โรคหืดหอบ (Asthma) คือ โรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากความไวผิดปกติของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ท่อทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบ และทำให้หายใจลำบาก โดยอาการของโรคหืดหอบ เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น หลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ เยื่อบุหลอดลมจะบวมทำให้หลอดลมตีบแคบลง ขณะเดียวกันการอักเสบทำให้หลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้น และตอบสนอง โดยการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบแคบลงไปอีก
นอกจากนี้หลอดลมที่อักเสบจะมีการหลั่งเมือกออกมามาก ทำให้ท่อทางเดินหายใจตีบแคบ และยังทำให้กล้ามเนื้อท่อทางเดินหายใจเกิดการหดตัว ทั้งหมดนี้ทำให้มีอาการหายใจลำบาก ไอ หายใจ มีเสียงวี้ด หายใจถี่ และรู้สึกแน่นหน้าอก ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบริมฝีปากและเล็บมีสีเขียวคล้ำ
สารบัญ
โรคหอบหืด คืออะไร?
โรคหอบหืด (asthma) คือ โรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง ทำให้หลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ หรือตัวกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้เกิดจากการหดตัวหรือการตีบตันของทางเดินหายใจ ในส่วนของหลอดลม ทำให้มีอากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง โรคหอบหืดส่วนมาก จะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นโรคที่มีอาการเรื้อรัง ซึ่งความรุนแรงของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันด้วย และอาการหอบของผู้ป่วย บางคนก็หอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนก็อาจหอบจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยเลยทีเดียว
อาการหืดหอบมักเกิดในตอนกลางคืนจนถึงเช้ามืด มีสาเหตุจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคหอบหืด เช่น สารก่อภูมิแพ้ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การได้รับผลจากยาบางชนิด การแพ้อาหารได้รับสารระคายเคือง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น โกรธ เครียด ดีใจ เสียใจ และเศร้าซึม
โรคหอบหืด เป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ จนกลายเป็นอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการตั้งแต่สร้างความไม่สะดวกเล็ก ๆ น้อยๆ จนส่งอันตรายถึงแก่ชีวิตเลยก็มี ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ควรพลาดที่จะทำความรู้จักโรคนี้กันไว้ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโรคหอบหืด ตั้งแต่โรคคืออะไร สาเหตุหรือปัจจัยในการเกิด อาการและการรักษาป้องกันมีอะไรบ้าง มาติดตามได้เลยดังนี้
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลม
- การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม
- การบวมหรือการอักเสบของเยื้อบุหลอดลม
- การมีเสมหะจำนวนมาก ที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม
ซึ่งการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลม เกิดจากการอักเสบของเยื้อบุหลอดลม และการอักเสบส่วนใหญ่ มักเป็นการอักเสบที่มีอาการเรื้อรัง และการตอบสนองจนเกินเหตุมากไป
ความแตกต่างของโรคหอบหืดกับโรคอื่นๆ
โรคหอบหืด แตกต่างจากโรคอื่น ๆ เพราะคนไข้แต่ละคนก็มีอาการแตกต่างกัน เช่น บางคนก็เป็นมาก ส่วนบางคนก็เป็นน้อย และยังเป็นโรคที่มีอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว และสิ่งที่กระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบ ก็มีความแตกต่างกันอีกด้วย โดยปกติแล้ว สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของโรคหอบหืด คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม โพรงจมูกอักเสบ ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ ท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย ภาวะแพ้ยา หรือสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งความเครียด ก็ล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของโรคทั้งสิ้น
โรคหอบหืดที่เกิดขึ้นในเด็ก
โรคหอบหืดที่เกิดในเด็ก ผู้ป่วยจะมีภาวะของโรคภูมิแพ้ร่วมอยู่ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ ความแตกต่างอยู่ที่ไม่มีอาการของภูมิแพ้ร่วมอยู่ด้วย จากสถิติมีผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่ถึง 10 – 13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนการวินิจฉัยโรคในเด็กนั้นจะทำได้ยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กบางคนมีอาการอื่นร่วมอยู่ด้วย หรือในเด็กบางคนก็อาจจะไม่มีอาการหอบเลยก็ได้
สาเหตุของหอบหืด
หอบหืดคืออาการที่หลอดลมของผู้เป็นโรคหอบหืดมีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น (STIMULI) สิ่งกระตุ้นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการหอบหืด ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ กลิ่น ควัน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกลับ ความดีใจ การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ ยา เช่น ยาแอสไพริน ยาลดคามดันบางกลุ่ม อาหาร เช่น อาหารทะเล ถั่ว ไข่ นม ปลา สารผสมในอาหาร เป็นต้น
อาการสำคัญของโรคหอบหืด
มีอาการไอตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนดึก ในผู้ป่วยบางรายเวลาหายใจมีเสียงหวีด หรือมีอาการแน่นหน้าอกร่วมอยู่ด้วย หรือหายใจลำบาก หรือผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรังแต่เพียงอย่างเดียว
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืดกำเริบ การติดเชื้อส่วนใหญ่อาจมาจากที่ชุมชน หรือในเด็กอาจจะติดเชื้อมาจากโรงเรียน มีเด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา และมีตัวกระตุ้นอีกหลายอย่าง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ตัวผู้ป่วยเองต้องหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี
การวินิฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องมีสำคัญอย่างมาก โดยจะต้องซักถามประวัติอาการของผู้ป่วยโดยละเอียด การตรวจร่างกาย และการวัดสมรรถภาพของปอด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหอบอยู่ยิ่งไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง ในส่วนของผู้ป่วยที่ไม่มีอาการชัดเจน แพทย์ก็ยังไม่สามารถให้คำวินิจฉัยได้ สิ่งสำคัญคือ การติดตามอาการของโรคจนแน่ใจว่าเป็นโรคหอบหืดอย่างแท้จริงนั่นเอง
ส่วนการวินิจฉัยโรคในเบื้องต้น สำหรับผู้ที่แพทย์ได้ลงความเห็นว่าเป็นโรคหอบหืด จะมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย ร่วมกับการทดสอบสมรรถภาพของปอด ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างที่กล่าวไว้เบื้องต้น และการประเมินความรุนแรงของโรค เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อวางแผนรักษาอย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งโรคหอบหืดเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการให้ดีขึ้นได้
การรักษาโรคหอบหืด
การรักษาโรคหอบหืด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเอง และยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย เพราะอายุของคนไข้ก็มีส่วนสำคัญ รวมถึงยังมีภาวะที่มักเกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือแม้แต่การอักเสบของโพรงจมูกเรื้อรัง
โดยทั่วไป แนวทางการรักษาที่ได้การยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ด้วยกัน 4 วิธี
- การตรวจสมรรถภาพถึงการทำงานของปอด เพื่อบ่งบอกความรุนแรงของโรค และเพื่อผลที่ดีในการติดตามรักษา
- การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ เพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว หรือวิธีการป้องกันการอักเสบของเยื้อบุหลอดลม นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ให้ผลดีอย่างมากทีเดียว
- การควบคุมภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ร่วมอยู่ด้วย
- การให้ความรู้กับคนไข้ และครอบครัวของคนไข้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเกี่ยวกับโรคหอบหืด เกี่ยวกับเรื่องของการปฏิบัติตัว เช่นเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกายที่พอเหมาะ และการใช้ยาอย่างถูกต้อง
จะเห็นได้ว่าความรู้ความเข้าใจ เป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียว เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื้อบุหลอดลม ทั้งยังสามารถกำเริบได้เป็นระยะ แม้คนไข้รู้สึกดี ไม่มีอาการไอหรือหอบก็ตาม แต่ภาวะของการอักเสบก็ยังคงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทและหละหลวมต่อการรักษาโรคอย่างถูกต้องจะดีที่สุด
เป้าหมายของการรักษาโรคหอบหืด การพยายามทำให้ผู้ป่วยอยู่ในช่วงเวลาปกติให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่เป็นปกติสุข ในส่วนของผู้ป่วยที่จับหืดบ่อย และไม่สามารถมีชีวิตอย่างปกติได้ เป้าหมายในการรักษา คือการลดความรุนแรงของโรค ด้วยการใช้ยาให้เหมาะสม โดยส่วนมากการรักษาอาการหอบหืดในโรงพยาบาล จะทำเท่าที่จำเป็นเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนัก และมีอาการอันตราย ที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ เมื่อมีอาการดีขึ้น ก็จะให้กลับไปรักษาอาการที่บ้าน
ส่วนในเรื่องของการใช้ยา ก็จะมีขั้นตอนในการรักษา โดยมีขนาดของยา ซึ่งจะใช้มากน้อยตามความรุนแรงของโรค ร่วมด้วยกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น การว่ายน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการควบคุมลมหายใจ และสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากคือ ผู้ป่วยควรใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะด้วย
ยาที่ใช้ในการรักษา
ยาต้านการอักเสบ ยาสเตียรอยด์ ถือว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษาโรคหอบหืด สำหรับผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่ ซึ่งยานี้มีทั้งรูปแบบของยาเม็ด และแบบพ่นเข้าสู่หลอดลมโดยตรง ซึ่งยาแบบพ่น ถือว่าเป็นยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดที่มีอาการเรื้อรัง และถือว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง เพราะมีปริมาณการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่น้อย และในปัจจุบันก็ยังไม่พบผลข้างเคียงที่มีอาการรุนแรงจากการใช้ยานี้
ในส่วนของยาที่ใช้รับประทาน เมื่อเกิดอาการกำเริบของโรคอย่างรุนแรงจนไม่สามารรถใช้ยาพ่นได้ และจะใช้ในการรักษาในระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 1 – 2 อาทิตย์เท่านั้น แต่หากรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น น้ำหนักเพิ่ม กระดูกผุ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
โครโมลิน และนิโดโครมิล เป็นยาพ่นที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกัน และลดการอักเสบ จากการออกกำลังกาย หรืออากาศเปลี่ยนแปลง
ยาขยายหลอดลม
ยาประเภทนี้จะช่วยขยายกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ หลอดลมที่หดและเกรงตัว
กลุ่มยาเบต้าอะโกนิส มีทั้งรูปแบบยาพ่นแบบน้ำ และแบบผง และยังมีในรูปของการรับประทานทั้งยาเม็ด และยาน้ำ รวมทั้งยังมีแบบที่ใช้กับเครื่องปั้มได้ ซึ่งยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการขยายหลอดลมสูง มักจะใช้กับคนไข้ที่มีอาการเฉียบพลัน แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน เพราะไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรคหอบหืด
กลุ่มยาแซนทีน เป็นยาที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และขยายหลอดลม ซึ่งเหมาะกับคนไข้หอบหืดเรื้อรัง ในปัจจุบัน จะมีทั้งยาฉีด ยาน้ำ และยาเม็ด เพื่อความสะดวกในการรับประทาน มีความปลอดภัยสูง พบผลข้างเคียงน้อย
การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
โรคหอบหืด เกิดจากเกิดจากอาการแพ้ ซึ่งอาจเกิดจากอาหาร เช่น แพ้อาหารทะเล เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น สปอร์ของเชื้อรา และอีกมากมาย และโรคนี้ผู้ป่วยแต่ละรายก็มีความรุนแรงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความไวต่อสิ่งที่แพ้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม บางคนอาจมีอาการจับหืดขั้นรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตจากโรคหอบหืด คือ 0.08 ต่อผู้ป่วย 100,000 คน ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหอบหืดปีละประมาณ 5,000 ราย และร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจับหืดขั้นรุนแรง
- การใช้ยาอย่างไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นเพราะไม่มีความรู้ในการใช้ยาดีพอ หรือไม่ทราบว่าควรใช้ยาในสถานการณ์ใด
- ผู้ป่วยที่มีอาการจิตเวชร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า
- ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ทำให้ไม่สามารถวางแผนในการรักษาในระยะยาวได้
- หลอดลมของผู้ป่วยมีความไวต่อการกระตุ้นอย่างรุนแรง
อาการรุนแรงของโรคหอบหืด
โดยทั่วไปความรุนแรงของโรคหอบหืดถูกแบ่งออกเป็น 4 ขั้น
- ระดับอาการเบื้องต้น ผู้ป่วยมาอาการหอบหืดน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง ไม่ค่อยมีอาการตอนกลางวัน หรือวัดได้จาก จะหอบเพียงช่วงกลางคืน ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน เมื่อทำการวัดสมรรถภาพของปอด ยังพบว่าเป็นปกติดีอยู่
- ระดับรุนแรงน้อย โดยมีอาการหอบหืดมากกว่าสัปดาห์ละครั้ง แต่ไม่ได้มีอาการทุกวัน ในช่วงกลางคืนจะหอบมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน
- ระดับรุนแรงปานกลาง หอบรุนแรงปานกลาง หอบทุกวัน การหอบตอนกลางคือเกินกว่าสัปดาห์ละครั้ง ละอาการที่เป็นจะกระทบต่อชีวิตประจำวัน
- ระดับรุนแรงมาก ผู้ป่วยที่มีอาการหอบอยู่ตลอดเวลา เป็นบ่อยมากในตอนกลางคืน และจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่มาก
ตัวบ่งชี้ที่บ่งบอกว่าหอบหืดคุมได้ดี
ผู้ป่วยมีอาการในตอนกลางวันน้อยกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการช่วงกลางคืน น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และมีความจำเป็นต้องการใช้ยาขยายหลอดลมน้อยกว่า 3–4 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่มีการขาดงานหรือขาดเรียนเนื่องจากหอบ สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ
โรคหอบหืด เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ทำได้แต่เพียงการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เกิดจากการการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ทำให้เกิดการหดตัวและตีบตันของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง และผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดก็มีอาการรุนแรงที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แนวทางในการรักษาก็มีความแตกต่างกันอีกด้วย เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ปกติสุขได้