ฟอกสีฟัน LED ดีอย่างไร? อ่านจบช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น!

แต่เดิมนั้นการฟอกสีฟันตามคลินิกมักจะใช้ยูวี (Ultra violet: UV) กระตุ้นการทำงานของสารฟอกสีฟันให้ฟันขาวไวขึ้น แต่เนื่องจากยูวีอาจมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ จึงมีการเปลี่ยนวิธีกระตุ้นจากยูวีมาเป็นแสง LED แทน

ฟอกสีฟัน LED คืออะไร?

การฟอกสีฟันด้วยไฟ LED คือการใช้แสงกระตุ้นน้ำยาฟอกสีฟันที่มีส่วนผสมของสารฟอกขาวจำพวกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) หรือคาร์บาร์ไมด์ เปอร์ออกไซด์ (Carbamide peroxide)

เมื่อน้ำยาถูกกระตุ้น จะสามารถแตกตัวเม็ดสีที่อยู่ในชั้นเคลือบฟันได้ไวขึ้น มากขึ้น ทำให้ฟันแลดูสว่างขึ้น

LED ย่อมาจาก Light emitting diode ซึ่งเป็นแสงที่นิยมใช้ในกันชีวิตประจำวัน จึงค่อนข้างมั่นใจว่ามีความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องทำความร้อน จึงสามารถปรับความเข้มข้นสูงๆ ได้

อีกทั้งส่วนใหญ่ยังนิยมใช้เป็นแสงสีออกฟ้าๆ ทำให้มีอีกชื่อเรียกว่า “ฟอกสีฟันระบบ Cool light” ซึ่งก็คือไฟ LED นั่นเอง

ฟอกสีฟัน LED ทำที่บ้านได้ไหม?

ปัจจุบันมีชุดฟอกสีฟันด้วย LED ที่สามารถทำเองที่บ้าน มีความปลอดภัยสูงเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในน้ำยาฟอกสีฟันจะน้อยกว่าน้ำยาที่ใช้ในคลินิก (อาจอยู่ที่ประมาณ 3-10%)

ชุดฟอกสีฟันที่บ้านมีทั้งแบบซื้อได้เองตามร้านขายยา และซื้อจากคลินิกทันตกรรมโดยจะมีผู้ชำนาญการให้คำแนะนำ

ข้อดีของการฟอกสีฟัน LED

ข้อดีที่หลายคนเลือกใช้การฟอกสีฟัน LED มีดังนี้

  • เห็นผลทันทีหลังทำ การฟอกสีฟัน LED ที่คลินิกทันตกรรมสามารถเห็นผลได้ทันทีหลังฟอกเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น เฉดสีอาจสว่างขึ้น 3-5 เฉดสี ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
  • สามารถทำเองได้ที่บ้าน สำหรับคนที่เวลาว่างไม่ตรงกับเวลาที่คลินิกทันตกรรมเปิด ก็สามารถหาชุดฟอกสีฟัน LED ตามร้านขายยามาทำเองได้ หรือหากฟอกสีฟันที่คลินิกทันตกรรมมาแล้วยังไม่พอใจเฉดสีที่ได้ ผู้ชำนาญการอาจให้ชุดฟอกสีฟันกลับไปทำต่อที่บ้านเพื่อให้ผลลัพธ์ตรงตามที่ต้องการ
  • มีความปลอดภัยสูง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าแสง LED นั้นไม่ทำร้ายเซลล์อื่นๆ บริเวณช่องปาก เพียงแต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการทำปฎิกริยาบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

ข้อเสียของการฟอกสีฟัน LED

แม้การฟอกสีฟัน LED จะค่อนข้างปลอดภัยแต่ก็มีข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจด้วย ดังนี้

  • อาจเกิดการระคายเคือง ในกรณีใช้ชุดฟอกสีฟันที่บ้าน หากใช้ผิดวิธีก็อาจเกิดอาการระคายเคืองได้ เช่น ใช้มากเกินไป นานเกินไป น้ำยาซึมโดนเหงือกหรือบริเวณรอบๆ เป็นต้น
  • อาจเกิดอาการเสียวฟัน เมื่อสารฟอกสีฟันแตกตัวเม็ดสีภายในเคลือบฟัน อาจกระทบกับปลายประสาททำให้เสียวฟันได้ แต่อากาจะค่อยๆ ดีขึ้น อาจใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันเพื่อบรรเทาอาการ หรือแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม
  • ไม่ใช่วิธีฟอกสีฟันถาวร ระยะเวลาที่ฟันจะขาวอยู่นั้นแล้วแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถึงแม้จะรักษาดีเพียงใด หากใช้งานไปนานๆ ฟันก็อาจเป็นสีเหลืองได้เช่นกัน
  • ไม่มีผลกับวัสดุทำฟันในช่องปาก น้ำยาฟอกสีฟันไม่มีผลกับอุปกรณ์ทางทันตกรรม เช่น ครอบฟัน (Crowns) วีเนียร์ (Veneers) หรือวัสดุอุดฟัน หากใครใส่วัสดุดังกล่าวอาจต้องปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อแก้ไขสีของอุปกรณ์
  • ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เพราะแต่ละคนอาจมารับการฟอกสีฟันด้วยสภาพฟันที่ต่างกัน ผู้ที่ฟันเหลืองมากๆ อาจต้องฟอกสีฟันมากกว่าคนที่ฟันเหลืองเพียงเล็กน้อย
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรฟอกสีฟัน LED ปัจจุบันยังมีผลการศึกษาน้อยเกินกว่าจะยืนยันว่าการฟอกสีฟันระหว่างตั้งครรภ์นั้นปลอดภัยหรือไม่ ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ควรรอฟอกสีฟันหลังคลอดแล้ว

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจฟอกสีฟัน


บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top