ตรวจมะเร็งรังไข่ เจอไวมีโอกาสหายได้

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) คือก้อนเนื้อผิดปกติที่โตขึ้นบริเวณรังไข่ เป็นมะเร็งที่หลายคนบอกว่าเป็นภัยเงียบ จะทรายก็ต่อเมื่อเป็นมากและอันตรายแล้ว

ทำไมควรตรวจมะเร็งรังไข่?

มะเร็งทุกชนิดมีความอันตรายต่อร่างกายและชีวิต มะเร็งรังไข่เองก็เป็นหนึ่งในโรคที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยมีเหตุผลที่ควรตรวจมะเร็งรังไข่หลักๆ 2 ข้อ ดังนี้

1. มะเร็งรังไข่ไม่ค่อยแสดงอาการ จึงไม่ค่อยทราบว่าตัวเองเป็น

มะเร็งรังไข่มักจะเริ่มเป็นบริเวณเยื่อบุด้านนอกรังไข่ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไรเลยในช่วงแรก หรืออาจมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยอาการที่แสดงก็คล้ายกับอาการผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่ร้ายแรง เช่น

ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ปวดหลังหรือช่องท้อง มีเลือดออกจากช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ ท้องอืด น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะลำบากขึ้น

ซึ่งอาการเหล่านี้คล้ายกับอาการก่อนเป็นประจำเดือน หรืออาการของโรคลำไส้แปรปรวน หลายคนจึงคิดว่าคงจะหายไปเอง จนมะเร็งรังไข่ค่อยๆ ลุกลามและรักษาได้ยาก

2. มะเร็งรังไข่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดจึงป้องกันได้ยาก

มะเร็งรังไข่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร มีก็แต่เพียงปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องต่อการเกิดเนื้อร้าย ทำให้โรคนี้ป้องกันได้ยากและทุกคนมีโอกาสเป็นได้

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ มีดังนี้

  • ผู้ที่มีความผิดปกติของยีนในร่างกาย ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • ผู้ที่ญาติมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรช้า เนื่องจากร่างกายอาจได้รับผลกระทบเรื่องฮอร์โมน
  • ผู้ที่อายุมาก เพราะมะเร็งรังไข่จำนวนมากมักตรวจพบในผู้ที่อายุมากกว่า 63 ปี
  • ผู้ที่มีน้ำหนักมาก หรือเป็นโรคอ้วน

อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าข่ายปัจจัยที่กล่าวไป

ตรวจมะเร็งรังไข่ตรวจยังไง?

การตรวจมะเร็งรังไข่เพียงวิธีเดียวอาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเนื้อร้ายมะเร็งหรือไม่ ดังนั้นแพทย์อาจต้องอาศัยการตรวจหลายวิธีร่วมกัน ดังนี้

1. ตรวจภายใน

การตรวจภายในเป็นวิธีแรกๆ ที่แพทย์อาจใช้ในการตรวจคัดกรอง เนื่องจากสามารถมองเห็นความผิดปกติภายนอกได้ชัดเจน สามารถคลำก้อนเนื้อด้านในและกดดูว่ามีอาการเจ็บหรือไม่ ช่วยให้ง่ายต่อการวินิจฉัย

นอกจากการตรวจภายในจะสามารถให้ข้อมูลได้ว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ไหม ยังสามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกไปพร้อมกันได้อีกด้วย

2. อัลตราซาวด์

การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound) คือการใช้คลื่นอัลตราซาวด์สร้างภาพอวัยวะภายในขึ้นมาเพื่อดูความผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้อ ซีสต์ และถุงน้ำ

หากพบว่ามีก้อนเนื้อผิดปกติ แพทย์จะได้นำชิ้นเนื้อไปตรวจอย่างเฉพาะเจาะจงต่อไป

3. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography scans: CT scans) เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์ปล่อยลงไปในช่องท้อง เพื่อสร้างภาพระหว่างช่องท้องกับกระดูดเชิงกรานขึ้นมาให้แพทย์ตรวจสอบ

4. ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI) เป็นการถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายเช่นกันกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ MRI จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุ

MRI สามารถแยกระหว่างก้อนเนื้อที่ผิดปกติกับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ได้ค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่ในระยะแรกๆ (ขนาดเนื้องอก 0.5 เซนติเมตรขึ้นไป)

โดยปกติ เครื่อง MRI สามารถใช้ตรวจความผิดปกติของอวัยวะภายในได้หลายอย่าง เช่น สมอง หัวใจ ปอด ช่องท้อง กระดูกสันหลัง ตับ ไต รังไข่ มดลูก ข้อต่างๆ เป็นต้น

5. ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125

ผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่หลายคนอาจมีโปรตีน CA-125 อยู่ในเลือดจำนวนมาก การตรวจพบโปรตีนชนิดนี้จึงอาจเป็นข้อมูลประกอบคำวินิจฉัยมะเร็งรังไข่

ส่วนมากโปรตีนชนิดนี้จะสูงในผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ระยะแรกๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นมะเร็งรังไข่จะมีโปรตีนชนิดนี้สูง

โปรตีนชนิดนี้อาจพบได้ในคนที่กระดูกเชิงกรานอักเสบด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตรวจพบโปรตีนชนิดนี้ยังไม่อาจยืนยันได้ 100% ว่าเป็นมะเร็งรังไข่

6. ตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)

การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กเก็บเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อไปเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อหาสัญญาณของโรคมะเร็ง

โดยการตรวจชิ้นเนื้อมักเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

จะเห็นได้ว่าการตรวจมะเร็งรังไข่มีด้วยกันหลายวิธีก็จริง แต่การตรวจเพื่อยืนยันผลนั้นต้องใช้ผลจากหลายๆ การตรวจเพื่อเกิดความแน่นอนมากที่สุด

ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่แน่นอน ทำให้มะเร็งรังไข่ควรได้รับการตรวจคัดกรองเป็นระยะ


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

Scroll to Top