การผ่าตัดริดสีดวงทวารกับ นายแพทย์ปุณวัฒน์ จันทรจํานง ด้วยบริการจาก HDcare


HDcare สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ริดสีดวงเกิดจากหลอดเลือดที่ขอบรูทวาร ได้รับแรงกดดันต่อเนื่องจนโป่งพองกลายเป็นตุ่มก้อน สาเหตุจากอาการท้องผูก ถ่ายยาก เบ่งอุจจาระหรือว่านั่งห้องน้ำนาน
  • อาการริดสีดวงที่พบบ่อย คือ ถ่ายเป็นเลือด โดยเลือดจะมีสีสด มีก้อนหรือติ่งเนื้อยื่นออกมาที่ขอบรูทวาร มีอาการเจ็บก้น คันที่ก้นหรือก้นแฉะ
  • การรักษาริดสีดวงมีหลายวิธี ขึ้นกับระยะและอาการที่เป็น ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรม การรักษาด้วยยา ไปจนถึงการผ่าตัด
  • หลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร แนะนำให้กินอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ดเพราะจะทำให้แสบก้น งดการออกกำลังกายหรือยกของหนักประมาณ 1 เดือน อาจมีโอกาสเป็นซ้ำขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับถ่ายของผู้ป่วย
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา

นั่งห้องน้ำนานๆ เสี่ยงเป็นริดสีดวงไหม? เป็นริดสีดวงแล้วเสี่ยงเป็นมะเร็งรึเปล่า? ริดสีดวงมีกี่ระยะ ระยะไหนต้องผ่าตัด? อาการแบบไหนคือริดสีดวง?


ผศ. นพ. ปุณวัฒน์ จันทรจํานง หรือหมอด้วง ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผู้บุกเบิกการผ่าตัดริดสีดวงโดยใช้ Technique RFA และหนึ่งในทีมแพทย์จากบริการของ HDcare จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดริดสีดวงทวารอย่างละเอียด อ่านประวัติของหมอด้วงได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอด้วง” ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก]

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ริดสีดวง เกิดจากอะไร?

ริดสีดวงทวารเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดที่ขอบรูทวาร เมื่อเรามีอาการท้องผูก ถ่ายยาก เบ่งอุจจาระ หรือว่านั่งห้องน้ำนาน จะเกิดแรงดันที่บริเวณก้นหากเกิดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นโป่งพอง กลายเป็นตุ่มก้อนริดสีดวงในที่สุด

อาการแบบไหนคือสัญญาณโรคริดสีดวง?

อาการของริดสีดวงที่พบบ่อยคือ การถ่ายเป็นเลือด โดยเลือดจะมีสีสดบางคนอาจมีก้อน

หรือติ่งเนื้อยื่นออกมาที่ขอบรูทวาร มีอาการเจ็บก้น คันที่ก้นหรือก้นแฉะ

ริดสีดวงแต่ละระยะ

ริดสีดวงทวารมี 2 ประเภท คือ ริดสีดวงภายนอกและริดสีดวงภายใน โดยริดสีดวงภายนอก จะมีก้อนยื่นโผล่พ้นออกมานอกรูทวาร ส่วนริดสีดวงภายในจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ริดสีดวงแต่ละระยะ
  • ระยะที่ 1 ริดสีดวงทั้งหมดอยู่ในทวารหนัก มีเลือดออกหลังถ่ายอุจจาระ
  • ระยะที่ 2 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วแล้วจึงหดกลับเข้ามาเอง
  • ระยะที่ 3 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายกลับมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วเนื้อเยื่อไม่หดกลับเอง ต้องใช้นิ้วดันกลับถึงจะเข้าได้
  • ระยะที่ 4 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่มีหัวริดสีดวงโผล่ออกออกนอกทวารหนักตลอดเวลา และไม่สามารถดันกลับเข้าในทวารหนักอีกต่อไป

วิธีการรักษาริดสีดวงมีกี่วิธี?

  1. การปรับพฤติกรรมการขับถ่าย แนะนำให้กินผักผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอและออกกำลังกายเพื่อลดอาการท้องผูก อาจใช้ยารักษาริดสีดวงหรือยาระบายร่วมด้วย เหมาะกับคนไข้ริดสีดวงในระยะที่ 1 ที่ยังไม่มีก้อนยื่นออกมาที่ขอบรูทวาร
  2. การฉีดยาที่หัวริดสีดวง และการรัดยางริดสีดวง แนะนำในคนไข้ริดสีดวงระยะที่ 2
  3. การผ่าตัด แนะนำในคนไข้ริดสีดวงระยะที่ 3-4 ที่หัวริดสีดวงค่อนข้างใหญ่

ริดสีดวงระยะไหน ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด?

การรักษาริดสีดวงด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำในคนไข้ริดสีดวงระยะที่ 3 และริดสีดวงระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะที่หัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถดันกลับเข้าไปเองได้

ส่วนริดสีดวงระยะที่ 2 นิยมรักษาด้วยยาก่อน ถ้าไม่หายอาจจะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเช่นกัน

สำหรับวิธีการผ่าตัดริดสีดวงมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดริดสีดวงแบบเปิด การผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง (RFA-Radiofrequency Ablation)

อ่านบทความ [ผ่าตัดริดสีดวงทวาร ด้วยคลื่นความถี่ RFA]

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวง

ก่อนการผ่าตัดริดสีดวง คนไข้ต้องตรวจสุขภาพก่อน เช่น เจาะเลือด ตรวจเอกซเรย์ หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เพื่อความปลอดภัยของคนไข้และช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคนไข้และการวินิจฉัยของแพทย์

คนไข้ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด แต่ไม่จำเป็นต้องกินยาถ่ายหรือว่าสวนทวาร

การดูแลในระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัดริดสีดวง จะเริ่มด้วยการระงับความรู้สึกให้กับคนไข้ โดยขั้นตอนนี้มีตั้งแต่การบล็อกหลัง ที่จะช่วยทำให้ชาบริเวณครึ่งล่างลงไป หรือว่าการให้ยาสลบร่วมกับการฉีดยาชารอบๆ รูทวารโดยมีวิสัญญีแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด

สำหรับการผ่าตัดริดสีดวงโดยส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง

การดูแลหลังการผ่าตัดริดสีดวง

หลังการผ่าตัด คนไข้จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1-2 วัน ขึ้นกับการฟื้นตัวของร่างกายคนไข้ ในช่วงแรกต้องกินอาหารอ่อน และงดรับประทานอาหารเผ็ดเพราะจะทำให้แสบก้น รวมถึงกินยาระบายตามที่แพทย์สั่ง

หลังการผ่าตัดช่วง 4-5 วันแรก อาจจะมีอาการเจ็บ หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ปกติมีการพักฟื้นไม่เกิน 7 วัน และแนะนำให้งดการออกกำลังกาย หรือยกของหนักประมาณ 1 เดือน

ผ่าตัดริดสีดวงไปแล้ว มีโอกาสที่จะเป็นซ้ำได้อีกไหม?

คนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัดริดสีดวงไปแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับถ่าย ในกรณีที่ยังมีการขับถ่ายท้องผูกหรือมีการเบ่งหนัก ก็ทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก

นั่งเล่นโทรศัพท์ในห้องน้ำนานๆ เสี่ยงเป็นริดสีดวงจริงไหม?

การนั่งห้องน้ำนานๆ เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร บางคนติดเล่นโทรศัพท์มือถือ

ขณะนั่งห้องน้ำ โดยใช้เวลาเล่น 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

ยิ่งนั่งขับถ่ายนานก็จะทำให้เกิดแรงดันกดที่บริเวณก้นเยอะ ทำให้เส้นเลือดโป่งพองได้มากขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคริดสีดวง

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับโรคริดสีดวง?

มีเรื่องที่คนมักเข้าใจผิด คิดว่าริดสีดวงเกิดจากอาการท้องผูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ความจริงแล้วในรายที่มีอาการท้องเสียบ่อยๆ ก็เสี่ยงเป็นโรคริดสีดวงได้เช่นกัน

เพราะถ้าเราท้องเสีย เข้าห้องน้ำบ่อย ก็จะทำให้เกิดแรงดันที่ก้นอย่างต่อเนื่อง จนเส้นเลือดบริเวณนั้นโป่งพองได้เช่นกัน

ริดสีดวงสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ได้ไหม?

ริดสีดวงกับมะเร็งลำไส้ ไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่มีอาการสำคัญอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ อาการถ่ายเป็นเลือด ทำให้หลายคนสับสน เข้าใจว่าริดสีดวงอาจกลายมะเร็งลำไส้ได้

จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่แนะนำให้คนไข้ เข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าอาการถ่ายเป็นเลือดนั้น เป็นโรคริดสีดวงหรือมะเร็งลำไส้

อ่านบทความ [การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคที่คนไทยไม่ควรมองข้าม]

ริดสีดวงทวาร กับ ฝีคัณฑสูตร ต่างกันอย่างไร?

ริดสีดวงทวารกับฝีคัณฑสูตร ไม่ใช่โรคเดียวกัน สาเหตุของการเกิดโรคต่างกัน แต่มีอาการคล้ายกันมาก เช่น อาการเจ็บก้น อาการก้นแฉะหรือถ่ายเป็นเลือด จึงมักทำให้คนเกิดความสับสนระหว่างสองโรคนี้

อ่านบทความ [การผ่าตัดฝีคัณฑสูตร]

ผ่าตัดริดสีดวงทวาร กับ นพ. ปุณวัฒน์ ด้วยบริการจาก HDcare

สำหรับคนที่มีอาการผิดปกติ เจ็บก้น ถ่ายเป็นเลือด มีก้อนยื่นออกมานอกรูทวาร สงสัยว่าจะเป็นโรคริดสีดวงทวาร แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ โดยสามารถสอบถามได้ทาง HDcare จะมีผู้ช่วยส่วนตัวคอยให้คำแนะนำ และนัดพูดคุยกับแพทย์ทางออนไลน์ และหากจำเป็นต้องผ่าตัดก็จะติดต่อประสานงานกับทางโรงพยาบาล เป็นการดูแลกันตั้งแต่ต้นจนจบ

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

สามารถสอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัยกับทางทีมของHDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcareด้เลย

บทความที่แนะนำ

@‌hdcoth line chat