hpv vaccine types disease definition

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก 2, 4 และ 9 สายพันธุ์ ต่างกันอย่างไร ฉีดตัวไหนดี?

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ในหญิงไทย การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV จึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แต่เราควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดไหนดี ชนิด 2, 4 หรือ 9 สายพันธุ์? 

มาเรียนรู้ ความเหมือน ความต่าง และคำแนะนำก่อนตัดสินใจไปฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกในบทความนี้กัน! 

เชื้อไวรัส HPV คืออะไร ทำไมต้องป้องกัน

เชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) เป็นกลุ่มไวรัสก่อโรคในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ทวารหนัก รวมถึงช่องปากและลำคอ มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสเชื้อโดยตรง และยังอยู่ในร่างกายได้นาน 510 ปี จนอาจก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ และโรคมะเร็งขึ้นได้ 

ไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ จะก่อโรคต่างกันไป มีทั้งสายพันธุ์ก่อมะเร็งและไม่ก่อมะเร็ง โดยสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง อย่าง 16 และ 18 สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ อย่าง 6 และ 11 สามารถทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศได้  

เชื้อ HPV ถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง แต่สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือ ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก หรือที่หลายคนเรียกกันว่า วัคซีน HPV ตามต้นเหตุโรคนั่นเอง 

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก มีให้เลือกกี่ชนิด  

ต้องเกริ่นก่อนว่า วัคซีนมะเร็งปากมดลูกจะเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อต้นเหตุ ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักที่ก่อมะเร็งและหูดที่อวัยวะเพศได้สูงถึง 7090% แล้วแต่ชนิดของวัคซีน และมีประสิทธิภาพในการปกป้องโรคยาวนานนับ 10 ปี 

ปัจจุบันวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจะมีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด 2, 4 และ 9 สายพันธุ์ ยิ่งมากสายพันธุ์ก็จะยิ่งครอบคลุมสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์รองที่ก่อมะเร็งมากขึ้น ดังนี้

ชนิด 2 สายพันธุ์ ภายใต้ชื่อการค้า Cervarix

ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 2 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ 16 และ 18 ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งช่องคลอด 

ชนิด 4 สายพันธุ์ ภายใต้ชื่อการค้า Gardasil

ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงความสูงอย่าง 16 และ 18 ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งทวารหนัก ร่วมกับสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำอย่าง 6 และ 11 ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ 

นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันภาวะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด Dysplasia ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ในข้างต้น คือ 6, 11, 16 และ 18 ในกรณีที่ไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส HPV มาก่อน

ชนิด 9 สายพันธุ์ ภายใต้ชื่อการค้า Gardasil 9 

ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ทั้งหลักและรอง ได้แก่ 16, 18, 31, 33, 45, 52, และ 58 ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก มะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ 

ร่วมกับสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำอย่าง 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันภาวะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous) หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด Dysplasia ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ในข้างต้น คือ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, และ 58 ในกรณีที่ไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส HPV มาก่อน 

คำแนะนำก่อนไปฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

ทุกเพศสามารถฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่อายุ 945 ปี แนะนำให้ฉีดตอนอายุยังน้อยหรืออยู่ในวัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงสุดตอนร่างกายไม่เคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อน 

ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขของไทยจะเน้นฉีดวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ในกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งเป็นเด็กอายุ 1112 ปี หรือวัยประถมชั้นปีที่ 5 

สำหรับกำหนดการฉีดและจำนวนเข็มของวัคซีนมะเร็งปากมดลูกนั้น จะต่างกันไปขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ดังนี้

  • อายุ 914 ปี ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม เข็มแรกในเดือนที่ 0 และเข็มถัดไป ฉีดหลังจากเข็มแรก 612 เดือน   
  • อายุ 15 ปีขึ้นไป ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม เข็มแรกในเดือนที่ 0 เข็มถัดไป ฉีดหลังจากเข็มแรก 2 เดือน และเข็มสุดท้าย ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฉีดทั้งหมด 3 เข็มโดยไม่ต้องคำนึงถึงช่วงอายุ เข็มแรกในเดือนที่ 0 ฉีดหลังจากเข็มแรก 2 เดือน และเข็มสุดท้าย ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน 

คนที่เข้ารับการฉีดวัคซีนควรฉีดให้ครบตามกำหนดใน 1 ปี หากฉีดไม่ครบอาจทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพลดลง หรือต้องไปเริ่มฉีดเข็มแรกใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลาโดยใช่เหตุ

หากเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือมีคู่นอนคนเดียว แต่ประสงค์ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงประโยชน์และความจำเป็นก่อนเสมอ

กรณีหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ตั้งแต่เข็มแรก หรือแพ้ยีสต์ที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีน ไม่ควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก เพราะอาจเป็นอันตรายได้

เลือกฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกชนิดไหนดี

ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนมะเร็งปากมดลูกชนิดไหน 2, 4 หรือ 9 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ดีเหมือนกัน แต่จะครอบคลุมสายพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเอง 

โดยวัคซีน HPV ชนิด 4 หรือ 9 สายพันธุ์จะช่วยป้องกันโรคได้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว และยังช่วยป้องกันสายพันธุ์อื่นที่ยังไม่เคยติดมาก่อนหรือการติดเชื้อซ้ำในสายพันธุ์เดิมได้ด้วย ตามรายละเอียดด้านล่าง

ชนิดของวัคซีน HPV 2 สายพันธุ์  4 สายพันธุ์  9 สายพันธุ์ 
ชื่อการค้า Cervarix Gardasil Gardasil 9
ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18  6, 11, 16 และ 18  6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, และ 58 
ช่วงอายุที่ควรฉีด  ผู้หญิง อายุ 9–25 ปี   ผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 9–25 ปี ผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 9–45 ปี
การป้องกันโรค
  • มะเร็งปากมดลูก 
  • มะเร็งปากช่องคลอด 
  • มะเร็งช่องคลอด 
ผู้หญิง

  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งปากช่องคลอด 
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งทวารหนัก
  • หูดหงอนไก่
  • ภาวะก่อนมะเร็งหรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด Dysplasia

ผู้ชาย

  • มะเร็งทวารหนัก
  • หูดหงอนไก่
  • ภาวะก่อนมะเร็งหรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด Dysplasia
ผู้หญิง

  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งปากช่องคลอด 
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งทวารหนัก
  • มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก
  • มะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ
  • หูดหงอนไก่
  • ภาวะก่อนมะเร็งหรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด Dysplasia

ผู้ชาย

  • มะเร็งอวัยวะเพศชาย
  • มะเร็งทวารหนัก
  • มะเร็งคอหอยหลังช่องปาก
  • มะเร็งทางศีรษะเเละลำคอ
  • หูดหงอนไก่
  • ภาวะก่อนมะเร็งหรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด Dysplasia
กำหนดฉีด อายุ 9–14 ปี (2 เข็ม) 

  • เข็มที่ 1 วันที่ฉีด
  • เข็มที่ 2 ห่างเข็มแรก 6–12 เดือน
อายุ 15–25 ปี (3 เข็ม)

  • เข็มที่ 1 วันที่ฉีด
  • เข็มที่ 2 ห่างเข็มแรก 2 เดือน
  • เข็มที่ 3 ห่างเข็มแรก 6 เดือน
อายุ 15–26 ปี (3 เข็ม)

  • เข็มที่ 1 วันที่ฉีด
  • เข็มที่ 2 ห่างเข็มแรก 2 เดือน
  • เข็มที่ 3 ห่างเข็มแรก 6 เดือน
อายุ 15–45 ปี (3 เข็ม)

  • เข็มที่ 1 วันที่ฉีด
  • เข็มที่ 2 ห่างเข็มแรก 2 เดือน
  • เข็มที่ 3 ห่างเข็มแรก 6 เดือน
กรณีลืมฉีด ลืมเข็มที่ 2 

ฉีดไม่เกินเดือนที่ 7 หลังเข็มแรก (เพื่อครบ 3 เข็มใน 1 ปี)

ลืมเข็มที่ 3 

ฉีดไม่เกินเดือนที่ 12 หลังเข็มแรก และห่างเข็มที่ 2 เป็นเวลา 5 เดือน 

ลืมเข็มที่ 2 

ฉีดไม่เกินเดือนที่ 8 หลังเข็มแรก (เพื่อครบ 3 เข็มใน 1 ปี)

ลืมเข็มที่ 3 

ฉีดไม่เกินเดือนที่ 12 หลังเข็มแรก และห่างเข็มที่ 2 เป็นเวลา 4 เดือน

ผลข้างเคียงจากวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีอะไรบ้าง 

ปกติแล้วการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกนั้นปลอดภัย และมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง แต่บางคนอาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่กี่วันก็หายดี เช่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ ตัวร้อน เวียนศีรษะ คลื่นไส้อ่อนเพลีย หรือรู้สึกไม่สบาย 

บางกรณีผลข้างเคียงที่รุนแรงอย่างอาการแพ้รุนแรง (Severe Allergic Reaction) อาจเกิดขึ้นได้ แต่มักพบได้น้อยมาก

นอกจากวัคซีนมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยแล้วต้องไม่ลืม เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอหรือตามแพทย์แนะนำ ไม่ว่าจะวิธีตรวจภายใน การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี แปปสเมียร์ (Pap smear) หรือตินเพร็พ (Thin Prep) ซึ่งจะช่วยให้ตรวจเจอสัญญาณโรคได้เร็วและวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที     

อยากฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกแต่ไม่รู้จะไปที่ไหน? ไม่ต้องคิดมาก แอดมินพร้อมช่วยดูแลนัดหมาย ฉีดวัคซีนทั้งชนิด 2-4-9 สายพันธุ์ จากโรงพยาบาลใกล้บ้าน ครบที่นี่ จองกับ HDmall.co.th ได้รับส่วนลดเพิ่มทุกครั้งด้วยนะ ทักเลย  

Scroll to Top