โรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis Disease) หมายถึง โรคติดเชื้อที่เกิดกับอวัยวะรอบๆ ฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน
โรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ แม้จะพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควร แต่หากรู้ตัวไว และเข้ารับการรักษาได้เร็วและถูกวิธีก็ยังมีโอกาสหายจากโรคนี้ได้เช่นกัน
ปัญหาของหลายคนก็คือ โรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบควรรักษาที่ไหนดี? ราคาในการรักษาเท่าไหร่? ใช้สิทธิ์ประกันสังคมรักษาได้ไหม? HDmall.co.th ช่วยหาคำตอบให้
สารบัญ
รักษาโรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ รักษาที่ไหน?
ด้วยชื่อโรคที่ฟังดูอาจไม่คุ้นเคยทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่า โรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบต้องรักษาที่ไหน รักษาที่คลินิกทันตกรรมทั่วไปได้หรือเปล่า
โดยทั่วไปแล้วโรคปริทันต์ โรคปริทันต์สามารถเข้ารับการตรวจและรักษาได้ตามแผนกทันตกรรม หรือคลินิกทันตกรรมทุกแห่ง
เพียงแต่บางแห่งอาจแยกออกเป็น “คลินิกปริทันตวิทยาและเวชศาสตร์ช่องปาก” โดยเฉพาะ เช่น โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือการแจ้งว่า มีบริการเกี่ยวกับโรคเหงือก ทันตกรรมปริทันต์
รักษาโรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ ราคาเท่าไหร่?
จุดมุ่งหมายสำคัญของการรักษาโรคปริทันต์คือ การกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์อันเป็นสาเหตุหลักของการก่อโรคออกก่อน รวมทั้งทำให้พื้นผิวของฟัน คอฟัน ขอบเหงือกสะอาด เรียบ ป้องกันการสะสมของคราวจุลินทรีย์และหินปูน
ส่วนการรักษานั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของโรค และความรุนแรงของโรค ได้แก่
- การขูดหินปูน เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟันและบริเวณขอบเหงือกออก
- การเกลารากฟัน เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปในผิวรากฟันออกให้ผิวรากฟันสะอาดและเรียบ
- การผ่าตัดเปิดเหงือก เพื่อดูการอักเสบที่ลุกลามไปยังรากฟัน หรือกระดูกเบ้าฟัน และกำจัดคราบจุลินทรีย์ หินปูนออกหากมี เมื่อรักษาแล้วเสร็จจึงนำเหงือกกลับสู่ตำแหน่งเดิม วิธีนี้เพื่อให้ร่องเหงือกตื้นขึ้น
- การถอนฟัน วิธีสุดท้ายหากไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้แล้ว เนื่องจากรากฟันถูกทำลายจนฟันโยกคลอน
ราคาการรักษาจึงขึ้นอยู่กับการรักษาแต่ละวิธี หรือตามแต่ละคลินิกทันตกรรม หรือแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลกำหนด
- การเกลารากฟัน ราคาประมาณซี่ละ 200-500 บาท
- ขูดหินปูนและขัดฟัน ราคาประมาณ 900 บาท (ทั้งปาก)
- ขูดหินปูน/ เกลารากฟัน เพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบระยะต้นถึงปานกลาง ราคาประมาณ 2,000-4,000 บาท (ทั้งปาก)
- ขูดหินปูน/ เกลารากฟัน เพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบระยะรุนแรง ราคาประมาณ 4,000-6,000 บาท (ทั้งปาก)
- การขูดรากฟันโดยการผ่าตัดครั้งละประมาณ 3,000 บาท
- การผ่าตัดเปิดเหงือกครั้งละประมาณ 1,500-3,000 บาท
- การถอนฟัน ราคาประมาณซี่ละ 500-1,000 บาท
ศัลยกรรมเพื่อรักษาโรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ ราคาเท่าไหร่?
นอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว แล้วยังมีการทำศัลยกรรมเพื่อรักษาโรคปริทันต์ และอาการที่เป็นผลจากโรคปริทันต์ด้วย
จุดมุ่งหมายสำคัญคือ การเสริมความมั่นใจให้คืนกลับมา ไม่ว่าจะเป็นฟัน หรือเหงือก ซึ่งจะเลือกใช้บริการ หรือไม่ก็ได้
- ศัลยกรรมเพื่อเพิ่มความยาวตัวฟัน หรือผ่าตัดร่นเหงือก ราคาประมาณซี่ละ 3,500-5,000 บาท
- ศัลยกรรมเพื่อแก้ไขเหงือกร่น ราคาประมาณตำแหน่งละ 8,000-10,000 บาท
- ศัลยกรรมกระดูกเพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบ ราคาประมาณตำแหน่งละ 4,000-6,000 บาท
- การตัดรากและผ่าซีกฟัน ราคาประมาณซี่ละ 3,500-4,000 บาท
- เหงือกปลอมแบบแข็ง ราคาประมาณชิ้นละ 2,000-2,500 บาท
- เหงือกปลอมแบบนิ่ม ราคาประมาณชิ้นละ 3,500-4,000 บาท
ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล ค่าบริการคลินิกทันตกรรม ซึ่งควรติดต่อสอบถามก่อนเข้ารับบริการ
รักษาโรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม?
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกันตนสำหรับการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาทต่อคนต่อปี
สำหรับการรักษาโรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ ด้วยวิธีขูดหินปูน หรือถอนฟัน ก็สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกันภายใต้วงเงิน 900 บาทต่อคนต่อปี และสามารถใช้บริการยังคลินิกทันตกรรมที่ให้บริการทันตกรรม “ทำฟัน” ไม่ต้องสำรองจ่าย
หรือหากคลินิกทันตกรรมที่ไปใช้บริการไม่ได้ทำความตกลงเรื่องการเบิกจ่ายดังกล่าว หลังผู้ประกันสำรองจ่ายไปก่อน ให้นำเอกสารได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จ และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ใช้บริการที่ระบุไว้
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการสายด่วน 1506 กระทรวงแรงงาน
รักษาสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟัน ซอกฟัน เหงือก และลิ้น อย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อป้องกันการสะสมของคราบจุลินทรีย์อันเป็นสาเหตุของโรคฟันผุ โรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบ และหมั่นไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและรับการขูดหินปูน
หากมีสัญญาณเตือนต่อไปนี้ เหงือกบวมแดง มีเลือดออกระหว่างแปรงฟัน หรือมีกลิ่นปาก แนะนำให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ก่อนที่โรคปริทันต์ โรคปริทันต์อักเสบจะมาเยือน
เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจรักษาโรคเหงือก โรคปริทันต์
ที่มาของข้อมูล
- ทันตแพทย์หญิงฉัตรแก้ว บริบูรณ์หิรัญสาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล,“โรคปริทันต์” ถ้ารู้เท่าทันเราก็ไม่เป็น (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=698), 8 มิถุนายน 2564.
- โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, โรคปริทันต์อักเสบกับโรคหัวใจและหลอดเลือด, 8 มิถุนายน 2564.
- รศ.ทพ.ยสวิมล คูผาสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรคปริทันต์อักเสบ, 8 มิถุนายน 2564.
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC), Periodontal Disease , 8 June 2021.
- Jacquelyn Cafasso, Periodontitis (https://www.healthline.com/health/periodontitis), 8 June 2021.
- Yvette Brazier, What is periodontitis? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/242321), 8 June 2021.