Default fallback image

กระดูกสันหลัง หน้าที่ องค์ประกอบ และโรคที่เกี่ยวข้อง

  • กระดูกสันหลัง เป็นโครงกระดูกที่ช่วยป้องกันอันตรายแก่ระบบประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีหน้าที่รับความรู้สึก รวมถึงส่งกระแสประสาทจากสมองเพื่อสั่งการกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
  • เมื่อไรก็ตามที่กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เราทำส่งแรงกระแทกลงไปยังกระดูกสันหลังซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน หมอนรองกระดูกก็มีโอกาสเสื่อมหรือฉีกขาดจนปลิ้นตัวออกมา และไปกดทับเส้นประสาทจนกลายเป็น “โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท”
  • อาการปวด เป็นอาการที่พบได้ในทุกโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง โดยตำแหน่งที่ปวดมักจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะโพก
  • ความเสื่อมตามอายุ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การนั่งอยู่กับที่นานๆ การได้รับบาดเจ็บ เป็น 4 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้มากที่สุด
  • โรคกระดูกสันหลังคด เป็นโรคที่ไม่ได้มีอาการแสดงร้ายแรง แต่มักทำให้ลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยมีความไม่สมดุล เช่น ไหล่ไม่เท่ากัน กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน ความเว้าของเอว 2 ข้างไม่เสมอเท่ากัน

โรคที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังเป็นตำแหน่งที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายทั้งเวลาที่เราพักอยู่เฉยๆ และในระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่กระดูกสันหลังจะเกิดความเสื่อมหรือผิดปกติขึ้นได้ หากปล่อยให้กระดูกรับน้ำหนักร่างกายมากเกินไป หรือทำกิจกรรมในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

โดยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ได้แก่

1. โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูก เป็นเนื้อเยื่อที่คั่นกลางอยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ทำหน้าที่เสริมความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทก รวมถึงรับน้ำหนักของร่างกายระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ

แต่เมื่อไรก็ตามที่กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เราทำส่งแรงกระแทกลงไปยังกระดูกสันหลังซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน หมอนรองกระดูกก็มีโอกาสเสื่อมหรือฉีกขาดจนปลิ้นตัวออกมา และไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังจนกลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated Disc) ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดคอ ในกรณีที่การกดทับของเส้นประสาทเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ
  • ปวดหลัง และมักจะปวดจนร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
  • ปวดสะโพกหรือเอวส่วนล่าง โดยอาจปวดข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
  • มีอาการชาที่ขา น่อง เท้า 
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ขาเกร็ง
  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

กิจกรรมและการพฤติกรรมที่มักส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ได้แก่

  • การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • การก้มเงยบ่อยๆ
  • การยกของหนักบ่อยๆ
  • การสะพายกระเป๋าหนักๆ ด้วยไหล่ข้างเดียว
  • การทำงานอยู่ในที่ที่มีแรงสั่นสะเทือนบ่อยๆ 
  • การนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน
  • การไม่ออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อหลังที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกสันหลังอ่อนแอลง
  • การออกกำลังกายหนักเกินไป ซึ่งสามารถส่งผลให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเกินไป หรือในท่าที่ไม่เหมาะสม
  • การขับรถนานๆ
  • การประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง
  • พฤติกรรมสูบบุหรี่จัด

ปวดหลังร้าวลงขา เริ่มรู้สึกชา จนรู้สึกกังวลใจ อาการแบบนี้เป็นเพราะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหรือเปล่า อยากเช็กให้ชัวร์ ทำนัดคุยกับแพทย์เฉพาะทาง ผ่านแอดมิน HDcare ได้ที่นี่ 

2. โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) เป็นโรคที่เกิดจากการตีบแคบลงของโพรงกระดูกสันหลังซึ่งทำหน้าที่ปกป้องเส้นประสาทไขสันหลังซึ่งอยู่ภายใน โดยอาจตีบแคบที่โพรงกระดูกเพียงระดับเดียว หรือหลายระดับก็ได้ และส่งผลให้มีการกดทับของเส้นประสาทจนก่อให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น

  • อาการปวด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่โพรงประสาทตีบแคบ เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว และมักจะมีอาการมากขึ้นระหว่างอยู่ในท่ายืน
  • อาการชา
  • อาการเสียวแปลบที่มือ แขน เท้า หรือขา
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มือ แขน ขา หรือเท้า
  • มีปัญหาด้านการทรงตัว

ปัจจัยที่มักทำให้เกิดโรคพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ได้แก่

  • ความเสื่อมตามอายุ จึงมักพบโรคนี้ได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด
  • พฤติกรรมยกของหนักบ่อย 
  • พฤติกรรมนั่งหรือขับรถนานๆ
  • การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • การได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
  • การเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภาวะกระดูกโตผิดปกติ การมีเนื้องอกในไขสันหลัง

3. โรคกระดูกสันหลังคด

โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อแนวกระดูกสันหลังซึ่งจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงเกิดการคดงอเป็นรูปตัว C หรือตัว S จัดเป็นโรคในกระดูกสันหลังที่ไม่ได้ร้ายแรงนัก แต่เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น ความคดงอของกระดูกสันหลังก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจหรือปอดได้

ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดมักจะมีลักษณะทางกายภาพดังต่อไปนี้

  • ไหล่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
  • ความเว้าของเอว 2 ข้างไม่เสมอเท่ากัน
  • สะโพก 2 ข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
  • ขา 2 ข้างยาวไม่เท่ากัน

โรคกระดูกสันหลังคดมักเกิดได้จากสาเหตุดังนี้

  • ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด
  • ความผิดปกติของเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถรักษาสมดุลของแกนกลางลำตัวและกระดูกสันหลังได้
  • ความเสื่อมของกระดูกสันหลังตามอายุ
  • การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

4. โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative Disc) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เกิดได้จากอายุที่มากขึ้น การใช้งานหนัก การการใช้งานไม่เหมาะสม เช่น นั่งนานๆ ยกของหนักในท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ จนทำให้กระดูกสันหลังสูญเสียความยืดหยุ่นและความแข็งแรงในการรองรับแรงกระแทก ทำให้เกิดเป็นอาการผิดปกติตามมา เช่น

  • ปวดคอ
  • ปวดหลัง โดยอาจเริ่มจากปวดแบบเป็นๆ หายๆ ก่อนและกลายมาเป็นอาการปวดแบบเรื้อรัง
  • ปวดหลังจนร้าวลงขา
  • อาการตามแขน ขา เท้า
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

ปัจจัยของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ได้แก่

  • ความเสื่อมตามอายุ
  • การมีน้ำหนักตัวมากไป
  • การขับรถนานๆ หรือนั่งอยู่กับที่นานๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง และไม่มีลุกขยับร่างกายบ้าง
  • การยกของหนักบ่อยๆ
  • การประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง
  • พฤติกรรมสูบบุหรี่จัด

5. โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) คือ ภาวะที่ข้อกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากแนวปกติไปด้านหน้าหรือด้านหลัง โดยส่วนมากมักพบที่ข้อกระดูกส่วนเอวระดับข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากเป็นระดับข้อกระดูกสันหลังที่ต้องรับน้ำหนักร่างกายมากที่สุด และก่อให้เกิดอาการผิดปกติที่รบกวนชีวิตประจำวัน เช่น

  • ปวดหลังเรื้อรัง และมักจะมีอาการมากขึ้นระหว่างขยับหรือใช้งานหลัง เช่น ระหว่างก้ม เงย เดิน ยกของ
  • ปวดหลังร้าวลงไปถึงต้นขาหรือก้น
  • ปวดขาหรือมีอาการชาที่ขาหรือสะโพก และมักจะดีขึ้นเมื่ออยู่ในท่าก้มโค้งหรือนั่งพัก บางครั้งอาจชาลงไปถึงที่เท้า
  • เดินได้สั้นลง
  • รู้สึกตึงหรือเมื่อยกล้ามเนื้อหลังเร็วขึ้น โดยเป็นผลมาจากการทำงานที่หนักขึ้นของกล้ามเนื้อหลังเพื่อทดแทนกระดูกสันหลังที่เคลื่อน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

ปัจจัยหลักที่ทำให้กระดูกสันหลังมีโอกาสเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ ได้แก่

  • ข้อกระดูกสันหลังผิดปกติแต่กำเนิด
  • ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมมาก
  • เกิดการแตกหักที่กระดูกสันหลังซึ่งเชื่อมระหว่างปล้องกระดูกสันหลังกับส่วนหางของกระดูกสันหลัง
  • ข้อต่อฟาเซ็ต (Facet Joint) ซึ่งเป็นข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลังเกิดจากเสื่อม ทำให้กระดูกสันหลังขาดความมั่นคงในการเคลื่อนไหว
  • การทำกิจกรรมหรือการเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงตึงสะสมในกระดูกหลังส่วนล่าง เช่น ฟุตบอล ยกน้ำหนัก ยิมนาสติก กรีฑา
  • การได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
  • การลุกลามของโรคหรือการติดเชื้อบางชนิดมายังกระดูกสันหลัง เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก วัณโรคกระดูกสันหลัง

การเข้าใจโครงสร้าง และโอกาสเกิดความผิดปกติที่พบได้บ่อยของกระดูกสันหลัง เป็นจุดเริ่มต้น ที่ให้หลายๆ คนเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพกระดูกสันหลังมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติ หรือชะลอความเสื่อมให้ช้าลงได้

แต่หากคุณเริ่มมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดร้าวลงแขน ขา รู้สึกชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาในการเคลื่อนไหว ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะยิ่งตรวจพบและรักษาได้รวดเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่หายจากโรคก็สูงขึ้นตามไปด้วย

เริ่มมีอาการ คล้ายว่ากระดูกสันหลังจะผิดปกติ อยากปรึกษาและตรวจกับแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรค จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top