อาหารหลายชนิดมีโซเดียมแฝงอยู่ในธรรมชาติและเป็นส่วนประกอบในการแปรรูป หรือผ่านการปรุงแต่งโดยมีการเติมโซเดียมลงไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องระวังในการเลือกซื้อหรือประกอบอาหารที่มีการเติมเกลือ ซึ่งการแปลงหน่วยของโซเดียมจากเกลือที่ใช้ในการประกอบอาหาร เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจ
นอกจากนี้ ในการคำนวณเกี่ยวกับโซเดียมมักพบปัญหาของความไม่เข้าใจเกี่ยวกับหน่วยของโซเดียม ซึ่งอาจพบว่าบางครั้งแสดงค่าเป็นหน่วยมิลลิกรัม (mg.) และบางครั้งอาจะแสดงค่าเป็นหน่วยมิลลิอิควิวาเลนต์ (milliequivalent: mEq.) เพราะในเอกสารหรือตำราบางเล่มใช้หน่วยเป็นมิลลิกรัม บางเล่มใช้หน่วยเป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ ซึ่งทั้งสองหน่วยนี้สามารถใช้ได้แต่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักคุ้นกับมิลลิกรัมมากกว่า โดยทั้งสองหน่วยสามารถแปลงกลับได้ ดังวิธีการคำนวณต่อไปนี้
สารบัญ
1. การคำนวณหาน้ำหนักโซเดียม จากเกลือแกง (sodium chloride: NaCl)
เกลือแกงหนัก 1,000 มิลลิกรัม มีโซเดียม 400 มิลลิกรัม หรือเกลือแกงหนัก 1 กรัม จะมีโซเดียม 0.4 กรัม โดยมีสูตรคำนวณหาโซเดียมในเกลือแกงที่จะใส่ลงในอาหารดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น เกลือแกง 5 กรัมคิดเป็นโซเดียมเท่ากับ 2 กรัม ( 5 × 0.4 = 2)
2. การแปลงหน่วยมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียม เป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม
ค่ามิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) เป็นค่าสมมูลของโซเดียม นั้นคือ ปริมาณสารนั้นหนักเท่ากับน้ำหนักสมมูลที่คิดเป็นมิลลิกรัม (ชวลิต และกวี, 2549) ค่าสมมูลจึงเท่ากับ น้ำหนักอะตอม หารด้วยวาเลนซีของอะตอมนั้น (น้ำหนักอะตอมของโซเดียม = 23, วาเลนซี = 1) น้ำหนักสมมูลของโซเดียมคิดเป็นมิลลิกรัม จึงเท่ากับ 23 มิลลิกรัม ดังนั้นการคำนวณเพื่อเปลี่ยนหน่วยของมิลลิกรัมของโซเดียม ให้เป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ สามารทำได้โดย นำค่ามิลลิกรัมมาหารด้วยน้ำหนักอะตอมของโซเดียม (โซเดียมมีน้ำหนักอะตอม = 23) ดังนั้นสูตรในการแปลง คือ
ยกตัวอย่าง เกลือแกง 1,000 mg. มีโซเดียมอยู่ 400 มิลลิกรัมคิดเป็นกี่มิลลิอิควิวาเลนต์ (mEQ.) โซเดียม แทนค่าสูตรในการคำนวณ 400 ÷ 23 = 17.39 mEq. ดังนั้นโซเดียม 400 มิลิกรัมคิดเป็น 17.39 mEq.เป็นต้น
3. การแปลงหน่วยมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม เป็นมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียม
เมื่อ 1 มิลลิอิควิวาเลนต์ของโซเดียมเท่ากับโซเดียม 23 มิลิกรัม ดังนั้นการแปลงหน่วยมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม ให้เป็นมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียม ทำได้โดยนำค่ามิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม มาคูณด้วยน้ำหนักอะตอมของโซเดียม (23) สูตรที่ใช้ในการแปลง คือ