Default fallback image

9 เรื่องฟันน้ำนมและฟันแท้ของลูกที่พ่อแม่ควรรู้

รู้หรือไม่? การดูแลฟันลูกน้อยไม่จำเป็นต้องรอให้ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลฟันของลูกได้ตั้งแต่ซี่แรก และพื้นฐานฟันน้ำนมที่ดียังมีผลต่อฟันแท้ของลูกด้วย

มีคำถาม? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

บทความนี้ จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปดูกันว่า ฟันน้ำนมของเด็ก ๆ สำคัญกับฟันแท้อย่างไร ต้องพาลูกไปหาหมอฟันครั้งแรกตอนอายุเท่าไร เริ่มดูแลสุขภาพฟันให้ลูกน้อยได้ยังไงบ้าง และอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับฟันของลูกที่ควรรู้

1. เด็กสามารถหาหมอฟันครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน

คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์สำหรับเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก ซึ่งอายุที่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นอยู่ในช่วง 6–12 เดือน หรือช้าสุดอายุไม่เกิน 1 ปี ตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็จะได้มีความรู้ในการดูแลช่องปากและป้องกันฟันผุให้กับลูกอย่างถูกวิธี

นอกจากนี้ ควรพาลูกไปตรวจฟันเป็นประจำ ปีละ 1–2 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นหากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดฟันผุ ซึ่งหมอฟันจะช่วยตรวจประเมินความเสี่ยงของฟันผุ การขึ้นของฟันปกติดีไหม อาจแนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ลดการเกิดฟันผุ 

2. ฟันน้ำนมสำคัญพอกับฟันแท้

ฟันน้ำนมมีความสำคัญไม่แพ้กับฟันแท้ เด็กที่ฟันน้ำนมผุมักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เพราะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติ ทำให้ฟันน้ำนมซี่อื่นผุได้ง่าย และฟันแท้ที่ขึ้นมาใหม่ก็จะผุได้ง่ายด้วย

นอกจากนี้ ฟันน้ำนมจะเป็นตัวคั่นช่องว่างระหว่างรอฟันแท้ขึ้นมา การเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาจะทำให้เกิดช่องว่างในช่องปาก เมื่อฟันแท้ขึ้นก็มักจะพบปัญหาฟันซ้อน ฟันเก ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง และอาจต้องจัดฟันในท้ายสุด

ฟันน้ำนมยังมีหน้าที่ช่วยในการออกเสียงให้ชัด และบดเคี้ยวอาหาร เมื่อไม่มีฟันน้ำนมจะส่งผลต่อการกินอาหาร การออกเสียงและการพูดของเด็ก ทำให้ลูกอาจมีพัฒนาการไม่สมวัย มีผลทางจิตใจ โดนล้อเลียนจากฟันน้ำนมที่สูญเสียไป

3. สูญเสียฟันน้ำนมเร็วก่อนวัยมีผลกับฟันแท้

ฟันน้ำนมของเด็กจะทยอยขึ้นในช่วงอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป พออายุ 11–12 ปี ฟันน้ำนมจะค่อย ๆ หลุดออกเอง และมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ถ้าฟันน้ำนมหลุดหรือต้องถอนก่อนเวลาจะเกิดช่องว่าง ฟันซี่ข้างเคียงจะล้มเอียงลงมา หรือขยับมาอยู่ในช่องว่างที่ฟันถูกถอนไป 

ส่งผลให้ฟันแท้ที่จะขึ้นใหม่ไม่มีพื้นที่เพียงพอ กลายเป็นฟันคุด ฟันซ้อนเก จนต้องจัดฟันหรือรับการรักษาต่อไป หรือฟันแท้อาจขึ้นเร็ว มีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลความสะอาดของช่องปากลูกอย่างใกล้ชิด

4. ฟันผุได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น

ปัญหาฟันผุหรือฟันน้ำนมผุเกิดได้ตั้งแต่ลูกมีฟันขึ้นในช่องปาก หรืออายุประมาณ 6 เดือน เพราะฟันน้ำนมมีองค์ประกอบที่ช่วยให้ฟันแข็งแรงน้อยกว่าฟันแท้ อย่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส รวมถึงเคลือบฟันที่เป็นชั้นนอกสุดยังบางกว่าครึ่งของฟันแท้ ทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายกว่า  

5. ฟันลูกผุอาจไม่เป็นต้องถอนฟันเสมอไป

การถอนฟันมักเป็นวิธีรักษาสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้แล้ว ปกติแล้วการรักษาฟันน้ำนมผุจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการผุ 

มีคำถาม? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

  • ฟันผุระยะเริ่มต้น ฟันผุไม่มาก จะใช้วิธีการอุดฟัน ซึ่งจะมีวัสดุและวิธีการหลายแบบแล้วแต่ฟันเด็กแต่ละคน
  • ฟันผุลึกถึงชั้นเนื้อฟัน ผุหลายด้านจนอุดฟันไม่ได้ จะรักษาด้วยการครอบฟัน เพื่อช่วยป้องกันฟันส่วนที่เหลือไม่ให้ผุไปมากกว่าเดิม 
  • ฟันผุรุนแรงจนทะลุเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน แต่ยังไม่ได้ทำลายรากฟันและกระดูกเบ้าฟันไปมาก มักใช้การรักษารากฟันน้ำนม เพื่อเก็บรักษาฟันน้ำนมไว้ใช้งานรอจนฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ 
  • ฟันผุรุนแรงจนเกิดการติดเชื้อ ทำให้ปลายรากฟันอักเสบ มีการละลายตัวของกระดูกหุ้มรากฟันมาก อาจต้องถอนฟันน้ำนมออก เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อลงสู่ฟันถาวรข้างใต้ได้ 

6. ป้องกันฟันลูกผุได้ด้วยการเคลือบฟัน การเคลือบฟลูออไรด์

ฟันน้ำนมมีโอกาสผุได้ง่ายมากกว่าฟันแท้ โดยเฉพาะฟันน้ำนมซี่หน้าบนมักผุได้ง่ายกว่าฟันหน้าล่างฟัน และฟันกรามด้านบดเคี้ยวที่ทำความสะอาดได้ยาก นอกจากปรับการรับประทานอาหาร และทำความสะอาดฟันของเด็กอย่างเหมาะสมแล้ว

เด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุได้สูง คุณหมออาจให้เคลือบหลุมร่องฟัน เริ่มจากฟันกรามน้ำนมในช่วงอายุ 3 ปี และเคลือบอีกครั้งตอนฟันกรามแท้ซี่แรกขึ้นในช่วงอายุ 6–7 ปี เพื่อช่วยให้เคลือบผิวฟันที่เป็นหลุมให้เรียบขึ้น ลดโอกาสเศษอาหารไปสะสม และทำความสะอาดฟันได้ง่าย 

นอกจากนี้ คุณหมออาจแนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่พาเด็ก ๆ ไปหาหมอฟันพอดี หรือสั่งจ่ายฟลูออไรด์เสริมแบบรับประทานแทน

7. เด็กเล็กควรหาหมอฟันเด็กโดยเฉพาะ

ด้วยหลาย ๆ เหตุผล ฟันของลูกควรให้ทันตแพทย์เด็กเป็นผู้ดูแล เพราะโครงสร้างฟันเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่ ฟันของเด็กเป็นฟันน้ำนมที่ซี่ฟันเล็กกว่า โครงสร้างฟันยังไม่แข็งแรง ผุได้ง่ายและเร็วกว่า การดูแลรักษาต้องอาศัยความเชี่ยวชาญมากกว่าผู้ใหญ่ และเน้นป้องกันไม่ให้ฟันผุ

นอกจากนี้ เด็กมีความกลัวมากกว่าผู้ใหญ่ ต้องอาศัยจิตวิทยาในการพูดคุย เมื่อเด็กมีความกลัวอาจควบคุมตัวเองไม่ได้ และเด็กยังสื่อสารได้ไม่ชัดเจนเท่าผู้ใหญ่ ทำให้การรักษาทำได้ยากขึ้น 

การพาลูกไปรักษากับหมอฟันเด็กที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างฟัน อารมณ์และการแสดงออกของเด็ก จะช่วยให้ลูกมีประสบการณ์ทำฟันที่ดี การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น ทำได้อย่างตรงจุด

8. โรคประจำตัวหรือยาบางชนิดอาจมีผลกับฟันลูก

ปัญหาฟันผุอาจเกิดได้จากโรคประจำตัวหรือยาที่อาจเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟัน เช่น เด็กที่เป็นโรคลมชักจะต้องรับประทานยาเป็นประจำ ซึ่งตัวยาที่ใช้รักษาอาจส่งผลให้เหงือกบวมง่ายกว่าปกติ 

หรือยาเด็กหลายชนิดมักเป็นยาน้ำหวาน มีน้ำตาลซูโครสเป็นส่วนประกอบ ถ้าไม่ดื่มน้ำตาม อาจเพิ่มโอกาสให้ฟันผุได้มากขึ้น ยิ่งเด็กที่ป่วยบ่อย หรือมีปัญหาสุขภาพจากโรคต่าง ๆ มักถูกมองข้ามเรื่องการดูแลความสะอาดของช่องปาก จึงทำให้ฟันผุได้ง่าย

9. ควรทำความสะอาดช่องปากเด็กตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น

เนื่องจากแบคทีเรียในช่องปากสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในนมจนเกิดกรดกัดกร่อน มีผลให้ฟันผุได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มทำความสะอาดช่องปากของลูกตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น นอกจากช่วยเรื่องความสะอาดช่องปากแล้ว ยังช่วยให้เด็กคุ้นชินกับการแปรงฟันในอนาคตด้วย

  • แรกเกิด–6 เดือน เป็นช่วงฟันไม่ขึ้น ควรทำความสะอาดช่องปากโดยใช้ผ้าสะอาดนุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดเหงือก กระพุ้งแก้มและลิ้นเบา ๆ 
  • ฟันน้ำนมขึ้น–1 ปี ให้ใช้ผ้าพันนิ้วถูทำความสะอาดฟันเด็กให้สะอาดเหมือนกันการทำความสะอาดเหงือกตอนเด็ก เพราะฟันเด็กยังมีขนาดเล็ก การใช้แปรงสีฟันจะไม่สะดวกเมื่อเทียบเท่ากับการใช้นิ้วของคุณแม่   
  • อายุ 1–3 ปี ฟันของลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น เด็กสามารถใช้แปรงสีฟันเด็กได้แล้ว ควรเริ่มสอนลูกแปรงฟัน โดยลองแปรงฟันให้ลูกก่อน ฝึกให้เด็กบ้วนน้ำเป็นก่อนให้ลูกแปรงฟันเอง เพื่อป้องกันการเผลอกลืนยาสีฟันโดยไม่ตั้งใจ และตรวจดูฟันลูกหลังแปรงฟัน
  • อายุ 3–4 ปี ลูกสามารถแปรงฟันเองได้แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ยังต้องคอยตรวจเช็กความสะอาดช่องปากหลังลูกแปรงฟันเสร็จทุกครั้ง
  • อายุ 6 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นมาทดแทนฟันน้ำนม ถ้าฟันแท้ขึ้นมาแล้ว ฟันน้ำนมยังไม่ยอมหลุดนานกว่า  3 เดือน ควรพาลูกไปพบคุณหมอ หรือถอนฟันน้ำนมออก เพื่อให้ฟันแท้จะได้ขึ้นได้อย่างเป็นระเบียบ

ปัญหาช่องปากของลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ฝึกให้ลูกเคยชินกับการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำคุณหมอ หากลูกยังเล็กต้องไม่ละเลยการตรวจดูความสะอาดช่องปากให้ลูกด้วย 

นอกจากนี้ ควรพาลูกไปพบหมอฟันเป็นประจำ เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟัน รับคำแนะนำในการดูแล เพราะเด็กจะชอบกินขนมขบเคี้ยว หรือบางกิจกรรมอาจทำให้มีปัญหาฟันได้ อย่างการว่ายน้ำ 

สุขภาพฟันลูกเริ่มดูแลได้ตั้งแต่เด็ก ดูโปรทันตกรรมเด็ก ปรึกษาหมอฟันเด็กเฉพาะทาง จากคลินิกทันตกรรมใกล้บ้านคุณ จองผ่าน HDmall.co.th รับส่วนลดพิเศษไปอีกขั้น คลิกเลย 

มีคำถาม? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ