแหน่งปกติและกดทับเส้นประสาท
  3. โรคข้อกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative Disc Disease) การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกตามอายุ
  4. ช่องกระดูกสันหลังตีบ (Spinal Stenosis) ภาวะที่ช่องกระดูกสันหลังแคบลงและกดทับเส้นประสาท
  5. การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้ม หรือการกระแทกอย่างรุนแรง
  6. โรคอื่นๆ เช่น โรคกระดูกพรุน การติดเชื้อในกระดูกสันหลัง หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูก

เช็กลิสต์สัญญาณอันตรายของอาการปวดหลัง

1. ปวดร้าวไปที่ขาหรือแขน

หากคุณรู้สึกปวดหลังและมีอาการปวดแผ่ขยายลงไปที่ขา แขน หรือฝ่าเท้า อาการนี้อาจบ่งชี้ถึงปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (Herniated Disc) หรือการอักเสบของเส้นประสาท (Radiculopathy)

โดยเฉพาะเมื่อมีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย เช่น ยกขาหรือแขนไม่ขึ้น หรือมีการรับสัมผัสลดลงในบางบริเวณ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการอาจลุกลามจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน

2. ปวดหลังที่รุนแรงและต่อเนื่อง

อาการปวดที่ไม่หายไปแม้จะพักผ่อน หรือปวดเพิ่มขึ้นในช่วงกลางคืนจนรบกวนการนอนหลับ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น กระดูกสันหลังติดเชื้อ (Spinal Infection) หรือ เนื้องอกในกระดูกสันหลัง (Spinal Tumor) อาการเหล่านี้ควรได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียด เนื่องจากการปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้โรคเข้าสู่ระยะที่รักษาได้ยากขึ้น

3. ปวดหลัง พร้อมกับมีอาการร่วมอื่นๆ

หากคุณมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด 

  • มีไข้ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในร่างกาย เช่น เยื่อหุ้มกระดูกสันหลังอักเสบ หรือ กระดูกสันหลังติดเชื้อ 
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจบ่งบอกถึงโรคมะเร็งหรือเนื้องอก
  • อาการปวดบริเวณกระดูกหลังเฉพาะจุด ร่วมกับการกดเจ็บ อาจเกี่ยวข้องกับ การอักเสบของข้อต่อ หรือ การแตกของกระดูก (Fracture) ซึ่งมักพบในผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน

4. ปวดหลัง ร่วมกับสูญเสียการควบคุมการขับถ่าย

หากคุณมีอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ขาอ่อนแรง ชาขา และไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ อาการนี้อาจบ่งชี้ถึงภาวะ Cauda Equina Syndrome ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณเอวส่วนล่าง 

ภาวะนี้ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจนำไปสู่การสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทอย่างถาวร

5. อาการปวดที่เริ่มหลังจากอุบัติเหตุรุนแรง

หากอาการปวดหลังเกิดขึ้นหลังจากการล้มแรง หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจมีความเสี่ยงที่กระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย เช่น กระดูกสันหลังแตก (Fracture) หรือ กระดูกเคลื่อน (Spondylolisthesis) อาการนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยภาพถ่ายวินิจฉัย เช่น X-ray หรือ CT Scan เพื่อประเมินความรุนแรงและหาวิธีรักษาที่เหมาะสม

ปวดหลังเรื้อรัง ต้องรีบตรวจ ขั้นตอนการตรวจมีอะไรบ้าง?

การสังเกตอาการเหล่านี้จะช่วยให้คุณทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในอนาคต

ปวดหลังไม่ยอมหาย มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อยากตรวจให้แน่ชัด ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจและรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top