รู้จักกับอุปกรณ์จัดฟันลวด มีอะไรบ้าง?


รู้จักกับอุปกรณ์จัดฟันลวด มีอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อุปกรณ์ในการจัดฟันลวด หรือการจัดฟันแบบโลหะ สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ หลายเกณฑ์
  • ตัวอย่างเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แบ่งตามชนิดวัสดุ เช่น เครื่องมือจัดฟันโลหะ เครื่องมือจัดฟันเซรามิก หรือเครื่องมือจัดฟันแบบคอมโพสิต
  • ตัวอย่างเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แบ่งตามการยึดติดลวดเข้ากับตัวเครื่องมือ เช่น เครื่องมือจัดฟันที่ใช้ยางสี หรือเครื่องมือจัดฟันแบบไม่รัดยาง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจัดฟันลวด จัดฟันแบบโลหะ

การจัดฟันแบบติดแน่น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “การจัดฟันลวด” เป็นการจัดฟันที่พบเห็นได้ทั่วไป

การจัดฟันแบบติดแน่นที่ผู้รับบริการส่วนใหญ่นิยมกัน คือการจัดฟันแบบโลหะแล้วมีการล็อกลวดด้วยยางสีๆ ซึ่งผู้ที่ต้องการจัดฟันลวดส่วนใหญ่ทราบกันดีว่า ผู้ที่จัดฟันลวดรูปแบบนี้จะต้องเข้าไปพบทันตแพทย์ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเปลี่ยนยางสี และให้ทันตแพทย์พิจารณาเรื่องการปรับขนาดลวด และรูปแบบของลวด

อยากรู้ว่าใครบ้างสามารถจัดฟันแบบติดแน่น หรือจัดฟันลวดได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฟันซ้อน ฟันเก แก้ได้ด้วยการจัดฟันลวด ก่อนได้เลย

อุปกรณ์จัดฟันแบบติดแน่นสามารถแบ่งประเภทได้ด้วยหลายหลักเกณฑ์ เช่น ชนิดวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือจัดฟันหรือแบร็กเก็ต (Bracket) การยึดติดลวดเข้ากับตัวเครื่องมือ


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • ตัวอย่างเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แบ่งตามชนิดวัสดุ
  • ตัวอย่างเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แบ่งตามการยึดติดลวดเข้ากับตัวเครื่องมือ
  • 8 อุปกรณ์จัดฟันที่ควรรู้จักก่อนจัดฟันลวด

  • ตัวอย่างเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แบ่งตามชนิดวัสดุ

    หากจำแนกประเภทเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น หรือจัดฟันลวด ตามชนิดวัสดุที่ใช้ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

    1. เครื่องมือจัดฟันโลหะ (Metal Braces/Brackets)

    เป็นสแตนเลสคุณภาพสูง โดยทั่วไปมักผลิตจากโลหะผสมไทเทเนียม รวมกับนิกเกิ้ล และหรือโครเมียม มีผิวเรียบ มันวาว ทำให้คราบอาหารและจุลินทรีย์ติดได้ยาก

    จัดฟันโลหะ ราคา

    2. เครื่องมือจัดฟันเซรามิก (Ceramic Braces/Brackets)

    มีขนาดและรูปร่างเหมือนเครื่องมือจัดฟันโลหะ แต่มีสีคล้ายกับสีฟัน หรือเป็นสีใส และมีราคาแพงกว่า

    3. เครื่องมือจัดฟันคอมโพสิต (Composite Braces/Brackets)

    ทำมาจากวัสดุเรซินคอมโพสิต มีลักษณะคล้ายเครื่องมือจัดฟันเซรามิก แต่เปราะกว่าเล็กน้อย และอาจเกิดการเปลี่ยนสีได้

    ตัวอย่างเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แบ่งตามการยึดติดลวดเข้ากับตัวเครื่องมือ

    1. เครื่องมือจัดฟันที่ใช้ยางสี (Regular Braces: Elastic tie holds the wire)

    เครื่องมือจัดฟันที่ใช้ยางสี เป็นเครื่องมือจัดฟันที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยจะต้องใช้ยางรัดฟันเป็นตัวเคลื่อนฟัน ซึ่งยางรัดฟันจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 เดือน ทำให้ต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนยางทุกๆ เดือน

    การจัดฟันด้วยเครื่องมือจัดฟันที่ใช้ยางสี เป็นการจัดฟันที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดฟันแบบอื่นๆ และมีสียางรัดฟันให้เลือกหลากหลาย สามารถเปลี่ยนสีได้ทุกๆ เดือน

    2. เครื่องมือจัดฟันแบบไม่รัดยาง (Self-Ligating: Bracket door holds the wire)

    แบร็กเก็ตของเครื่องมือจัดฟันแบบไม่รัดยาง ถูกออกแบบให้สามารถเคลื่อนฟันได้โดยไม่ต้องใช้ยางรัดฟัน ช่วยลดแรงฝืดของเครื่องมือและลวดจัดฟันในระหว่างเคลื่อนฟัน ทำให้สามารถเคลื่อนฟันได้เร็วกว่าเครื่องมือจัดฟันที่ใช้ยางสี

    การที่ไม่ต้องใช้ยางรัดฟัน ผู้เข้ารับการจัดฟันอาจไม่ต้องไปพบทันตแพทย์ทุกเดือนเพื่อเปลี่ยนยางรัดฟันเหมือนการจัดฟันที่ใช้ยางสี (ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์) และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายกว่า เพราะยางรัดฟันเป็นแหล่งสะสมของคราบหินปูน แบคทีเรีย และกลิ่นปาก

    นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารูปแบบของอุปกรณ์จัดฟันติดแน่นอีกมากมาย มีทั้งแบบเครื่องมือจัดฟัน 2 ชั้น มีทั้งเครื่องมือจัดฟันลักษณะสามเหลี่ยม และอื่นๆ อีกหลากหลายระบบ

    เช็กราคาจัดฟันโลหะ

    8 อุปกรณ์จัดฟันที่ควรรู้จักก่อนจัดฟันลวด

    อุปกรณ์จัดฟันมีหลายชนิด หลายรูปแบบ โดยอุปกรณ์จัดฟันแบบติดแน่นหรือที่เรียกกันรวมๆ ว่าจัดฟันลวด ที่ผู้เข้ารับการจัดฟันควรรู้จัก มีดังนี้

    • แบร็กเก็ต (Bracket) หรือเหล็กจัดฟัน เป็นอุปกรณ์ที่ติดบนตัวฟัน จะมีช่องสำหรับใส่ลวด และขอบสำหรับเกี่ยวยางจัดฟัน บางตัวจะมีฮุค (Hook) มีรูปร่างคล้ายตะขอไว้สำหรับเกี่ยวยางดึงฟันเพิ่มเติมด้วย
    • ยางรัดฟัน (O-ring) มีหลายสี ทำหน้าที่เป็นตัวรัดให้ลวดอยู่ในช่องของแบร็กเก็ต เพื่อให้ลวดค่อยๆ เคลื่อนฟันไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการ
    • เชนจัดฟัน (Chain, Power-Chains หรือ C-Chains) มีหลายสี ทำหน้าที่เคลื่อนฟันไปในตำแหน่งที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกคน ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของทันตแพทย์
    • หนังยางดึงฟัน (Elastic) ทันตแพทย์จะเป็นคนกำหนดตำแหน่งที่จะต้องเกี่ยวยาง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้จัดฟันอย่างมาก โดยจะต้องเกี่ยวไว้อย่างน้อย 18 ชั่วโมงต่อวัน และเปลี่ยนหนังยางทุกๆ 12-24 ชั่วโมงหลังใส่ เพราะยางจะล้าและหมดแรงดึง หากดึงยางไม่สม่ำเสมอจะทำให้เวลาในการจัดฟันนานขึ้น
    • ที่ยกฟัน (Bite) มีทั้งสีฟ้า และสีเหมือนฟัน ทำหน้าที่ยกฟันให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติได้ เช่น ฟันสบคร่อม ฟันสบลึก อาจทำให้การเคี้ยวอาหารยากขึ้นในช่วงแรกๆ ถ้าแตก หรือหลุด ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที
    • หมุดจัดฟัน (Mini screws) ใช้เป็นหลักยึดในการเกี่ยวยางในกรณีที่หลักยึดไม่เพียงพอ ทำภายใต้การใส่ยาชาเฉพาะที่ และจะเอาออกเมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อย
    • บัทตอน (Button) เป็นที่เกี่ยวยางให้บิดฟันไปในตำแหน่งที่ต้องการ ใช้ยึดติดบนตัวฟัน ลักษณะหน้าตาเหมือนกระดุม ซึ่งมีทั้งแบบที่ทันตแพทย์เป็นผู้เกี่ยวยางให้เอง และแบบที่ให้คนไข้เกี่ยวยางเอง
    • เพลทจัดฟัน (Plate) ในบางรายอาจจำเป็นต้องใส่เพลทจัดฟันเพื่อยกฟันให้ฟันบน และล่างห่างจากกัน หรือใส่ร่วมกับการใช้สกรูเพื่อขยายช่องว่างในบางตำแหน่ง

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พร้อมสำหรับจัดฟันลวดแล้วหรือยัง? สนใจจัดฟันแบบลวด หรือแบบติดแน่นชนิดไหน เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจัดฟันลวด จัดฟันแบบโลหะ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ

    นอกจากนี้ ที่ HDmall ยังมี แพ็กเกจทำฟัน ทันตกรรม ที่ช่วยให้คุณดูแลสุขภาพฟันอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น จัดฟันใส ทำฟันสำหรับเด็ก ทำรีเทนเนอร์ ฟอกสีฟัน ตัดเหงือก ศัลยกรรมขากรรไกรและคาง รักษารากฟัน ขูดหินปูน ตรวจสุขภาพฟัน ฯลฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมินได้เลย!


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย, สาระน่ารู้ (https://thaiortho.org/category/general-knowledge/).
    • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, สวยด้วยลวด (ดัดฟัน) (https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/284_17.pdf).
    • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟัน (http://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/uploads/0759358a7febcdf17ea8869d3f0bb1fb.pdf).
    • Artoforth.com, What types of braces are there? (https://www.artoforth.com/english/braces-101/types-braces/).
    • Oralb.com, TYPES OF BRACES (https://oralb.com/en-us/oral-health/life-stages/braces/types-of-braces/).
    • Dent.psu.ac.th, การเปรียบเทียบการขัดระบบต่างๆ ที่มีผลต่อความแข็งผิว และความหยาบผิวของนาโนฟิลด์เรซินคอมโพสิต (https://www.dent.psu.ac.th/unit/journal/images/journal/2019/1/sirichan2019.pdf).
    • Orthodonticsinlondon.co.uk, ORTHODONTIC ALLOYS- WHAT ARE BRACES MADE OF? (https://orthodonticsinlondon.co.uk/blogs/orthodontic-alloys-what-are-braces-made-of.html#:~:text=Braces%20can%20be%20made%20of,only%20material%20for%20their%20brackets.).
    @‌hdcoth line chat