ฮอร์โมน (Hormone) เป็นสารเคมีที่กลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อสร้างขึ้น มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับร่างกายที่ต่างกัน การที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนที่สมดุลจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสภาวะจิตใจที่มั่นคง
อย่างไรก็ตาม หากระดับฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล ก็อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายและสภาวะอารมณ์ได้ ซึ่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก
สำหรับผู้ชายท่านใดที่สนใจตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย แต่ยังไม่รู้ว่า ควรตรวจด้วยวิธีไหนดี หรือไม่แน่ใจว่า ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศชายไหม สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย และผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายได้ที่บทความนี้เลย
สารบัญ
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย มีวิธีตรวจอย่างไรบ้าง?
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงการตรวจระดับฮอร์โมนทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ส่วนใหญ่แล้วมักตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือด (Blood test) แล้วส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์
โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Consultation Anti-Aging Medicine) จะซักประวัติผู้เข้ารับการตรวจ ตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป และนำผลตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดที่ได้ มาประเมินภาวะสุขภาพร่างกาย และวางแผนรักษาและแนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ
รายการตรวจฮอร์โมนนั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการตรวจ เช่น
- ตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมาก เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
- ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อตรวจดูระบบเผาผลาญของร่างกาย หาสาเหตุของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างผิดปกติ
- ตรวจระดับฮอร์โมนทั่วไป ทั้งฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต และโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) เพื่อตรวจดูสุขภาพร่างกายโดยรวม หาสาเหตุของภาวะซึมเศร้า ร่างกายไม่กระชับกระเฉง นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หรืออ้วนลงพุง เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ในเบื้องต้น แนะนำให้งดน้ำและอาหารมาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด และถ้าหากมีโรคประจำตัว หรือใช้ยารักษาโรคประจำตัวอยู่เป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนเข้ารับการตรวจด้วย
ใครที่เข้าควรรับการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย?
ผู้ที่มีอาการในกลุ่มภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่
- อารมณ์แปรปรวน
- นอนไม่ค่อยหลับ
- ระดับพลังงานลดลง อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
- การเผาผลาญในร่างกายลดลง
- อารมณ์ทางเพศลดลง
- ผิวพรรณเปลี่ยนแปลง แห้งกร้าน เหี่ยวย่น
- มีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน
หรือผู้ที่มีอาการในกลุ่มภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Low testosterone) ได้แก่
- อารมณ์ทางเพศลดลงจนเห็นได้ชัด
- อวัยวะเพศชายยากที่จะแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน หรือที่เรียกว่า “นกเขาไม่ขัน”
- มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
- ผมร่วงอย่างเห็นได้ชัด
- มีความเหนื่อยล้า อ่อนเพลย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- มวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกลดลง
- มีระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- อารมณ์แปรปรวน
- อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
- เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่
- ผู้ที่ชอบรับประทานของทอด ของมัน หรือของหวาน
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
- ผู้ที่มีความเครียดมาก ไม่สามารถจัดการความเครียดได้
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
นอกจากกลุ่มคนดังกล่าวแล้ว บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย หรือระดับฮอร์โมนทั่วไปในร่างกายได้เช่นกัน เพราะจะช่วยให้เรารู้จักกับร่างกายของตนเองได้ดีขึ้น และวางแผนดูแลสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม
ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ตรวจระดับฮอร์โมนในผู้ชาย ราคาเท่าไร ควรตรวจที่ไหนดี?
ราคาการตรวจระดับฮอร์โมนในผู้ชาย เริ่มตั้งแต่ 700-8,000 บาท ขึ้นอยู่กับรายการตรวจ และโปรโมชันของแต่ละสถานพยาบาล