อาการเหงื่อออกที่มือนั้นมักจะเกิดจากการตื่นเต้นกับบางสิ่งบางอย่างมากๆ เช่น อยู่ในอารมณ์โกรธ จนเผลอกำมือแน่น และทำให้เหงื่อไหลซึมออกมา รวมถึงการลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการขับเหงื่อจากการเล่นกีฬา หรือการอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
แต่หากว่า คุณอยู่เฉย ๆ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น แล้วยังพบภาวะที่มีเหงื่อไหลออกจากมือจนถึงขนาดเปียกชุ่ม จะหยิบจับอะไรก็ลื่นหลุดมือไปหมด คุณต้องเริ่มหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วว่า ภาวะเหงื่อออกมือแบบนี้เกิดขึ้นจากอะไร และเป็นสัญญาณของโรคร้ายอะไรหรือไม่
สารบัญ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหงื่อออกมือ
ในทางการแพทย์นั้นได้ระบุว่า ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของเหงื่อออกมือมากจนเกินไป อาจเกิดได้สาเหตุดังต่อไปนี้
- ต่อมเหงื่อทำงานมากผิดปกติ ซึ่งอาจพบว่ามีเหงื่อออกบริเวณเท้า และข้อพับในปริมาณมากเช่นกัน
- ได้รับกรรมพันธุ์จากบุคคลในครอบครัว เมื่อแพทย์ซักประวัติแล้วพบว่า คนในครอบครัวทั้งสายตรงและสายอ้อม มีประวัติเหงื่อออกมือเช่นกัน
- ร่างกายมีระบบเผาผลาญทำงานดีกว่าปกติ จึงทำให้มีการระบายความร้อนออกมาในรูปของเหงื่อตามจุดต่าง ๆ เช่น มือและเท้า
- เป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิด ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจเช็คให้มั่นใจ เพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันการณ์
เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณเตือนของโรคอะไร?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า การมีเหงื่อออกที่มือทั้งที่ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ ต้องระวังเกี่ยวกับหัวใจไว้ให้ดี จึงทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า เรื่องนี้เป็นจริงหรือไม่ และมีโรคอื่นๆ อีกหรือเปล่าที่ส่งสัญญาณเตือนด้วยการมีเหงื่อออกที่มือแบบผิดปกติ
เราจึงได้ไปรวบรวมคำตอบจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง ซึ่งก็ได้คำตอบที่น่าสนใจก็คือ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีเหงื่อออกที่มือแล้วจะเป็นโรคร้าย แล้วก็ไม่ใช่คนที่เป็นโรคร้ายทุกคนจะต้องเหงื่อออกที่มือ
เพราะคุณจะต้องดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ความผิดปกติของร่างกายร่วมกับการมีเหงื่อออกที่มือ ซึ่งจำแนกคร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. โรคหัวใจ
นอกจากการมีเหงื่อออกที่มือแล้ว อาจพบอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง เป็นหอบ รวมถึงมีอาการปวดบริเวณหน้าอก ซึ่งก็เกิดจากการที่ร่างกายต้องใช้แรงหรือพลังงานมากในการสูบฉีดโลหิต ยิ่งถ้าออกแรงติดต่อกัน ก็จะยิ่งแสดงอาการที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น
2. โรคเครียด
อาการของโรคเครียด จะคล้ายกับผู้เป็นโรคหัวใจ คือ มีเหงื่อออกที่มือพร้อมกับมีอาการสั่น ใจสั่น รู้สึกวูบหวิวคล้ายกับจะเป็นลม ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ หน้าแดง ปวดหัว (ไมเกรน) อย่างรุนแรง
วิธีบรรเทาอาการของโรคเครียด คือ จะต้องพยายามลดความเครียดให้น้อยลง แต่หากรุนแรงมาก ก็ต้องรักษาด้วยยาตามแพทย์สั่ง
3. โรคเบาหวาน
ข้อสังเกตที่เห็นได้ชั ดคือ นอกจากจะมีเหงื่อออกทั่วมือแล้ว ยังมีเหงื่อออกทั่วทั้งตัวอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการคล้ายกับหอบเหนื่อย และจะเป็นลมตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติดังนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที ซึ่งโรคเบาหวานหากเป็นแล้วจะมีโอกาสหายน้อยมาก ดังนั้นอย่าได้ชะล่าใจเลยเชียว
4. โรคไทรอยด์เป็นพิษ
อาการที่พบก็คือจะมีเหงื่อออก และซึมตามฝ่ามืออยู่ตลอดเวลา และอาจจะพบการมีเหงื่อซึมทั่วทั้งตัว อาการเหล่านี้จะพบร่วมกันมือสั่น (คล้ายกล้ามเนื้ออ่อนแรง) กระหายน้ำมากผิดปกติ
5. โรควัณโรค
เป็นอาการที่ค่อนข้างเห็นได้ชัด คือมีเหงื่อออกทั่วทั้งตัวและฝ่ามือ ร่วมกับการไอแห้งแบบเรื้อรัง
6. วัยทอง
ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรืออยู่ในช่วงวัยทอง มักจะพบเหงื่อออกที่มือในช่วงเวลากลางคืน เกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการแปรปรวนผิดปกติ ทำให้มีเหงื่อออกที่มือได้
วัยทองเป็นวัยที่จะมีอาการหลายๆ อย่างเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป หากคุณกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมน และขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น
วิธีแก้ไข และป้องกันภาวะเหงื่อออกที่มือ
ภาวะเหงื่อออกที่มือ เป็นภาวะที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาคำตอบที่แท้จริงได้ว่า มีสาเหตุเกิดจากอะไร ทำได้เพียงสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการที่ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ
วิธีการที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเห็นผล ก็คือ การตัดต่อมเหงื่อทิ้งด้วยวิธีทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น ด้วยคลื่นพลังงานไมโครเวฟ miraDry และคลื่นความถี่วิทยุ แต่ทั้ง 2 วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง และหลายคนอาจจะมองว่าไม่จำเป็นต้องทำการรักษาถึงขนาดนั้น
ตราบใดที่ภาวะเหงื่อออกมือไม่ได้มีปัญหากับการใช้ชีวิตในแต่ละวัน จะมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. ออกกำลังกาย
มีผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกมือจำนวนมาก เลือกที่จะใช้วิธีออกกำลังกายเพื่อให้มีการระบายเหงื่อไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แทนที่จะออกที่มือเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็ได้รับผลดีพอสมควร และยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม
2. ใช้โลชั่น หรือโรลออนกันเหงื่อ
เป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยบรรเทาอาการเหงื่อออกที่มือได้ระดับหนึ่ง แต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง และหาซื้อได้ยากในประเทศไทย
3. อยู่ในห้องแอร์ หรือหน้าพัดลมตลอดเวลา
เพื่อให้เกิดการระบายอากาศบริเวณมือได้ดีที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานโดยใช้มือ อย่างการพิมพ์งานบนคอมพิวเตอร์ หรือเขียนหนังสือ
หากพบว่า ตนเองมีเหงื่อออกที่มือมากกว่าคนปกติทั่วไป ก็ขอแนะนำให้ลองไปตรวจร่างกายดูสักครั้ง เพื่อตรวจสอบว่า เป็นโรคร้ายอะไรหรือไม่ ถ้าหากว่าตรวจสอบแล้วไม่เจอ สำหรับคนที่รู้สึกรำคาญใจกับความชื้นหรือความเปียกแฉะที่มืออยู่ตลอดเวลา ก็มีวิธีรักษาที่ต้นเหตุและแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ก็คือ
การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาเหงื่อออกมือ
เป็นวิธีเดียวในปัจจุบันที่ช่วยบรรเทาอาการเหงื่อออกมือได้อย่างถาวร โดยการผ่าตัดจี้ทำลายปมประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก (Sympathetic Nervour System) ออก ทำให้ไม่มีเหงื่อออกมืออีกต่อไป