เมื่อวันหยุดยาวที่เต็มไปด้วยความสุขสิ้นสุดลง หลายคนกลับมาสู่ชีวิตประจำวันด้วยอารมณ์ที่ ดูเหมือนจะไม่สดใสเหมือนเดิม ตัวคุณอาจกำลังเผชิญกับ อาการซึมเศร้าหลังหยุดยาว (Post vacation blues) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน
สารบัญ
Post vacation blues คืออะไร ทำไมถึงเกิด?
“Post vacation blues” หรือ “ภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว” เป็นอาการที่หลายคน ประสบเมื่อกลับสู่ชีวิตประจำวันหลังการหยุดพักผ่อนยาวนาน เป็นเพียงอาการหรือภาวะชั่วคราว ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวช
ภาวะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของกิจวัตรประจำวันและสิ่งแวดล้อม เมื่อเรากลับมาสู่ชีวิตจริงหลังจากช่วงเวลาผ่อนคลาย ความแตกต่างระหว่างความสุข ในวันหยุดกับความเครียดในชีวิตประจำวัน อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่าย ซึมเศร้า จิตใจห่อเหี่ยว
นอกจากนี้ ความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง และการปรับตัวเข้าสู่กิจวัตรเดิมอย่างรวดเร็ว ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการขึ้นได้ ยิ่งเป็นคนที่เบื่องานอยู่แล้ว ทำงานที่มีความเครียดสูง หรือไม่ค่อยมีความมั่นคงทางอารมณ์ จะเสี่ยงเกิดอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดได้ง่าย
Post vacation blues อาการเป็นแบบไหน?
ความรู้สึกจะคล้ายกับภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า เช่น
- รู้สึกเศร้า หดหู่ ไม่มีแรงจูงใจ ไม่อยากทำงาน เบื่อหน่ายกับกิจกรรมประจำวัน
- รู้สึกไม่สดชื่น นอนไม่เต็มอิ่ม พักผ่อนแค่ไหนก็ไม่เพียงพอ อาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
- หงุดหงิดง่าย กังวลทุกอย่างจนเกินเหตุ ไม่ค่อยมีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ค่อยดี
- บางคนอาจจมดิ่งไปกับอารมณ์เศร้าหมองจนเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมชีวิตช่างจืดชืด น่าเบื่อ
แก้ปัญหาทางใจ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์ คลิกจองโปรด่วนกับ HDmall.co.th
7 ทริคง่าย ๆ เยียวยาใจหลังหยุดยาว
มาเปลี่ยนความรู้สึกหดหู่หลังหยุดยาวให้เป็นพลังบวกด้วย 8 วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยปรับตัวกลับสู่ชีวิตประจำวันอย่างราบรื่น เพิ่มแรงจูงใจและความสุข พร้อมเริ่มต้นวันใหม่อย่างสดใส!
1. หาแรงจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การทำงาน หรือทำสิ่งอื่น ๆ ผ่านไปได้ด้วยดี ลองตั้งเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ทำสิ่งนั้นเพื่ออะไร หากผลสำเร็จแล้ว จะดีกับเราในด้านไหน อาจเป็นผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
บางคนอาจหาแรงจูงใจด้วยการทำภารกิจใหม่ หรือสิ่งที่ท้าทายความสามารถตัวเอง เพื่อสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในงานที่ทำ สิ่งสำคัญเพียงแค่เป้าหมายหรือสิ่งที่เราคิดว่าท้าทายนั้น ควรเป็นเรื่องที่ทำได้จริง ไม่ไกลเกินตัว
2. จัดลำดับความสำคัญของงาน
การจัดความสำคัญของงานจะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ให้เริ่มต้นวันแรกด้วยงานที่ง่าย มีความสำคัญน้อย เพื่อให้ปรับตัวได้โดยไม่รู้สึกกดดันเกินไป กลับมามีสมาธิในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว
3. ทำกิจกรรมที่ชอบหลังเลิกงาน
หลังจบวันหรือทำงานเสร็จสิ้นแล้ว อย่าลืมใช้เวลาว่างไปกับกิจกรรมที่รัก งานอดิเรกที่ชอบ เช่น ดูซีรีส์ที่ดูค้างไว้ ฟังเพลงโปรด หรือออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดความตึงเครียดจากการทำงาน ค่อย ๆ ปรับสภาพอารมณ์ให้ชินกับสถานการณ์ปัจจุบัน
4. อยู่กับปัจจุบัน
เป็นเรื่องธรรมดาที่ชีวิตเราจะต้องพบเจอความสุขและความทุกข์ในช่วงเวลาต่าง ๆ ให้โฟกัสที่การทำงานในปัจจุบัน ลองจัดลิสต์สิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้มีสมาธิ และไม่จมอยู่กับความคิดถึงวันหยุดที่ผ่านมา
5. แชร์ประสบการณ์จากวันหยุด
การเล่าเรื่องราวหรือแชร์ประสบการณ์ที่ดีในวันหยุดกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิด จะช่วยให้มีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความสุขที่ได้รับ ทำให้ความทรงจำนั้นยังคงสดใสอยู่ ไม่รู้สึกไม่ดีจากการหยุดพักผ่อนในแต่ละครั้ง
6. รักษาสุขภาพทางกาย
สุขภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ควรละเลย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าหลังเดินทางไปพร้อม ๆ กับสภาพจิตใจ
7.วางแผนวันหยุดครั้งถัดไป
การวางแผนท่องเที่ยวในทริปถัดไป อาจเป็นการจองที่พักในฝัน หรือคิดกิจกรรมสนุก ๆ ที่อยากทำ จะช่วยให้มีสิ่งที่ต้องตั้งตารอ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เติมพลังใจและมีไฟในการทำงานมากขึ้น
ซึมเศร้า ท้อแท้แค่ไหน ควรไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์?
ระยะของอาการซึมเศร้าหลังวันหยุดมักเกิดขึ้นช่วงสั้น ๆ 2–3 วัน แต่บางคนอาจยาวนานเป็นสัปดาห์ จากนั้นก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ ความรู้สึกต่าง ๆ จะหายไปเอง
อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้น หรือกระทบต่อการใช้ชีวิต การพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่จะช่วยให้จัดการกับความรู้สึกตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
รู้สึกเศร้า ห่อเหี่ยว ไม่ว่าหลังหยุดยาวหรือช่วงไหน ปรึกษาคุณหมอหรือนักจิตวิทยา ช่วยคลายความสึกเดิมออกไป จองด่วน รับโปรเฉพาะที่ HDmall.co.th หรือสอบถามแอดมินทางไลน์